เมื่อพูดถึงระบบประสาท หลายคนมักคิดถึงเฉพาะการทำงานของเส้นประสาทในสมองเท่านั้น เพราะเราท่านมักจะได้ยินได้ฟังมาว่า หากใครมี อาการผิดปกติทางระบบประสาทโดยมากจะหมายถึง คนที่มี สติสัมปชัญญะ ไม่ค่อยสมบูรณ์หรือที่ เรียกว่า บ้า ในความเป็นจริงแล้ว
ระบบประสาทไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในสมอง เท่านั้น แต่เป็นการวางสายงาน ออกไปตามจุดต่างๆ
ทั่วร่างกายเป็น เครือข่าย การสื่อสารที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ทำให้เรามีความรู้สึก
มีการ เคลื่อนไหวและสามารถคิดได้ รวมทั้งควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในทั้งหมด
โดยระบบประสาทประกอบขึ้นจาก เซลล์ประสาท (nerve cell) ซึ่งมีรูปทรงยาวเรียวนับพันล้านเซลล์ที่จะนำส่งสัญญาณประสาทความเร็วสูงไปทั่วร่างกาย
|
||
ภาพที่ 1.1 ก: ภาพแสดงส่วนของสมองใหญ่และสมองน้อย ข: ภาพแสดงลักษณะของเซลล์ประสาทหลายขั้ว |
||
ระบบประสาทเป็นระบบที่มีความสำคัญในการควบคุมการทำงานและการตอบสนอง ของร่างกายต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง โดยการรับความรู้สึกจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ซึ่งมีสมองเป็นศูนย์กลางควบคุม สมองจะรับข้อมูล ข่าวสารจากเซลล์ประสาท แบ่งกลุ่มจัดเก็บ ส่งต่อ และสั่งการไปยังทุกส่วนของร่างกาย ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดจะถูกนำเข้า และนำออกจากส่วนต่างๆของร่างกายผ่านโครงข่ายประสาทไขสันหลัง ซึ่งมีเส้นประสาทไขสันหลัง 31คู่ แตกแขนงออกจากไขสันหลังโดยเป็นส่วนที่ต่อมาจากสมอง เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงของกะโหลกศีรษะ ทอดยาวลงมาสิ้นสุดที่กระดูกสันหลังระดับเอว และได้รับ การปกป้องเหมือนอยู่ในอุโมงค์ ของกระดูกสันหลัง โดยแขนงต่างๆของไขสันหลังจะทอดตัว ไปยังทุกส่วนของร่างกาย |
||
ภาพที่1.2 ก: โครงข่ายประสาทและไขสันหลัง (มองทางด้านหลัง) ข: ตำแหน่งของเส้นประสาทไขสันหลัง (มองจากด้านหลัง) |
||
ส่วนเส้นประสาทจะเป็นสายเข้าของสัญญาณของระบบประสาทประกอบด้วยมัด ของเส้นใยประสาทที่นำข้อมูลประสาทไปตามเส้นใยเหล่านี้เป็นระยะทางไกลๆด้วยเวลา อันรวดเร็ว เส้นใยประสาทรับความรู้สึกจะนำข้อมูล ข่าวสารจากตัวรับความรู้สึกจากผิวหนัง ลูกตาและอวัยวะรับความรู้สึกอื่นๆ ส่งไปยังสมองและไขสันหลังเพื่อสั่งการไปยังกล้ามเนื้อ ให้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ได้รับอย่างรวดเร็ว |
||
ภาพที่ 1.3 การเกิดปฏิกริยาตอบสนอง |
||
จากภาพ
สัญญาณประสาทจากการที่เด็กชายมองเห็นลูกบอลลอยอยู่ในอากาศ แจ้งไป ยังสมองโดยส่งสัญญาณไปตามเส้นประสาท สมองแปลผลแล้วส่งข้อมูลกลับเพื่อสั่งให้ กล้ามเนื้อแขนยกขึ้นคว้าลูกบอลนั้นไว้ จะเห็นได้ว่าโครงข่ายระบบประสาททำงานด้วย ความรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที คราวนี้เราลองมาทดสอบดูซิว่าเวลาในการเกิดปฏิกิริยา ดังกล่าวจะใช้เวลานานเท่าใด |
||
ทดสอบความเร็วของการทำงานโครงข่ายระบบประสาท - เด็กคนหนึ่งกำมือหลวมๆ ยกขึ้น เตรียมพร้อมไว้ แล้วให้เพื่อน ปล่อยไม้บรรทัดลงมา - ทันทีที่เห็นไม้บรรทัดตก ให้ พยายามจับไว้ให้ได้ แล้วจับเวลาด้วย ผล : ยิ่งจับได้ใกล้ปลายล่างของ ไม้บรรทัดมากเท่าไหร่ ยิ่งแสดงว่า ปฏิกิริยาของ เด็กคนนี้เร็วขึ้นเท่านั้น |
||