|
|
|
|
|
|
|
|
|
การแบ่งกลุ่มของปลากัด
โดยทั่วไปแล้วนักเลงปลากัดมักแบ่งปลากัดออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆได้แก่
1. ปลากัดทุ่งหรือปลากัดป่า ซึ่งพบอยู่ตามธรรมชาติอาทิเช่น ทุ่งนา หนองน้ำ บึง มีความสามารถในชั้นเชิงการต่อสู้แตกต่างออกไปในแต่ละถิ่น ความพิเศษของปลากัดป่าอยู่ที่ความเป็นนักสู้โดยธรรมชาติ
และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือ การที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูกกระตุ้น ในสภาวะตื่นตัวครีบทุกครีบจะแผ่กางออกเต็มที่ แผ่นเยื่อหุ้มเหงือกขยายพองตัวออก พร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่ปรากฏขึ้นมาชัดเจน ทำให้ดูสง่า อาจหาญ และสวยงาม |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดป่ามหาชัย |
|
ปลากัดป่าภาคใต้ |
|
ปลากัดป่าภาคอีสาน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
2. ปลากัดลูกหม้อ เป็นปลากัดที่ได้จากผู้เลี้ยงในสมัยก่อนคัดพันธุ์ปลากัดทุ่งหรือปลากัดป่าจาก
แหล่งต่างๆมาผสมพันธุ์กันเพื่อให้ได้ลูกปลากัดที่มีลักษณะดี แข็งแรง กัดทน และดุ ลูกปลาที่ได้จะนำไปเลี้ยงในหม้อดิน ดังนั้นคำว่า “ลูกหม้อ" หรือ “ปลากัดลูกหม้อ” นั้นจึงได้ชื่อมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด นั่นเอง ปลากัดลูกหม้อจะมีรูปร่างหนาและใหญ่กว่าปลากัดชนิดอื่น สีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขาม สีส่วนมากจะเป็นสีน้ำเงิน แดง เทา เขียว คราม หรือแดงปนน้ำเงิน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดลูกหม้อ |
|
ปลากัดลูกหม้อ |
|
|
|
|
|
|
|
|
3. ปลากัดสังกะสี เป็นปลากัดลูกผสมระหว่างปลากัดหม้อเพศผู้กับปลากัดทุ่งเพศเมีย ปลากัดสังกะสี จะกัดทนไม่เท่ากับปลากัดหม้อ แต่จะทนกว่าปลากัดทุ่ง นอกจากนี้ยังมีผู้คิดเอาปลากัดสังกะสีเพศผู้ผสมกับปลากัดทุ่งเพศเมียออกมาเป็นปลากัดที่เรียกว่า ซ้ำสาม หมายถึง ปลาที่มีลูกผสมระหว่างปลาลูกทุ่ง ลูกหม้อ และสังกะสี |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดลูกผสมระหว่าง
ปลากัดหม้อและปลากัดป่าภาคใต้ |
|
ปลากัดลูกผสมระหว่าง
ปลากัดหม้อและปลากัดป่าภาคใต้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
4. ปลากัดครีบยาวหรือปลากัดจีน หลายคนเข้าใจผิดว่าปลากัดจีนเป็นปลากัดอีกสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมาจากประเทศจีน ซึ่งโดยแท้จริงแล้วปลาชนิดนี้ก็เป็นปลากัดไทยที่มีพื้นเพมาจากปลากัดป่า ซึ่งเกิดจากการผสม
คัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาลูกหม้อที่กัดเก่งมีลักษณะที่ดีสวยงาม แต่เผอิญได้ปลาชนิดใหม่ที่ครีบและหางยาวออกมามากกว่าปกติ หลังจากนั้นก็มีการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ครีบ และหางที่แผ่กว้างขึ้น มีลักษณะสวยงามขึ้น มีสีสันใหม่ ๆ โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะลักษณะครีบที่ยาว รุ่มร่าม และสีสันฉูดฉาดนี้เองจึงมองดูเหมือนอุปรากรจีน หรือ งิ้ว ซึ่งใส่ชุดที่มีสีสันฉูดฉาด ปลายแขนและขอบชุดยาวทำให้เวลาร่ายรำมองดูพลิ้วไปมา จึงเรียกปลากัดพวกนี้ว่า ปลากัดจีน ปลากัดครีบยาวนิยมเลี้ยงกันมากในต่างประเทศ และได้พัฒนาสายพันธุ์ไปหลากหลายสายพันธุ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เลี้ยง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดครีบยาว |
|
ปลากัดครีบยาว |
|
ปลากัดครีบยาว |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดครีบยาวหางมงกุฎหนาม |
|
ปลากัดครีบยาวหางมงกุฎหนาม |
|
|
|
|
|
ปลากัดครีบยาวหางมงกุฎหนาม |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|