เซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่
และรูปร่างแตกต่างกันอย่างไร


          เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นเนื้อเยื่อที่พบแทรกอยู่ทั่วไปในร่างกาย ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวหรือ
พยุงอวัยวะให้คงรูปอยู่ได้ ลักษณะของเนื้อเยื่อชนิดนี้ คือ ตัวเซลล์และเส้นใยกระจายอยู่ใน
สารระหว่างเซลล์ที่เรียกว่า เมทริกซ์ (matrix) ซึ่งเส้นใยที่พบ ได้แก่ เส้นใยคอลลาเจน
(collagen fiber) เส้นใยอิลาสติก (elastic fiber) และเส้นใยร่างแห (reticular fiber)
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ เนื้อเยื่อเกี่ยวพันสมบูรณ์ (connective tissue
proper) กระดูกอ่อน (cartilage) กระดูกแข็ง (bone) และเลือด (blood)


     เอ็น และพังผืดมีหน้าที่อะไร และจัดว่าเป็นเนื้อเยื่อประเภทใด


1. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันสมบูรณ์ (connective tissue proper)
          ลักษณะเมทริกซ์เป็นเส้นใยกระจายอยู่แตกต่างกัน ทำให้แบ่งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดนี้เป็น
2 ประเภท คือ เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบาง (loose connective tissue) และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
ชนิดแน่นทึบ (dense connective tissue) เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบางมีเส้นใยเรียงตัว
ไม่เป็นระเบียบ ชนิดที่พบมาก ได้แก่ คอลลาเจนและ อิลาสติก สำหรับเส้นใยร่างแหพบเล็กน้อย เซลล์ที่พบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดนี้ได้แก่ เซลล์ไฟโบรบลาสต์ (fibroblast) เซลล์แมโครฟาจ (macrophage) เซลล์แมสต์ (mast cell) เซลล์พลาสมา (plasma cell) และเนื้อเยื่อไขมัน
(adipose tissue) เซลล์ประเภทนี้พบอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชนิดต่าง ๆ ส่วนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด
แน่นทึบพบปริมาณเส้นใยมากอยู่ติดกันแน่นทึบ ทำให้มีช่องว่างระหว่างเซลล์น้อย แบ่งเป็น
3 ลักษณะ คือ ชนิดเกี่ยวพันทึบ พบตามเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) และเอ็นยึด (ligament)
ประกอบด้วยเส้นใยคอลลาเจน เรียงตัวหนาแน่นสีขาว ชนิดยืดหยุ่น (elastic connective-
tissue) พบที่ผนังหลอดเลือด กล่องเสียง หลอดลม และปอด ประกอบด้วยเส้นใยอิลาสติก
สีเหลือง ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดี และชนิดร่างแห (reticular connective-
tissue) ตัวเซลล์เป็นเซลล์ร่างแห (reticular cell) มีแขนงแยกออกไปติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง







รูปที่ 4.8 เซลล์ไฟโบรบลาสต์ (ลูกศร)
ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดแน่นทึบ


รูปที่ 4.9 เซลล์แมโครฟาจ (ลูกศร)
ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน







รูปที่ 4.10 เซลล์แมสต์ (ลูกศร)

รูปที่ 4.11 เซลล์พลาสมา (ลูกศร)








รูปที่ 4.12 เนื้อเยื่อไขมันและนิวเคลียส
ของเซลล์ไขมัน (ลูกศร)


รูปที่ 4.13 เซลล์ร่างแห (ลูกศร)
ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดร่างแห








รูปที่ 4.14 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบาง

รูปที่ 4.15 ลักษณะเส้นใยอิลาสติก (สีชมพู)







รูปที่ 4.16 ลักษณะเส้นใยคอลลาเจน (สีฟ้า)
และเซลล์ไฟโบรบาลต์ (สีแดง)

รูปที่ 4.17 เนื้อเยื่อเอ็นกล้ามเนื้อ


     กระดูกที่ใบหูของมนุษย์จัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันประเภทใด


