|
||||||||||||||||
ทำอย่างไรเด็กจึงจะมีความจำที่ยาวนานขึ้น
จะได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียนรู้ได้เต็มที่ |
||||||||||||||||
กลยุทธ์หรือวิธีการที่มักถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้เกิดการจดจำได้นานภายหลังการเรียนรู้ มีหลายวิธีที่สามารถเลือกใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ดังนี้ |
||||||||||||||||
1.
การทำแผนที่ความคิด (mind mapping or webbing) เป็นวิธีการแสดงความคิด หลักและรายละเอียด ปลีกย่อยโดยเขียน ความคิด หัวข้อลงกลางแผ่นกระดาษ แล้วลากโยง เส้นสี ต่างๆ ไปทีละรายละเอียด โดยใช้คำน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาจวาดรูปหรือใช้ สัญลักษณ์เพื่อแสดงคำอธิบายวิธีนี้ี้จะทำให้เกิดการสรุปรวบยอดและเข้าถึงความจำดีที่สุด 2. การตั้งคำถามปลายเปิด หรือให้เด็กตั้งคำถาม หรือกำหนดคำตอบเพื่อให้เด็ก ตั้งคำถาม 3. การสรุปใจความสำคัญ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถของการคิดซับซ้อนได้ 4. การแสดงบทบาทตัวละครในเรื่องที่เรียน เช่น เนื้อหาในประวัติศาสตร์ 5. การอภิปรายถกเถียงกัน 6. การจำคำนำหน้าของหลายๆ คำมากำหนดเป็นคำย่อเช่น WHO (World Health Organization), IMF (International Monetary Fund) 7. การลำดับเวลาของเหตุการณ์ วิธีนี้มักใช้ได้ผลดีกับวิชาประวัติศาสตร์ 8. ถอดคำพูดให้ง่ายจากคำพูดของผู้เขียนมาเป็นภาษาเด็กๆ 9. ในการเรียนการสอนควรจัดกลุ่ม ผลัดกันสอน หรือให้วิเคราะห์ ถกเถียง สังเคราะห์ ข้อมูล เปลี่ยนกลุ่มเมื่อเปลี่ยนหัวข้อ หรือเปลี่ยนที่นั่งเพื่อให้เกิดความหลากหลายสนุกสนาน นักเรียนพอใจทำให้สมองรับรู้ได้ง่ายขึ้น 10. การใช้ดนตรี เต้นรำ กีฬา รูป เสียง เกมส์ช่วยให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย ขณะเรียน หรือใส่ข้อมูลในดนตรี ใช้โคลงกลอน ภาษิตช่วยจำได้ทั้งสิ้น 11. เมื่อต้องการให้เด็กจำได้
อาจทำการสอบในสิ่งที่เคยเรียนรู้ แต่การทดสอบ
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
กล่าวโดยสรุปคือผู้เป็นครูควรมีวิธีการสอนที่เปลี่ยนกลยุทธ์ไปเรื่อยๆทำให้บทเรียน น่าสนใจ และจำได้ง่ายขึ้น เพื่อให้เด็กและครูประสบความสำเร็จโดยมีข้อควรคำนึงถึง ผลสัมฤทธิ์ในการจัดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนแตกต่างกันดังตาราง |
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
จะเห็นได้ว่าถ้าเด็กได้เรียนรู้จากกิจกรรมหลายๆ
อย่างร่วมกันจะส่งเสริมการเรียนรู้ได้ |
||||||||||||||||