|
การนำกระแสประสาทรับความรู้สึกของเส้นประสาทไขสันหลัง |
สิ่งที่ต้องเตรียม
* กบที่ถูกทำลายสมอง 2 ตัว และเข็มหมุดปลายแหลม 1 อัน
|
|
|
วิธีทดลอง (ภาพที่ 1 ) |
1.เอาเข็มแทงที่ขาหลังของกบที่ถูกทำลายสมองตัวที่ 1 พบว่ากบจะหดขาหนี (ก)
2.ตัดรากหน้า(ventral root) ของเส้นประสาทไขสันหลัง (ตำแหน่งที่1 ,2:ข)
แล้วใช้เข็มแทงขาหลังนั้นอีก จะพบว่ากบไม่หดขาหนีเหมือนครั้งแรก แม้ว่าจะใช้เข็ม
แทงบริเวณอื่นๆ ของขากบข้างเดิม ก็ไม่มีการตอบสนองใดๆ
3.ใช้เข็มเขี่ยตรงปลายเส้นประสาทไขสันหลังที่ถูกตัด (ตำแหน่งที่ 2 ) ที่อยู่ใกล้
ขากบ ปรากฏว่า กบกระตุกขาหลังได้
4.ตัดรากหลัง (dorsal root) ของเส้นประสาทไขสันหลังของกบตัวที่ 2
(ตำแหน่งที่ 3,4:ค) แทนรากหน้า แล้วเอาเข็มแทงที่ขาหลัง กบจะไม่แสดง
การตอบสนอง แต่ถ้าเอาเข็มเขี่ยตรงจุดที่ 3 ปรากฏว่า ขาหลังของกบจะกระตุก
ได้อีกครั้ง
|
|
ภาพที่ 1 การทดลองเกี่ยวกับการส่งกระแสประสาทของเส้นประสาทไขสันหลังของกบ |
จากผลการทดลองดังกล่าวจะสรุปผลได้อย่างไร
?
ลองเขียนแผนผังแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทของเส้นประสาท
ไขสันหลังมาให้ดู
|
|
สรุปได้ว่า
กระแสประสาทจากโครงสร้างต่างๆที่ทำหน้าที่รับแรงกระตุ้นจากสิ่งเร้า
ซึ่งเรียกว่า หน่วยรับความรู้สึก (receptor) จะเข้าสู่ไขสันหลังทางรากหลัง
และออกทางรากหน้า ไปยังหน่วยปฏิบัติงาน (effector) ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว และต่อมต่างๆ
จะขับสารออกมาด้วย |
ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากปมประสาทรากหลัง
(dorsal root ganglion) มีตัวเซลล์ประสาท
รับความรู้สึก ซึ่งมีเดนไดรต์อยู่ในเส้นประสาทไขสันหลัง และแอกซอนอยู่ในรากหลังยื่นเข้าไป
ในไขสันหลัง ดังนั้นเซลล์ประสาทรับความรู้สึกนี้ จึงทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากหน่วยรับ
ความรู้สึก ขณะที่รากหน้าประกอบด้วยแอกซอนของเซลล์ประสาทสั่งการ และมีตัวเซลล์อยู่ใน
เนื้อสีเทาบริเวณด้านหน้าของไขสันหลัง (ventral horn) ซึ่งทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทไปยัง
หน่วยปฏิบัติงาน (ภาพที่ 2 )
|
|
ภาพที่ 2 ทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทเข้าและออกจากไขสันหลัง
|