การทำงานของร่างกายสัตว์ต้องอาศัยกลุ่มเซลล์ชนิดต่าง ๆ ที่ร่วมกันรับผิดชอบหน้าที่ ี่อย่างใดอย่างหนึ่ง กลุ่มเซลล์เหล่านี้ทำงานประสานกันเพื่อให้สิ่งมีชีวิตชั้นสูงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เรียกกลุ่มเซลล์นี้ว่า เนื้อเยื่อ (tissue) เนื้อเยื่อสัตว์สามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว (epithelial tissue) เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (muscular tissue) และเนื้อเยื่อประสาท (nervous tissue)



     เยื่อบุผิว มีลักษณะอย่างไร และมีหน้าที่อะไรบ้าง


           เนื้อเยื่อบุผิว เป็นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมผิวนอกร่างกายหรือผิวท่ออวัยวะภายใน มีหน้าที่รับความรู้สึก เช่น ที่ผิวหนัง เกี่ยวกับการดูดซึม เช่น เยื่อบุผิวทางเดินอาหาร การสร้างสารและการหลั่งสาร เช่น ที่ต่อมน้ำลายและต่อมเหงื่อ เป็นต้น เซลล์เยื่อบุผิวมีลักษณะแตกต่างกัน 3 แบบ คือ รูปร่างแบนบาง (squamous) รูปลูกบาศก์ (cubic) และลักษณะเป็นแท่งหรือรูปทรงสูง (column) กลุ่มเซลล์เหล่านี้จะจัดเรียงตัวกันบนฐาน (basement) ชั้นเดียว (simple epithelium) หรือหลายชั้น (stratified epithelium) และอาจพบลักษณะการจัดเรียงตัวของเซลล์หลายชั้นเทียม (pseudo stratified epithelium) คือ เซลล์เรียงตัวชั้นเดียวอยู่บนฐาน แต่มองเห็นเหมือนเป็นหลายชั้น เนื่องจากเซลล์มีความสูงแตกต่างกัน เช่น เยื่อบุผิวที่หลอดลม และอาจพบเยื่อบุผิวแบบหลายชั้นยืดหยุ่น (transitional epithelium) ซึ่งเป็นเยื่อบุผิวที่จัดเรียงตัวหลายชั้นแต่เนื่องจากเซลล์มีรูปร่างไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการยืดหดตัวของอวัยวะ พบที่ผนังด้านในของกระเพาะปัสสาวะ โดยเมื่อกระเพาะปัสสาวะว่างจะอยู่ในสภาพหดตัว เซลล์มีรูปร่างเหลี่ยมลูกบาศก์และซ้อนกันหลายชั้น เมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็มจะอยู่ในสภาพขยายตัว เซลล์มีรูปร่างแบนบางและเรียงตัวน้อยชั้น นอกจากนี้ อาจพบ ขนเซลล์ (cilia) เซลล์ต่อมหลั่งสารต่างๆ ที่เซลล์เยื่อบุผิวด้วย เช่น เยื่อบุผิวภายในกล่องเสียงบางส่วน และผิวด้านบนของเพดานอ่อน (soft plate) ทางด้านช่องจมูก เป็นต้น








รูปที่ 4.1 เนื้อเยื่อบุผิวประเภทต่างๆ ในร่างกายสัตว์
ที่มา: Campbell and Reece, 2002.







รูปที่ 4.2 เนื้อเยื่อบุผิวผนังหลอดเลือด
แบบแบนบาง
รูปที่ 4.3 เนื้อเยื่อบุผิวรูปลูกบาศก์
เรียงตัวชั้นเดียว






รูปที่ 4.4 เนื้อเยื่อบุผิวแบบแบนบาง
เรียงตัวหลายชั้น
รูปที่ 4.5 เนื้อเยื่อบุผิวรูปทรงสูงเรียงตัว
หลายชั้นแบบเทียมและมีขนเซลล์






รูปที่ 4.6 เนื้อเยื่อบุผิวเรียงตัว
หลายชั้นแบบยืดหยุ่น
รูปที่ 4.7 เนื้อเยื่อบุผิวแบบทรงสูง
เรียงตัวชั้นเดียวบางเซลล์พัฒนา
เป็นต่อมหลั่งสารเมือก