เล็บมือนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Quisqualis indica L.

ชื่อสามัญ: Chinese honey Suckle, Rangoon Creeper, Drunken Sailor

ชื่ออื่น: จะมั่ง จ๊ามั่ง มะจีมั่ง (ภาคเหนือ), อะดอนิ่ง (มลายู-ยะลา), ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

วงศ์: COMBRETACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ไม้เถาขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างแข็ง แตกกิ่งก้านหนาทึบ ลำต้นหรือกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมเทาปกคลุม แต่ต้นที่แก่ผิวจะเกลี้ยง หรือบางทีก็มีหนาม ต้องมีหลักยืดหรือร้านให้ลำเถาเกาะยึด

     ใบ
ใบเรียงตรงข้าม ใบเดี่ยว รูปใบหอกหรือใบมนแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลมหรือมนและมีติ่งแหลม โคนใบมนหรือกลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบาง ใบสีเขียว ท้องใบมีขนปกคลุมจำนวนมาก

     ดอก ดอกช่อ ออกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ปลายแหลมมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเื่ชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอกยาว ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ช่อดอกเมื่อเริ่มบานมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่สีชมพูเข้ม ดอกย่อยทยอยบาน เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีแดง มีกลิ่นหอมแรง โคนกลีบดอกมีใบประดับ

     ผล ผลแห้งไม่แตก เป็นสันตามยาว 5 สัน เมื่อแก่ผลมีสีน้ำตาลแกมดำ