การหาตำแหน่งจุดบอด
(blind spot) และจุดโฟเวีย (fovea) |
อุปกรณ์
1.
กระดาษขาว
2. ไม้บรรทัด
3. ปากกาและดินสอสี
4.
วัตถุที่มีสีสดซึ่งระบุได้ชัดเจน
วิธีการ
ตอนที่1 * การหาตำแหน่งจุดบอด
1.วาดรูป หนู และแมว ลงในกระดาษขาวตามแนวระดับให้มีขนาดและระยะห่าง
ระหว่างภาพทั้งสอง ประมาณ 10 เซนติเมตร ดังภาพ
|
|
2.หลับตาซ้าย หรือปิดตาข้างซ้าย
เหยียดมือขวาที่จับกระดาษให้ตรงแล้วยกกระดาษ
ให้รูปหนูตรงกับนัยน์ตาข้างขวา
3.ให้ตาขวาจับนิ่งที่รูปหนูตลอดเวลา
ค่อยๆ เลื่อนกระดาษเข้ามาใกล้ตาอย่างช้าๆ
จนกระทั่งมองไม่เห็นรูปแมว
4. ทำขั้นตอนที่ 2 และ 3 ซ้ำอีกครั้ง
แต่หลับตาขวาหรือปิดตาขวา และให้ตาซ้ายจ้อง
ที่รูปแมวแทน
คำถาม
เพราะเหตุใดจึงมองไม่เห็นรูปแมวทั้งๆ ที่ยังมีรูปอยู่ ?
|
ตอนที่ 2 *การหาตำแหน่งโฟเวีย
|
1. ให้ยื่นแขนไปข้างหลังเพื่อรับวัตถุจากเพื่อน
เช่น ดินสอหรือปากกาโดยที่ไม่ทราบว่า
วัตถุนี้มีสีอะไร
2. มองตรงไปข้างหน้า ค่อยๆ เคลื่อนแขนมาด้านหน้าให้อยู่ในระดับสายตาขณะเคลื่อน
แขนมาด้านหน้า ห้ามเหลือบมองวัตถุในมือ มองตรงไปข้างหน้าตลอดเวลาเมื่อใดเริ่มมองเห็น
วัตถุ ให้บอกสีของวัตถุนั้น
คำถาม
บอกได้หรือไม่ว่า มองเห็นวัตถุครั้งแรกเมื่อวัตถุอยู่ในตำแหน่งใด
?
บอกสีวัตถุได้ชัดเจนถูกต้องหรือไม่?
|

สรุปผลการทดสอบ
การที่ไม่เห็นรูปแมว เนื่องจากแสงตกบริเวณจุดบอด (blind spot)
ซึ่งเป็นบริเวณทางออกของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 จากตาไปยังสมองเรียกว่าออฟติกดิสก์
(optic disc) บริเวณนี้จะไม่มีเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยอยู่เลยจึงไม่เกิดภาพ
ส่วนการที่
เห็นวัตถุชัดเจนเมื่อเคลื่อนที่มาด้านหน้าเพราะแสงตกบริเวณตรงกลางของชั้นเรตินาที่เรียกว่า
โฟเวีย (fovea) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเซลล์รูปกรวยอยู่หนาแน่นมากกว่าบริเวณอื่นๆ
คงตอบได
้แล้วนะว่าเหตุใดเราจึงเห็นตัวอักษรตรงหน้าได้ชัดเจนกว่าอักษรที่อยู่ข้างๆ
ขณะที่เรา
อ่านหนังสือ
|