การจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อเจริญและเนื้อเยื่อถาวรในราก
และลำต้นพืชมีลักษณะอย่างไร

              การจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อประเภทต่างๆ ในรากและลำต้น เมื่อมองจากภายนอก
เข้าไปจะพบชั้นของเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสก่อน ซึ่งบางเซลล์เจริญไปเป็นเซลล์คุมและเซลล์ต่อม
สร้างสารต่างๆ สำหรับลำต้นของพืชยืนต้น อาจพบเซลล์คอร์กซึ่งมีความแข็งแรงกว่าเจริญ
ทดแทนชั้นเอพิเดอร์มิสในระยะที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ ในรากพืชนั้นบางเซลล์ของ
เอพิเดอร์มิสเปลี่ยนไปเป็นขนราก (root hair) ชั้นถัดไปเรียกว่าชั้นคอร์เทก (cortex)
ซึ่งประกอบด้วยเซลล์พื้นฐาน เช่น พาเรงคิมา คอลเลงคิมา เรียงตัวอยู่หลายชั้น คอร์เทกของ
ลำต้นเป็นแหล่งกำเนิดกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ ชั้นต่อไปคือเอนโดเดอร์มิส (endodermis)
ส่วนใหญ่พบในรากพืช เซลล์เรียงตัวเพียง 1 ชั้น ผนังเซลล์หนาเพราะมีสารลิกนินและซูเบอริน
มาสะสม ทำให้้ขัดขวางการลำเลียงน้ำ ถัดเข้ามาคือชั้นเพอริไซเคิล (pericycle) ชั้นนี้ประกอบ
ด้วยเซลล์พาเรงคิมาเรียงตัว 1-2 ชั้น พบเฉพาะในรากเท่านั้น




รูปที่ 5.15 รากพืชใบเลี้ยงคู่

ที่มา

                 http://www.howe.k12.ok.us/~jimaskew/bio/bplants2.htm
           ชั้นในของรากและลำต้นคือชั้นของเนื้อเยื่อลำเลียงหรือมัดท่อน้ำท่ออาหาร
ประกอบด้วย เนื้อเยื่อไซเลม (มัดท่อน้ำ) และโฟลเอม (มัดท่ออาหาร) ในลำต้นของ
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว ท่อน้ำและอาหารจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียงตัวกระจัดกระจายไม่เป็นวง
อย่างเป็นระเบียบดังเช่นในพืชใบเลี้ยงคู่ และไม่พบเนื้อเยื่อแคมเบียมในลำต้นพืช
ใบเลี้ยงเดี่ยว สำหรับการจัดเรียงตัวของมัดท่อน้ำท่ออาหารในรากจะแยกกันอยู่คนละ
แนวรัศมี โดยในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวการเรียงตัวของท่อน้ำมีลักษณะเป็นแฉกหลายแฉก
และท่ออาหารเรียงตัวอยู่ระหว่างแฉกของท่อน้ำ ไม่พบส่วนของแคมเบียม ในรากพืช
ใบเลี้ยงคู่ ท่อน้ำเรียงตัวเป็นแฉก 2-5 แฉก ส่วนใหญ่พบเป็น 4 แฉก และท่ออาหารอยู่
ระหว่างแฉกของท่อน้ำ พบส่วนของแคมเบียมในชั้นนี้ด้วย








รูปที่ 5.16 การจัดเรียงตัวเป็นวงของเนื้อเยื่อลำเลียงในลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่

ที่มา

                  http://www.uri.edu/









รูปที่ 5.17 การจัดเรียงตัวแบบกระจายของเนื้อเยื่อลำเลียงในลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ที่มา

                    http://www.mhhe.com/biosci/pae/botany/histology/html/
cornsmic.htm


                    http://www.uri.edu/artsci/bio/






รูปที่ 5.18 การจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อลำเลียงแบบ 4 แฉกในรากพืชใบเลี้ยงคู่

ที่มา

                 http://www.biology.iastate.edu/








รูปที่ 5.19 การจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อลำเลียงในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ที่มา

                   http://www.biology.iastate.edu/

              บริเวณใจกลางของรากและลำต้นเรียกว่า พิท (pith) ในลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
บางชนิด เช่น ไผ่ หญ้าขน เมื่อพืชโตเต็มที่ พิทจะสลายตัวทำให้กลางลำต้นกลวง เรียกว่า
พิทแควิติ (pith cavity) ในรากพืชใบเลี้ยงคู่ส่วนของไซเลมมักเจริญไปแทนที่ตั้งแต่ระยะที่
พืชยังมีอายุน้อยทำให้ไม่เกิดช่องว่างตรงบริเวณพิทขึ้น





รูปที่ 5.20 ชั้นเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ของลำต้นพืช

ที่มา

                   http://www.phschool.com/science/biology_place/biocoach/plants/lateral.html


              นอกจากนี้อาจแบ่งบริเวณลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ เป็น 2 บริเวณ ส่วนแรก คือ
เปลือกไม้ (bark) ซึ่งประกอบด้วยวาสคิวลาร์แคมเบียม โฟลเอม คอร์กแคมเบียม และ
เซลล์คอร์ก ส่วนที่สอง คือเนื้อไม้ (wood) ซึ่งประกอบด้วยชั้นของเนื้อเยื่อไซเลม





รูปที่ 5.21 ชั้นเนื้อเยื่อภายในลำต้นพืชที่เจริญเต็มที่แสดงบริเวณเปลือกไม้และเนื้อไม้

ที่มา

                   http://faculty.dbcc.cc.fl.us/