ความจำเสื่อมหรือการสูญเสียความจำเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่นเกิดจากสมอง |
|
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimers
disease) เป็นโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของเซลล์ ประสาทในสมอง ผู้ที่เป็นโรคนี้เนื้อสมองจะฝ่อเล็กลง รอยหยักในสมองมีน้อยลงโดยมาก มักมีผลต่อบริเวณของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำได้แก่สมองส่วนหน้า (forebrain) และบริเวณฮิปโปแคมพลัส (hippocampus) น้ำเลี้ยงสมองจะเพิ่มมากขึ้น โรคนี้ถูกค้นพบ ครั้งแรกโดยนักสรีรวิทยาชาวเยอรมันชื่อ Alois Alzheimer ในปีคศ.1906 |
สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีหลายอย่างได้แก่ ความผิดปกติ ทางพันธุกรรม การสะสมสารพิษบางชนิดเช่น อะลูมิเนียมเป็นต้น อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะค่อยๆสูญเสียความจำ จะจำเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป บางครั้งลุกลี้ลุกลน บางครั้งซึมเศร้า ไม่สนใจตนเองและสิ่งแวดล้อม ไม่ดูแลตนเอง มักจะสูญเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม |
|
ภาพที่ 4.3 การเปรียบเทียบเซลล์ประสาทปกติกับเซลล์ประสาท
ของผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ภาพจาก courtesy of NIA :Lydia Kibiuk ที่มา: http://faculty.washington.edu/chudler/alz.html |
การรักษา - มีเพียงยา 2 ชนิดที่ได้รับการแนะนำจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ยา tacrine และ doneezil ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า Cognexc และ Aricept ยานี้จะมีฤทธิ์ยับยั้ง การทำงานของเอนไซม์แอซิติลโคลีนเอสเทอเรส (acetylcholinesterase inhibitor) ทำให้มีแอซิติลโคลีนเพิ่มขึ้น ยานี้ไม่ได้ช่วยให้รักษาหาย แต่จะบรรเทาอาการไม่ให้เป็นมากขึ้น - การรักษาเสริมอื่นๆ เช่นการให้วิตามินอี การป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ในชีวิตประจำวัน |