|
|
|
การจัดประกวดปลากัดไทย
เนื่องจากปลากัดมีผู้นิยมเลี้ยงกันมากจึงทำให้ปัจจุบันมักมีการจัดประกวดปลากัดกันอยู่บ่อยครั้ง เช่น
ในงานมหกรรมสัตว์เลี้ยงแห่งประเทศไทย งานวันเกษตรแห่งชาติ งานประมงน้อมใจ และงานประมงน้อมเกล้า
เป็นต้น หลักเกณฑ์ที่ใช้ เป็นหลักสากลเหมือนกับที่ใช้ในการจัดประกวดในระดับนานาชาติ แต่บางส่วนอาจมีการแก้ไขให้เหมาะสมสำหรับใช้ประกวดในประเทศไทย ปลากัดที่จะส่งเข้าประกวดจะต้องมีเกณฑ์ต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้
1. ลักษณะมาตรฐานของปลากัด ประกอบด้วย
1.1 ขนาดและสัดส่วน ปลาที่ส่งเข้าประกวดตรงตามมาตรฐานสากลคือ มีความยาวลำตัววัดจากส่วนหัวถึงโคนหางไม่ต่ำกว่า 1.5 นิ้ว (สำหรับปลาตัวผู้) และไม่ต่ำกว่า 1.25 นิ้ว (สำหรับตัวเมีย) ปลาจะต้องมีสัดส่วนของลำตัวและครีบพอเหมาะ
1.2 รูปทรงลำตัว ควรมีลักษณะคล้ายกระสวย ส่วนที่กว้างที่สุดของลำตัวอยู่บริเวณครีบท้อง และลาดเป็นเส้นไปทางหัวและหาง ความยาวของปลาควรเป็น 3-4 เท่าของความกว้าง
1.3 สภาพของปลา พิจารณาจากสุขภาพและความชำรุดเสียหายของครีบและลำตัวซึ่งจะมีผลต่อ
ความสวยงามของปลา ดังนั้นปลาที่สมบูรณ์ควรมีความปราดเปรียวและว่ายน้ำอย่างคล่องแคล่ว
1.4 ลักษณะท่าทางและการแสดงออก ปลาที่มีความสมบูรณ์จะมีลักษณะท่าทางที่สวยงาม ครีบทุกครีบแผ่กว้าง เหงือกพองเต็มที่ และมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็ว |
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดครีบสั้นหางเดี่ยว |
|
ปลากัดครีบยาวหางสามเหลี่ยม |
|
|
|
|
|
|
|
2. ประเภทของปลากัดในการประกวด อาจจะมีการแบ่งประเภทแตกต่างกันไปแล้วแต่ผู้จัด ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงเป็นการแบ่งประเภทของการประกวดปลากัดที่จัดโดยคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และสมาคมปลาสวยงามแห่งประเทศไทย ในงานวันเกษตรแห่งชาติ ในปีพ.ศ.2548 ดังนี้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การส่งปลากัดเข้าประกวด |
|
การส่งปลากัดเข้าประกวด |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดที่ส่งเข้าประกวด |
|
ปลากัดที่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
|
|
|
1.1 ปลากัดครีบสั้น แบ่งออกเป็น
ปลากัดครีบสั้นหางเดี่ยวสีเดียว กลุ่มสีอ่อน (ขาว เหลือง ส้ม ฟ้า เทาอ่อน)
ปลากัดครีบสั้นหางเดี่ยวสีเดียว กลุ่มสีเข้ม (แดง ดำ น้ำเงิน เขียว คราม)
ปลากัดครีบสั้นหางเดี่ยว หลากสี (แฟนซี)
ปลากัดครีบสั้นหางคู่ รวมทุกประเภทสี
ปลากัดครีบสั้นหางจัก – หางมงกุฎหนามรวมทุกประเภทสี
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดครีบสั้นหางเดี่ยว(สีอ่อน) |
|
ปลากัดครีบสั้นหางคู่ |
|
ปลากัดครีบสั้นหางจัก |
|
|
|
|
|
|
|
1.2 ปลากัดครีบสั้น เกล็ดวาว แบ่งออกเป็น
ปลากัดครีบสั้นเกล็ดวาวหางเดี่ยว สีทองแดง
ปลากัดครีบสั้นเกล็ดวาวหางเดี่ยว สีแพลทตินั่ม สีมุกทอง และสีทอง
ปลากัดครีบสั้นเกล็ดวาวหางเดี่ยว รวมทุกประเภทสี
ปลากัดครีบสั้นเกล็ดวาวหางเดี่ยว หลากสี ( แฟนซี)
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดครีบสั้นเกล็ดวาวหางเดี่ยว |
|
ปลากัดครีบสั้นเกล็ดวาวหางเดี่ยว |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
1.3 ปลากัดครีบยาว แบ่งออกเป็น
ปลากัดครีบยาวหางเดี่ยว รวมทุกประเภทสี
ปลากัดครีบยาวหางจัก และหางมงกุฎหนามรวมทุกประเภทสี
ปลากัดครีบยาวหางสามเหลี่ยม และหางพระจันทร์ครึ่งซีก รวมทุกประเภทสี
ปลากัดครีบยาวหางสองแฉก รวมทุกประเภทสี
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดครีบยาวหางสองแฉก |
|
ปลากัดครีบยาวหางจัก (มงกุฎหนาม) |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดครีบยาวหางสามเหลี่ยม |
|
ปลากัดครีบยาวหางเดี่ยว |
|
|
|
|
|
|
|
1.4 ปลากัดครีบยาว เกล็ดวาวรวมทุกประเภท
เป็นกลุ่มปลากัดครีบยาวที่มีเกล็ดวาวทุกสี ทุกแบบ ที่ไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1.3
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดครีบยาวเกล็ดวาว |
|
ปลากัดครีบยาวเกล็ดวาว |
|
|
|
|
|
|
|
3. การให้คะแนน กรรมการตัดสินจะดูจาก
3.1 ความสมส่วน คือปลาที่มีลำตัว และครีบประกอบกันแล้วมีความสวยงาม ตะเกียบยาวเสมอกันทั้งสองข้าง ครีบทุกครีบต่อเนื่องเป็นแนวเดียวกัน
3.2 สี พิจารณาจากความสวยงามของสี รูปแบบ และความคมชัดของเส้นขอบ
3.3 ความสมบูรณ์ ปลาที่ส่งเข้าประกวดต้องมีสุขภาพแข็งแรง ว่ายน้ำคล่องแคล่วและปราดเปรียว |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ข้อควรรู้ ลักษณะที่มักถูกตัดคะแนน ได้แก่
- ครีบใดๆก็ตามมีรู
- ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีรอยฉีกขาด
- ตะเกียบสั้นหรือยาวไม่เท่ากัน
- เกล็ดลำตัวไม่เป็นระเบียบ
- เหงือกกางไม่เท่ากัน
- ครีบหลังกางไม่ทับส่วนหน้าของครีบหาง
- มีสีอื่นแต้มเล็กน้อย(เฉพาะสีเดียว)
- รอยต่อระหว่างสีไม่คมชัด(ขอบสีไม่คมชัด)
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|