เป็นสารเคมีที่เป็นทั้งฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในกลุ่มแคททีโคลามีน (catecholamines) ซึ่งมีนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) อิพิเนฟริน (epinephrine) และ โดปามีน (dopamine) ถูกสังเคราะห์โดยปลายประสาทของโพรแกงกลิโอนิค (postganglionic) ของประสาทซิมพาเทติค จากสารไทโรซีน (tyrosine) โดยอาศัยเอนไซม์ไทโรซีนไฮดรอกซีเลส (tyrosine hydroxylase) ให้กลายเป็นแอลโดปา (L-Dopa) แล้วถูกโดปาดีคาบอกซีเลส แปลงให้เป็นโดปามีน (dopamine) หลังจากนั้นจะถูกเปลี่ยนโดยโดปามีเบต้าไฮดรอกซีเลส (dopamine- β-hyroxylase) ให้เป็นนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นเอพิเนฟริน (epinephrine) โดยเอนไซม์ PNMT (phenylethanolamine-N-methytransferase) (ดังภาพ)

 


ภาพการสังเคราะห์สารสื่อประสาทกลุ่มแคททีโดลามีน (The catecholamines)

 

          ผลของนอร์เอพิเนฟรินต่อเซลล์ของอวัยวะต่างๆ จะผ่านอะดรีเนอร์จิกรีเซปเตอร์ (adrenergic receptor) ซึ่งอาจเป็นแบบแอลฟ่า (α) หรือ เบต้า (β) ที่มักให้ผลตรงกันข้ามกับผลของแอซิติลโคลีน (acetylcholine) จากระบบประสาทพาราซิมพาเทติค ดังตัวอย่างในตาราง เนื้อเยื่อแต่ละชนิดอาจถูกกระตุ้นหรือยับยั้งโดย นอร์เอพิเนฟริน ขึ้นอยู่กับชนิดของ
รีเซปเตอร์ บนเนื้อเยื่อนั้น

อวัยวะ
ระบบซิมพาเทติค
ระบบพาราซิมพาเทติค
หัวใจ

ทางเดินอาหาร
เพิ่มอัตราการเต้น

ยับยั้งการทำงาน
ลดอัตราการเต้น

กระุตุ้นให้ทำงานมากขึ้น

 

          นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) มีบทบาทในการทำให้ตื่นตัว และอาจเกี่ยวกับความฝัน และัยังมีบทบาทต่อการทำงานของฮอร์โมน และการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางทางจิตประสาท เช่น คนที่มีภาวะซึมเศร้า (depression) จะพบระดับของการสลายสารนอร์เอพิเนฟริน (metabolite of norepinephrine) ในสมองต่ำ แต่จะพบในระดับสูงในผู้ป่วยที่เป็นโรคคลุ้มคลั่ง (mania) และจิตเภท (schizophrenia)