รูปที่
1.6 สเปคตรัมของคลอโรฟิลล์ a
และคลอโรฟิลล์ b สเปคตรัมของคลอโรฟิลล์ a และ b ต่างกันอย่างไร และมีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงอย่างไร สเปคตรัมของทั้งคลอโรฟิลล์ a และ b มีส่วนที่เป็นยอด หมายถึงดูดแสงได้ดี คือที่ความยาวคลื่นประมาณ 420-460 nm คือในช่วงแสงสีน้ำเงิน และ 630-660 nm คือในช่วงแสงสีแดง และมีลักษณะเป็นที่ราบซึ่งหมายถึงการดูดแสงได้ไม่ดีในช่วงคลื่น 480-620 nm ซึ่งเป็นช่วงคลื่นแสงสีเขียว-เหลือง (รายละเอียดดังรูปที่ 1.8) ฉะนั้น สารคลอโรฟิลล์จึงมีสีเขียวอมเหลือง เพราะดูดแสงนี้ (เขียว-เหลือง) ได้ไม่ดี แต่ดูดแสงสีน้ำเงินและแดงไว้ได้หมดหรือเกือบหมด ส่วนแสงสีเขียว-เหลืองจะถูกสะท้อนออกไปหรือทะลุผ่านใบไม้ไป ดังนั้น คลอโรฟิลล์จึงมีสีเขียว เพราะโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ a และ b ใช้อิเล็กตรอนดูดแสงที่มีสีในช่วงคลื่นสีน้ำเงินและแดงได้ดีกว่าช่วงคลื่นแสงอื่นๆ มาก แม้คลอโรฟิลด์จะดูดแสงได้ดีที่ช่วงคลื่นสีน้ำเงินและสีแดงก็ตาม แต่พืชสามารถใช้พลังงานจากแสงในช่วงคลื่นใดๆ ก็ได้ตั้งแต่ 400 nm ถึงประมาณ 700 nm ดังแสดงในรูปที่ 1.7 รูปที่ 1.7 ความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงเมื่อพืชได้รับแสงที่ความยาวคลื่นแสงแต่ละคลื่น
ท่านอธิบายได้ไหมว่าทำไมความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชที่ความยาวคลื่นต่างๆ จึงไม่เท่ากัน
ความสามารถในการดูดกลืนแสงของสารสีชนิดต่างๆ มีแสดงดังในรูปที่ 1.8 รูปที่ 1.8 ความสามารถในการดูดกลืนแสงของสารสีชนิดต่างๆ
จากสเปคตรัมที่แสดงในรูปที่ 1.8 ท่านคิดว่าสารสีต่อไปนี้มีสีอะไร เพราะอะไร
|