ชื่อ-นามสกุล 






   ดร. ภิญโญ พานิชพันธ์    
  (Dr. Bhinyo Panijpan)





วัน เดือน ปีเกิด :

19 สิงหาคม 2485

ตำแหน่งงานปัจจุบัน

สถานที่ติดต่อ

ผู้อำนวยการ

สถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 0-2201-5728-9, 0-2201-5886
โทรสาร 0-2354-7345 , 0-2354-7345

E-mail address : directil@mahidol.ac.th
                      : scbpn@mahidol.ac.th

ประวัติการศึกษา

โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ

ปริญญาตรีสาขา ชีวเคมี (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์
ประเทศออสเตรเลีย (2508)

ปริญญาเอกสาขา สาขาชีวฟิสิกส์ระดับโมเลกุล มหาวิทยาลัยลอนดอน
ประเทศอังกฤษ (2516)

Certificate, Risk Assessment and Prevention in Local Community
Development and Planning, Gothenberg, Sweden (2537)

รางวัลที่ได้รับ

รางวัลนักวิจัยดีเด่นจากมหาวิทยาลัยมหิดล (2525)

รางวัลพ่อดีเด่นแห่งชาติ (2537)

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดลสาขาการประดิษฐ์ ร่วมกับ รศ.ดร. พิณทิพ รื่นวงษา (2541)

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ
รศ.ดร.พิณทิพ รื่นวงษา (2542)

รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นระดับอุดมศึกษาของสมาคมวิทยาศาสตร์
แห่งประเทศไทยฯ (2542)

รางวัลผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ให้กระทรวงสาธารณสุขจากกรมอนามัย (2542)

ประวัติการทำงาน

หัวหน้าภาควิชาวิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล (2539-2541)

รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวางแผน คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล (2530-2534)

ผู้อำนวยการโครงการสำนักงานส่งเสริมโครงการบัณฑิตศึกษาพิษวิทยา
ม.มหิดล (2534-2536)

ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ม.มหิดล (2545-)

ประวัติการทำงาน
ด้านการศึกษา

กองบรรณาธิการวารสาร Biochem. Mol. Biol. Educ. (2543-)

กรรมการทางการศึกษาขององค์การนานาชาติ คือ International Union Of
Biochemistry (2527-2528)

ประธานคณะกรรมการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนของ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล (2540-2544)

ผู้ประสานงานของ “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย”
ด้านการพัฒนาการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
(2540-2542)

กรรมการโครงการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปให้
สถาบันอุดมศึกษาของ ทบวงมหาวิทยาลัย (2541-2545)

ประธานคณะกรรมการทำคู่มือสอนเสริมวิชาเคมีของครู
และอาจารย์ของสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ (2541-2543)

ประวัติการทำงาน
ด้านอื่นๆ ทางสังคม
และระดับประเทศ

ประธานจัดงานเคมีโอลิมปิกระดับนานาชาติ ครั้งที่ 31(2542)
ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

กรรมการร่างพระราชบัญญัติและผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตราย
ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (2535-ปัจจุบัน)

ที่ปรึกษาฝ่ายสินค้าเคมี การท่าเรือแห่งประเทศไทย (2535-ปัจจุบัน)

กรรมการจัดระบบการขนส่งวัตถุอันตรายของสภาพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ (2540-ปัจจุบัน)

อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์ (2540-2544)

นายกสมาคมเคมี (2534-2535), ที่ปรึกษาสมาคมเคมี (2536-ปัจจุบัน)

ประธานสาขาชีวเคมี สมาคมวิทยาศาสตร์ฯ (2526-2528) ,
ที่ปรึกษาสาขาชีวเคมีฯ (2529-ปัจจุบัน)

ประธานจัดประชุมวิชาการวทท. 12 และ 13 (2530-2531)

กองบรรณาธิการ Journal of the Science Society of Thailand (2518-2542)

กองบรรณาธิการ Science Asia (2542-ปัจจุบัน)

กองบรรณาธิการ วาสารวิทยาศาสตร์ (2536-2544)

ที่ปรึกษาของกระทรวงสาธารณสุขในโครงการขจัดโรคขาดสารไอโอดีน
ให้หมดจากประเทศไทย (2542-ปัจจุบัน)

ผลงานวิชาการด้าน
วิทยาศาสตร์ศึกษา

รศ.ดร.ภิญโญ พานิชพันธ์
นอกจากทำการวิจัยและตีพิมพ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพแล้วยังได้ทำงาน
วิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาไว้มาก มีผลงานตีพิมพ์ในวารสาร
วิทยาศาสตร์ศึกษานานาชาติระดับดีเยี่ยม ในเรื่อง ต่าง ๆ อาทิเช่น

