|
|||||||
โครงสร้างของอะตอม
(atom) ประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่านิวเคลียส (nucleus) ซึ่ง ภายในเป็นที่อยู่ของอนุภาคโปรตอน (proton) ที่มีประจุบวก และนิวตรอน (neutron) ซึ่งไม่มี ประจุยกเว้นธาตุไฮโดรเจนไม่มีนิวตรอน เลขอะตอมของธาตุ (atomic number) เท่ากับจำนวน โปรตอนของธาตุนั้น และน้ำหนักอะตอม (mass number) เท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และนิวตรอน นิวเคลียสของธาตุต่างไอโซโทปกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากันแต่มีจำนวน นิวตรอนแตกต่างกัน เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป คือ ไฮโดรเจน ดิวทีเรียม (deuterium) และทริเตรียม (tritium) ซึ่งประกอบด้วยจำนวนนิวตรอนเท่ากับ 0, 1 และ 2 ตามลำดับ ดังนั้นธาตุที่มีไอโซโทปต่างกันจะมีเลขอะตอมเท่ากัน แต่น้ำหนักอะตอมแตกต่างกัน |
|||||||
รูปที่ 2.1 โครงสร้างอะตอมของธาตุฮีเลียม |
|||||||
|
|||||||
รูปที่ 2.2 โครงสร้างอะตอมของไอโซโทปไฮโดรเจน |
|||||||
|
|||||||
http://faculty.clintoncc.suny.edu/faculty/Michael.Gregory/ |
|||||||
การเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างอะตอม
ขึ้นอยู่กับลักษณะการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนซึ่ง มีประจุลบและวิ่งอยู่รอบนิวเคลียสของอะตอมนั้น โดยทั่วไปจำนวนอิเล็กตรอนจะเท่ากับจำนวน โปรตอน และอิเล็กตรอนของอะตอมจะมีปริมาณพลังงานแตกต่างกัน กล่าวคืออิเล็กตรอนที่อยู่ ู่ใกล้นิวเคลียสจะมีพลังงานน้อยกว่าอิเล็กตรอนที่อยู่ห่างจากนิวเคลียส เพราะอยู่ในชั้นระดับ พลังงานต่ำกว่า โดยปกติอิเล็กตรอนมีแนวโน้มที่จะอยู่ในที่มีระดับพลังงานต่ำ แต่ถ้าให้พลังงาน กับอิเล็กตรอนแล้ว อิเล็กตรอนนั้นก็จะมีระดับพลังงานที่สูงขึ้นได้ และเมื่ออิเล็กตรอนกลับมาที่ ี่ระดับพลังงานต่ำตามเดิม พลังงานก็จะถูกปลดปล่อยออกมา |
|||||||
พฤติกรรมทางเคมีของอะตอมนั้น
ขึ้นอยู่กับจำนวนและการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอน โดยอะตอมจะมีสภาพเสถียร (stable) ที่สุด เมื่ออิเล็กตรอนทั้งหมดอยู่ที่ระดับพลังงานต่ำที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งระดับพลังงานขั้นแรกสามารถยึดอิเล็กตรอนไว้ได้ 2 อิเล็กตรอน ระดับ พลังงานขั้นที่ 2 สามารถยึดได้ 8 อิเล็กตรอน ปฏิกิริยาเคมีระหว่างอะตอมเป็นผลมาจากการที่ อะตอมมีแนวโน้มที่จะพยายามจัดเรียงตัวให้เสถียรที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ |
|||||||