การค้นพบเซลล์สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น ในปี ค.ศ. 1655 โดย นักพฤกษศาสตร์
ชาวอังกฤษ โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้น
สังเกตโครงสร้างเล็กๆ ของไม้คอร์ก (cork) ที่ถูกเฉือนเป็นแผ่นบางๆ พบว่ามีลักษณะ
เป็นห้องเล็กๆ คล้ายรังผึ้ง เขาได้เรียกห้องเล็กๆเหล่านี้ว่าเซลล์ ซึ่งการศึกษาเซลล์ไม้คอร์ก
ของโรเบิร์ต ฮุค ในครั้งนั้นเป็นการค้นพบเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเป็นครั้งแรก แต่เป็นเซลล์
ที่ตายแล้วคงเหลือแต่ส่วนของผนังเซลล์ (cell wall) เท่านั้น










รูปที่ 3.1 กล้องจุลทรรศน์ของโรเบิร์ต ฮุค (ซ้าย) และเซลล์ไม้คอร์กที่ตายแล้ว (ขวา)


      ต่อมาในปี ค.ศ. 1674 -1683 อังตวน แวน เลเวนฮุค (Anton Van Leeuwenhoek)
นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ (Dutch) ได้พัฒนากล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายกว่า 200 เท่า
และใช้ในการสังเกตสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กรูปร่างๆ แตกต่างกัน ได้แก่ โปรโทซัว (protozoa)
แบคทีเรีย (bacteria) และสเปิร์ม (sperm) การค้นพบในครั้งนี้ถือว่าเป็นการค้นพบเซลล์
จุลินทรีย์เป็นครั้งแรก





รูปที่ 3.2 อันตวน แวน เลเวนฮุค (ซ้าย) และกล้องจุลทรรศน์ของเลเวนฮุค (ขวา)

            หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1830-1839 นักพฤกษศาสตร์ มัตทิอัส ชไลเดน (Matthias
Schleiden) และนักสัตววิทยา เทโอดอร์ ชวันน์ (Theodor Schwann) ได้ศึกษาเซลล์พืช
และเซลล์สัตว์ชนิดต่างๆ รวมทั้งศึกษาบทบาทของนิวเคลียส (nucleus)ภายในเซลล์ต่อ
การแบ่งเซลล์ ชไลเดน และ ชวันน์ ได้รวบรวมความรู้ที่ได้และจัดตั้งเป็น ทฤษฎีเซลล์
(The Cell Theory) โดยมีใจความที่สำคัญดังนี้
         1. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์

         2. เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

         3. เซลล์เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ที่มีอยู่ก่อน

             หลังการจัดตั้งทฤษฎีเซลล์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในรุ่นต่อมาได้ให้ความสนใจ
เกี่ยวกับองค์ประกอบภายในเซลล์และหน้าที่ขององค์ประกอบเหล่านี้มากขึ้นซึ่งทำให้
เกิดความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งและเป็นประโยชน์อย่างมากมายในปัจจุบัน




รูปที่ 3.3 มัตทิอัส ชไลเดน (ซ้าย) และทีโอดอร์ ชวันน์ (ขวา)