  -   เสนอการทดลองใหม่เพื่อสอนหลักการเพิ่มขึ้นจากประสบการณ์การสอน
      ของตนเอง
  -   แก้ข้อผิดพลาดทางเคมีอินทรีย์และเคมีฟิสิกัล   
  -   ในตำราเคมีและชีวเคมีภาษาอังกฤษที่ใช้กันแพร่หลายในโลกหลายเล่ม
  -   เสนอคำอธิบายและแง่คิดใหม่และเสริมเนื้อหาบางหัวข้อในตำรานานาชาติ
      เกี่ยวกับทางเคมีและชีวเคมีหลายเรื่อง
  -   ผลงานตีพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา มีดังนี้คือ

 
*1.
B. Panijpan (1977) The buoyant density of DNA and The G + C content. J. Chem.
            Educ. 54, 172-173.
*2.
J. Svasti and B. Panijpan (1977) SDS-polyacrylamide gel electrophoresis – A simple
            explanation of why it works. J. Chem. Educ. 54, 560-562.
3.
B. Panijpan (1977) Chirality of the disulfide bond in biomolecules. J. Chem. Educ. 54,
            670-672
4.
K. Rungruangsak and B. Panijpan (1978) Absorbance change in the visible region
            should be reconsidered for assay of starch cleavage by a-amylases. Clin. Chem.
            24(6), 1085.
*5.
K. Rungruangsak and B. Panijpan (1979) The mechanism of action of salivary amylase.
            J. Chem. Educ. 56(6), 423-424.
6
.B. Panijpan (1979) The (pteridine ring of folic acid-lactam or lactim form. Biochem. Educ.
            7(2), 38.
7.
B. Panijpan (1979) Protonation scheme in acid-induced DNA strand separation.
            Trends in Biochemical Sciences, September N 210-211.
8.
B. Panijpan (1979) The meaning of p in sedimentation equations. Biochem. Educ.
            7(4), 90.
9.
B. Panijpan (1979) The singly protonated structure of thiamine. J. Chem. Educ. 56(12), 
            805-806.
10.
B. Panijpan (1980) A closer look at some biological heterocyclic bases. Biochem.
            Educ. 8(1), 27-28.
11.
B. Panijpan (1980) A model-building exercise. Biochem. Educ. 8(4), 104-105.
12.
B. Panijpan (1980) Do chiral molecules necessarily show optical activity? Biochem.
            Educ. 8(4), 101.
13.
P. Puangkanok, J. Jaroensanti and B. Panijpan (1981) A kinetic study of thiamine
            cleavage by bisulphite using a simple visible spectrophotometer. Biochem. Educ.
            9(3), 94-95.
14.
B. Panijpan (1984) Biochemical Education : feasible research regardless
            of resource. Biochem. Educ. 12(3), 133-134.

          * สิ่งตีพิมพ์เหล่านี้ได้รับการอ้างอิงในวารสารทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ และวารสาร
ทางวิทยาศาสตร์ศึกษาระดับนานาชาติ และหมายเลข 5 ได้รับเสนอเป็นการทดลองที่น่าทำโดย
Americal Chemical-Socitety บางชิ้น เช่น หมายเลข 1 และ 2 ได้เข้าอยู่ในบทความที่นักศึกษา
ควรอ่านเพิ่มเติมจากตำรา เช่น ตำราของ Raymond Chany เรื่อง Physical Chemistry
(Chemical and Biocal Sciences) ทุก edition ตั้งแต่ปี 1977 จนถึง edition ที่ 3 ปี ค.ศ.2000

            นอกจากนี้ยังมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติอีกประมาณ 40 เรื่อง รวมถึงที่อยู่ใน
Science (AAAS) J.C.S/Chem.Commun. และ Annals N.Y. Acad.Sci. และอื่น ๆ
ที่เกิดจากผลการวิจัยหลังปริญญาเอก ยังมีบทความในวารสารทางวิชาการและมีบทความ
จากการบรรยาย ในวารสารประชุมวิชาการอีกจำนวนมาก

ผลงานด้านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์

ได้สร้างสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับ ดร.ตวงพร สุทธิพงษ์ชัย
และ ดร.จิรันดร ยูวะนิยม สำหรับวิชาชีวเคมีของนักศึกษาบัณฑิต ซึ่งมี
แบบฝึกหัดที่มีช่วงเวลา สำหรับแต่ละข้อให้นักศึกษาทำ และให้คะแนนทันที
ในหัวข้อ

-   molecular model building
-    symmetry and molecular interaction
-   ได้สร้างสื่อการเรียนการสอนสำหรับฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์
     และได้ใช้ในการฝึกอบรมไปหลายครั้ง

   
back