สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง"ไขปริศนาพฤกษาพรรณ" จัดทำขึ้นด้วยความร่วมมือของ สถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาควิชา
พฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานทาง
ด้านพฤกษศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นิสิตนักศึกษาชั้นอุดมศึกษา
ตอนต้น อาจารย์ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
        การศึกษาหาความรู้ด้านพฤกษศาสตร์โดยให้เยาวชนได้เห็นและชื่นชมความ
สวยงามของธรรมชาติรอบตัว เป็นแนวทางหนึ่งที่จะส่งเสริมให้เยาวชนเกิดความรักและนำ ไปสู่ความหวงแหนทรัพยากรที่มีค่าของโลก และการจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ ทำให้เยาวชนได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้จากพรรณพืชอย่างใกล้ชิด และเหมาะสม เป็นอย่างยิ่งที่จะใช้เป็นห้องสมุดมีชีวิต อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศยังขาดข้อมูลความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ โดยเฉพาะชื่อพฤกษศาสตร์ของพรรณไม้ในโรงเรียน หลายครั้งที่การใช้เพียงภาพหรือชื่อ ไทยในการระบุชนิดพืชทำให้เกิดความเข้าใจผิดพลาดและเป็นการรู้จักพืชเพียงผิวเผินที่ ได้จากการท่องจำ
        สื่อผสมคอมพิวเตอร์ “ ไขปริศนาพฤกษาพรรณ ” จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือใน
การระบุชนิดพืชที่ใช้ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว โดยจัดทำเป็นภาษาไทยในรูปแบบอินเตอร์
แอคทีฟ สามารถใช้เปรียบเทียบลักษณะส่วนต่างๆของพรรณไม้ที่มักพบในโรงเรียน
บ้าน และสวนสาธารณะต่างๆ กับคำบรรยายลักษณะและภาพในหน้าจอ เพื่อหาชื่อพืชได้
ซึ่งนอกจากลักษณะด้านสัณฐานวิทยา ชื่อไทย ชื่อสามัญ และชื่อพฤกษศาสตร์แล้ว ยังให้
้ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์อื่นๆ เช่น ฤดูการออกดอก การกระจายพันธุ์ รวมทั้งประโยชน์
ด้านต่างๆอีกด้วย ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเป็นแหล่งค้นคว้าของ
นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ การใช้รูปวิธานในลักษณะนี้
นอกจากจะฝึกให้เยาวชนรู้จักสังเกตส่วนต่างๆของพืชแล้ว ยังสามารถนำวิธีการนี้ไป
ประยุกต์ใช้หาชื่อพืชนอกเหนือจากที่จัดทำขึ้นได้ด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริงอันจะเป็น
การเปิดโอกาสให้เยาวชนเรียนรู้ระเบียบวิธีทางพฤกษนุกรมวิธานที่เสริมสร้างภูมิปัญญา
ของเยาวชนในระยะยาวอย่างยั่งยืน
         ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความ
หลากหลายทางชีวภาพสูง มีพรรณไม้ที่ค้นพบแล้วหลายหมื่นชนิดในท้องถิ่นต่างๆในประเทศ ไทย ข้อมูลในสื่อผสมชิ้นนี้ไม่อาจหยุดนิ่งแต่จะต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม
พฤกษาพรรณ ต่อไปอีก ทุกท่านสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนานี้โดยการเสนอชื่อพรรณไม้ใกล้ตัวท่านพร้อมกับตำแหน่งแห่งที่ในรูปวิธานที่ควรเพิ่มเติมพืชชนิดนี้ลงไปหรือส่งความคิดเห็น และข้อเสนอของท่านมาได้ที่

สถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กทม . 10400
โทร . 0-2201-5106
โทรสาร 0-2354-7345