ผลงานวิจัยใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

        นอกจากผลผลิตงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติแล้ว สถาบันฯ ยังมีผลผลิตงานวิจัยเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ ได้แก่ ชุดทดสอบไอโอเดทในเกลือชนิดขวดเดี่ยว (I-Kit) น้ำยาสำหรับหาปริมาณไอโอดีนในเกลือชนิดขวดเดี่ยว (I-Reagent) เครื่องวัดไอโอดีนในเกลือ (I-Reader) และผลิตภัณฑ์กลุ่ม Silica Aerogel

I-kit

ชุดทดสอบไอโอเดทในเกลือชนิดขวดเดี่ยว (I-Kit)
        เป็นชุดตรวจสอบภาคสนามสำหรับตรวจสอบไอโอดีนในเกลือที่อยู่ในรูปของไอโอเดท สามารถบอกปริมาณไอโอดีนในเกลือในระดับ 0-50 ppm (part per million) แบบ semi-quantitative มีอายุการใช้งาน 18 เดือน ชุดทดสอบนี้มีน้ำยาที่บรรจุอยู่ในขวดหยดปริมาตร 18 ml (ใช้ทดสอบเกลือได้ประมาณ 80 ตัวอย่าง) และมีอุปกรณ์ประกอบ คือ แถบสีเปรียบเทียบเพื่ออ่านปริมาณไอโอดีนในเกลือ ช้อนที่ตวงเกลือในปริมาณที่กำหนด (ประมาณ 0.1 กรัม) แผ่นพลาสติกสีขาวขุ่นสำหรับผสมเกลือกับน้ำยา และคู่มือการใช้งานภาษาไทยและภาษา อังกฤษ ชุดทดสอบนี้สามารถบอกได้ทันทีว่าเกลือบริโภคมีไอโอดีนได้มาตรฐานหรือไม่ (เกลือที่ทดสอบได้ต่ำกว่า 20 ppm ถือว่าไม่ได้มาตรฐาน) ซึ่งมีความสำคัญมากต่อผู้บริโภคที่ขาดหรือเสี่ยงต่อการขาดสารไอโอดีน

น้ำยาสำเร็จรูปสำหรับหาปริมาณไอโอดีนในเกลือ (I-Reagent)
         เป็นน้ำยาสำหรับวัดปริมาณไอโอดีนในเกลือที่อยู่ในรูปของไอโอเดท สามารถใช้ได้ทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม
การวัดปริมาณไอโอดีนในเกลือสามารถทำได้สะดวกเพียงขั้นตอนเดียว โดยใช้ I-Reagent ผสมกับเกลือ ถ้าเกลือที่ทดสอบมีไอโอดีนในรูปของไอโอเดท จะเกิดสารละลายสีน้ำเงินที่มีความเข้มของสีเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณไอโอดีนในช่วง 0-100 ไอโอดีน ppm ซึ่งความเข้ม ของสีน้ำเงินจะวัดได้โดยใช้ spectrophotometer หรือ colorimeter ที่ความยาวคลื่น 500 nm

เครื่องวัดไอโอดีนในเกลือ (I-Reader)

        เป็นเครื่องมือวัดสีอย่างง่าย ซึ่งจะวัดสีในช่วงของสีฟ้า – น้ำเงิน และ ชมพู – แดง เครื่องนี้มีขนาด 9 X 15 cm ทำงานโดยใช้แบตเตอรี่ขนาด 9 volts สามารถใช้กับหลอดแก้วทดลองธรรมดา (คือหลอด Pyrex) ที่ใช้กับการทดลองทั่วไป แต่ต้องเป็นหลอดที่ใสสะอาดไม่มีรอยเปื้อนหรือรอยขีดข่วน มีขนาดพอดีกับช่องใส่หลอด (หลอดขนาด 1.3 x 10 cm) เครื่อง I-Reader สามารถใช้วัดค่า ppm iodine ในเกลือได้ เพราะมีการตั้งค่าคงที่ไว้สำหรับการคำนวณหาปริมาณไอโอดีนในเกลือเป็น ppm ไว้เรียบร้อยแล้ว ฉะนั้นผู้ใช้เพียงแค่เอาหลอดที่มีเกลือผสมกับน้ำยา
I-Reagent ใส่ในเครื่องนี้ ก็จะสามารถอ่านค่าได้เป็นความเข้มข้นของไอโอดีนในหน่วย ppm ที่เป็นหน่วยมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป

        Silica Aerogel เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยรูพรุนขนาดเล็กต่ำกว่า 100 nm และเป็นที่ต้องการอย่างมากในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีคุณสมบัติหลากหลาย เช่น น้ำหนักเบา เป็นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันเสียง ไม่ดูดความชื้น ตัวดูดซับสารอินทรีย์ และเป็น self-cleaning surface โดยนักวิจัยของสถาบันฯ ได้ค้นพบวิธีการสังเคราะห์ที่ทำได้ง่ายและไม่ซับซ้อน สามารถลดขั้นตอนและเวลาในการสังเคราะห์ ทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่า 10 เท่าของราคาขายในต่างประเทศ และจากการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ Silica Aerogel สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ดังนี้ 

Silica Aerogel Powder 30 g
       เป็น silica aerogel แบบผง มีความหนาแน่นต่ำ มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนและฉนวนกันเสียงที่ดี สามารถดูดซับคราบน้ำมัน มีคุณสมบัติเป็น hydrophobic ใช้ประกอบการสาธิตการสอนเกี่ยวกับ superhydrophobic หรือ self-cleaning surface และsuperinsulation ได้

Hydrophobic Silica Aerogel for Coating Powder 500 ml  
        silica aerogel แบบของเหลว เป็นสารละลาย silica aerogel ที่มีตัวทำละลายเป็นแอลกอฮอล์ เมื่อฉีดพ่นจะเกาะพื้นผิววัตถุ เมื่อแห้งวัตถุนั้นจะไล่น้ำ น้ำไม่เกาะพื้นผิวในบริเวณนั้น แต่ดูดซับน้ำมัน สะดวกสำหรับการใช้งาน ลดปัญหาเรื่องฝุ่น ใช้ประกอบการสาธิตการสอนเกี่ยวกับ superhydrophobic หรือ self-cleaning surface

Silica Aerogel Paste 500 ml
        silica aerogel ชนิดผงที่ผสมกับน้ำแล้วกวนจนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน มีน้ำหนักเบา มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี สามารถนำไปผสมกับสารตั้ง ต้นชนิดอื่นได้ เช่น ผสมกับกาวน้ำทาเคลือบบนผิววัตถุต่าง ๆ ช่วยกันความร้อนได้

747 views since 16 August 2018