ออทโต ลอวิ (Otto Loewi ) นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย เป็น
บุคคลแรกที่ค้นพบสารสื่อประสาทในปี พ.ศ.2464 ท่านคิดค้นวิธีการ
ทดลอง ได้จากความฝันของท่าน หลังจากตื่นนอน ท่านรีบจดบันทึกไว้
แล้วเข้าไปทำการทดลองในห้องทดลองทันที (จาก Loewi,O.
Workshop of Discoveries, Lawrence: University of
Kansas Press,1953 )
          ในการทดลอง ท่านได้ใช้หัวใจกบที่ยังมีชีวิตอยู่ 2 ดวงดังนี้

หัวใจดวงที่1 -เป็นหัวใจกบที่ยังมีเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 (vagus nerve ) ติดอยู่
หัวใจดวงที่2 - เป็นหัวใจกบที่ไม่มีเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 (vagus nerve )
                 - นำหัวใจดวงที่ 1 มาใส่แก้วที่มีน้ำเกลือโดยแก้วนี้มี ทางเชื่อมต่อกับแก้วที่สอง
                    ที่มีหัวใจกบ ดวงที่ 2 ซึ่งถูกตัดเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 ออกไปแล้ว
                 - กระตุ้นเส้นประสาทดังกล่าวด้วยกระแสไฟฟ้า หลังจากนั้นท่านพบว่าหัวใจกบ                    เต้นช้าลงในขณะเดียวกัน ลอวิ ก็สังเกตพบว่า หัวใจดวงที่ 2 ก็เต้นช้าลง    
                   ด้วยเช่นกัน

 

 

           จากผลการทดลองท่านได้ตั้งสมมุติฐานว่า การกระตุ้น เส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 จะทำให้เกิดการปล่อยสารเคมีบางชนิดออกมายับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และสารเคมีนี้มีการส่งผ่านจากช่องที่ติดต่อกันไปสู่แก้วที่สอง ทำให้หัวใจดวงที่ 2 เต้นช้าลงด้วย โดยท่านเรียกสารเคมีนี้ว่า วากูสชตอฟ ( Vagusstoff) ซึ่งในปัจจุบันนี้ทราบว่าสารเคมีที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทดังกล่าวเรียกว่า แอซิติลโคลีน (acetylcholine) ต่อมามีการค้นพบสารสื่อประสาทชนิดอื่นๆที่อยู่บริเวณปลายแอกซอนในปริมาณสูงอีกได้แก่ นอร์เอพิเนฟริน (norepinephine) เอนดอร์ฟิน(endorphin) เป็นต้น