2. กระดูกอ่อน (cartilage)
           พบอยู่ตามส่วนของโครงกระดูก โดยเฉพาะบริเวณที่กระดูกมีการเสียดสีกัน
ประกอบด้วยเมทริกซ์ซึ่งเป็นสารพวกมิวโคพอลิแซ็กคาไรด์ชนิดคอนโดรมิวคอยด์
(condro- mucoid) มีลักษณะคล้ายวุ้น เซลล์กระดูกอ่อนเรียกว่า คอนโดรไซต์ (chondrocyte)
มีรูปร่างกลมหรือ รูปไข่ อาจพบ 1-4 เซลล์ เรียงตัวอยู่ในช่องว่างที่เรียกว่า ลาคูนา (lacuna)
กระดูกอ่อนสามารถพบได้ที่ใบหู ฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) กล่องเสียง (trachea)
กระดูกอ่อนกั้นระหว่างกระดูกสันหลัง แต่ละข้อ (intervertebral disc) เป็นต้น





รูปที่ 4.18 เซลล์กระดูกอ่อน

ที่มา

                 http://www.usc.edu/hsc/dental/ghisto/cart/index.html


3. กระดูกแข็ง (bone)
          ประกอบด้วยเซลล์กระดูกที่เรียกว่า ออสทีโอไซต์ (osteocyte) อยู่ในช่องลาคูนา
โดยเซลล์กระดูกจัดเรียงตัวเป็นวงรอบช่องฮาเวอร์เชียน (harversian canal) ที่มีเส้นเลือด
นำอาหารมาเลี้ยงเซลล์กระดูก และเรียกลักษณะการเรียงตัวของเซลล์กระดูกนี้ว่า ระบบฮาร์เวอร์
เชียน (harversian system) ช่องฮาร์เวอร์เชียนสามารถติดต่อกับช่องลาคูนาหรือระหว่าง
ช่องลาคูนาด้วยกันเองโดยผ่านช่องเล็ก ๆ ที่เรียกว่า คานาลิคูไล (canaliculi) สารระหว่าง
เซลล์กระดูกประกอบด้วยแคลเซียมและฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบสำคัญ





รูปที่ 4.19 เซลล์กระดูก
ที่มา

                  http://www.meddean.luc.edu/



     เซลล์เม็ดเลือดชนิดใดที่ทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม
ที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์


4. เลือด (blood)
          เลือดประกอบด้วยน้ำเลือด (plasma) และเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งแบ่งเป็น เซลล์เม็ดเลือดแดง
(red blood cell or erythrocyte) เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell or leucocyte)
และเกล็ดเลือด (thrombocyte) เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรงควัตถุฮีโมโกลบิน (hemoglobin)
ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ เซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ทำลาย
สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย มี 2ประเภท คือ พวกที่มีเม็ดแกรนูล (granule) พิเศษใน
ไซโทพลาสซึม (granulocyte) สามารถย้อมติดสีได้ดี เซลล์เม็ดเลือดขาวในกลุ่มนี้ ได้แก่
นิวโทรฟิล (neutrophil) เซลล์มีนิวเคลียส 2-6 พูอีโอซิโนฟิล (eosinophil) เซลล์มีนิวเคลียส
ไม่เกิน 3 พู และเบโซฟิล (basophil) เซลล์มีนิวเคลียสขนาดใหญ่แยกเป็นพูรูปตัวเอส (s)
หรือรูปร่างไม่แน่นอน เซลล์เม็ดเลือดขาวอีกพวกหนึ่ง คือ พวกที่ไม่มีเม็ดแกรนูลใน
ไซโทพลาสซึม (agranulocyte) ได่แก่ ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เซลล์มีนิวเคลียสกลม
มีขนาดใหญ่ ขนาดใกล้เคียงกับเซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์โมโนไซต์ (monocyt) นิวเคลียสมีขนาดใหญ่ รูปไต หรือรูปรี สำหรับเกล็ดเลือดเป็นชิ้นส่วนของไซโทพลาซึม (cytoplasm)
ของเซลล์ชนิดหนึ่งในไขกระดูกที่แตกออกจากกันเข้ามาอยู่ในกระแสเลือดไม่มีสี และไม่มี
นิวเคลียสทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด





รูปที่ 4.20 องค์ประกอบของเลือด






รูปที่ 4.21 เซลล์เม็ดเลือดแดง








รูปที่ 4.22 เซลล์นิวโทรฟิล
(ลูกศร)
รูปที่ 4.23 เซลล์อีโอซิโนฟิล
(ลูกศร)
รูปที่ 4.24 เซลล์เบโซฟิล
(ลูกศร)






   รูปที่ 4.25 เซลล์โมโนไซต์                                รูปที่ 4.26 เซลล์ลิมโฟไซต์
              (ลูกศร)                                                             (ลูกศร)