
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า
แผนที่ลิ้น (tongue map) ซึ่งเป็นภาพที่แสดงให้เห็น
พื้นที่ที่แตกต่างกันในการรับรสบนลิ้นของมนุษย์ โดยจะรับรสหวานได้จากปุ่มรับรส
(taste
bud) บริเวณปลายลิ้น รสเปรี้ยวจากด้านข้างของลิ้น รสขมที่โคนลิ้น และรสเค็มตามแนว
ขอบลิ้น ไม่เป็นจริงตามที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เนื่องจากการตีความผิดพลาด
ในผลการทดลองผลงานวิจัยที่ทำไว้ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1800
|
นักวิจัยที่ศึกษาด้านการรับรสได้ค้นพบมานานหลายปีแล้วว่า
แผนที่ดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่
ถูกต้องทั้งหมดเพราะในความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถบอกรสได้จากบริเวณใดๆ
ของลิ้น
ที่มีปุ่มรับรสอยู่ จากการศึกษาวิจัยจนถึงในขณะนี้ยังไม่พบหลักฐานใดเลยที่บอกว่า
มีการแปล
แยกอย่างชัดเจนของระดับความไวในบริเวณต่างๆ บนลิ้น ถึงแม้ว่าจะพบความแตกต่างอยู่บ้าง
ระหว่างลิ้นและเพดานปาก (palate) โดยเฉพาะพบได้จากการศึกษาในสัตว์แทะ (rodent)
|
นอกจากนี้ ได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นเสนอว่า
ยังมีอีกรสหนึ่งที่เรียกว่า รสอุมามิ
(umami) หรือรสปะแล่ม นอกเหนือจาก 4 รส ดังกล่าวแล้ว โดยรสนี้เป็นรสของสารกลูทาเมต
(glutamate) ซึ่งเป็นชนิดหนึ่งของกรดอะมิโน 20 ตัว ที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีนในเนื้อ
ปลา และถั่ว และยังเป็นองค์์ประกอบหลักของสารช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร เช่น ผงชูรส
(mono
sodium glutamate : MSG) |
เรื่องของรสยังมีอะไรอีกมากมายที่ท้าทายต่อการศึกษาไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของ
(เซลล์
รับรส) สำหรับสารให้รสเพียงสี่หรือห้ารส รวมถึงปฏิสัมพันธ์ทางชีวเคมีที่สารเหล่านั้นกระตุ้น
ให้เกิดขึ้นในเซลล์รับรส ระบบการรับรสของคนเรายังแสดงให้เห็นถึงผลของสิ่งเร้า
(stimuli)
เชิงเคมี ได้แก่ ความสามารถรับรู้ถึงระดับความเข้มข้นของรสต่างๆ เช่น หวานเจี๊ยบ
เปรี้ยวจี๊ด
เค็มปะแล่ม และยังทราบว่าเป็นรสที่พอใจหรือไม่พอใจหรือเฉยๆ รวมทั้งระดับของสิ่งเร้า
ทางการสัมผัส และอุณหภูมิของเซลล์ประสาทในวิถี (pathway) ของการรับรสนั้นสามารถจดจำคุณสมบัติเหล่านี้ได้พร้อมกันอย่างน่ามหัศจรรย์ |

นักวิจัย ยังพบว่าปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรสอาหารได้แก่
กลิ่นและภาพของ
อาหารที่ปรากฏ โดยจะรวมเป็นข้อมูลที่ถูกส่งสัญญาณไปยังสมอง เพื่อกระตุ้นให้ร่างกาย
เกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อๆ กันทางสรีรวิทยา (series of physiology reflexes)
ที่เรียกว่า
ระยะเซฟฟาลิกรีเฟล็กซ์ (cephalic phase reflexes) ได้แก่ การหลั่งน้ำลาย
(saliva)
กรดในกระเพาะอาหาร (gastric acid) เอ็นไซม์จากตับอ่อน (pancreatic enzymes)
และอินซูลิน (insulin) เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการย่อยและดูดซึมสารอาหารที่ได้รับ
ผลวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า ถ้าขาดปฏิกิริยาตอบสนองดังกล่าว จะทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์
จากสารอาหารลดลง ดังตัวอย่างที่พบในคนที่ได้รับอาหารทางที่เข้าสู่กระเพาะโดยตรง
ในส่วนของการรับรสเค็ม ที่สารให้ความเค็มส่วนใหญ่ที่ใช้คือ
เกลือโซเดียมคลอไรด์
(NaCl) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายชนิด ถ้าได้รับในปริมาณมากจะเป็นผลเสีย
ต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและ
หลอดเลือดแต่เนื่องจากเกลือ นอกจากให้ความเค็มแล้วยังเสริมรสชาติอาหารจึงทำให้เลิกหรือ
ลดปริมาณการใช้มากเกินไปไม่ได้ ปัจจุบันนี้ นักวิจัยจึงได้พยายามคิดค้นสารให้รสเค็มแทนที่
เกลือโซเดียม (salt enhancer) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ

|
ที่มา : - Pelletier C. Beyond the Tongue Map.
http://66.249.93.104/Search?q=Cache:SJDzi
DsxLxMJ: www.bulk
msm.com/Ayur..
-
Smith, D.V; St John. (1999). Natural coding of gustatory informa
tion.
Current Opinion in Neurobiology.9:427-435. http://biomednel.
com/elecref.
- Dalton, P; Pelchat M, L; Jeft, K. (2005). Tales of Taste.
http://www.monell.org.
|