เนื้อเยื่อถาวรเกิดจากเนื้อเจริญที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่จำเพาะ เช่น มีสารไขมัน (wax) มาปกคลุมผิวเซลล์ มีขนรูปร่างต่างๆ ยื่นออกไปจากผิวเซลล์ หรือมีต่อม
ผลิตน้ำมันเป็นต้น เนื้อเยื่อถาวรไม่มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอีกแล้ว โดยทั่วไปสามารถแบ่ง
เนื้อเยื่อถาวรได้เป็น 3 ประเภท คือ
   1. เนื้อเยื่อผิว (surface tissue or protective tissue) เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีีการจัดเรียงตัว
อยู่ชั้นนอกตามส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ลำต้น ราก ใบ อวัยวะสืบพันธุ์ ทำหน้าที่ปกคลุมและ
ป้องกันอันตรายในพืช แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เอพิเดอร์มิส (epidermis) และ เพอริเดิร์ม
(periderm)
         1.1 เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อพบทั่วไปตามส่วนต่างๆ ของพืชที่มีอายุน้อย เซลล์มีการ
เปลี่ยนแปลงในลักษณะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหน้าที่ เช่น มีสารพวกคิวติน (cutin) มาเคลือบ
เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ ปากใบซึ่งประกอบด้วย เซลล์คุม (guard cell) และช่องปากใบ (stoma) เซลล์ที่มีลักษณะเป็นขนที่เรียกว่าไทรโคม (trichome) มีหน้าที่ขับสารที่เป็นพิษ ป้องกันความร้อนให้แก่พืช หรือเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดสารอาหารในรากขนอ่อน เป็นต้น
เนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่เรียงตัวเพียงชั้นเดียว








รูปที่ 5.3 เนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิส

          รูปที่ 5.4 เซลล์คุม





รูปที่ 5.5 ไทรโคมแบบต่างๆ


ที่มา

                 http://www.phschool.com/science/biology_place/biocoach/plants/lateral.html

          1.2 เพอริเดิร์ม พบในพืชที่มีอายุมากขึ้น เกิดจากการแบ่งตัวของเนื้อเยื่อบริเวณ เส้นรอบวง
ของรากและลำต้น คือ เนื้อเยื่อ คอร์กแคมเบียม หรือ เฟลโลเจน (phellogen) การแบ่งตัวของ
เนื้อเยื่อชนิดนี้ทำให้เอพิเดอร์มิสแตกออก เนื้อเยื่อที่มาแทนที่นี้เรียกว่าเพอริเดอร์ม ซึ่งจัดว่าเป็น
การเจริญเติบโตทุติยภูมิ(secondary growth) ทำให้ลำต้นและรากขยายขนาดขึ้น เพอร์ริเดิร์ม
ประกอบกลุ่มเซลล์ ชั้นนอกสุด คือ คอร์ก หรือเฟลเลม (phellem) เซลล์กลุ่มนี้สร้างซูเบอริน
(suberin) มาสะสมเหนือผนังเซลล์เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ เมื่อเซลล์แก่จะตาย และมีอากาศ
เข้ามาแทนที่โพรโทพลาสซึม (protoplasm) ชั้นถัดมาจากคอร์ก คือ กลุ่มเซลล์ เฟลโลเจน ที่ทำหน้าที่สร้างเพอร์เดิร์ม และชั้นถัดเข้ามาอีกคือ เฟลโลเดิร์ม (phelloderm) ซึ่งประกอบด้วย
เซลล์พาเรงคิมา (parenchyma) ที่เกิดจากการแบ่งตัวของเฟลโลเจนเข้ามาด้านในนั่นเอง







รูปที่ 5.6 ชั้นเนื้อเยื่อเพอริเดิร์ม วาสคิวลาร์แคมเบียม และเนื้อไม้ของลำต้นพืช




ที่มา

                  http://www.nccpg.com/Default.Aspx?Page.Aspx?Page=120

      2. เนื้อเยื่อพื้นฐาน (fundamental tissue) เป็นเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ของพืช สามารถพบได้
ตามส่วนต่างๆ ของพืช เนื้อเยื่อพื้นฐานมีหน้าที่สำคัญคือ สร้างและสะสมอาหาร ค้ำจุนให้
ความแข็งแรงกับต้นพืช เนื้อเยื่อพื้นฐานประกอบด้วยเซลล์ 3 ประเภท คือ

          2.1 พาเรงคิมา เซลล์มีรูปร่างต่างๆ กัน แต่ส่วนใหญ่มีผนังเซลล์บางขนาดความกว้าง
และความยาวของเซลล์ใกล้เคียงกัน พบได้ทั่วไปในร่างกายพืชทำหน้าที่สร้างอาหาร เช่น เซลล์ ์พาเรงคิมา ที่มีคลอโรฟิลล์อยู่ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง บางชนิดทำหน้าที่สะสมอาหารในต้น ราก
และเอนโดสเปิร์ม (endosperm) ของเมล็ด เป็นต้น






รูปที่ 5.7 เนื้อเยื่อพาเรงคิมา



ที่มา

               http://www.mhhe.com/biosci/pae/botany/histology/html/parenchyma.htm

            2.2 คอลเลงคิมา (collenchyma) เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีผนังหนาไม่สม่ำเสมอ ทำหน้าที่ให้
ความแข็งแรงกับพืช เซลล์มีรูปร่างยาวอยู่ชิดกัน พบมากบริเวณใต้ชั้นเอพิเดอร์มิส ก้านใบ
ในรากไม่ค่อยพบมากนัก






รูปที่ 5.8 เนื้อเยื่อคอลเลงคิมา


ที่มา

                    http://botweb.uwsp.edu/anatomy/collenchyma.htm


             2.3 สเคอเรงคิมา (scherenchyma) เป็นเนื้อเยื่อที่ความแข็งแรง ผนังหนา ช่องว่าง
ภายในเซลล์น้อย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ สเคลอรีด (sclereid) หรือสโตนเซลล์(stone cell)
เซลล์ชนิดนี้มีลิกนินมาพอกบริเวณผนังเซลล์ และไฟเบอร์ (fiber) ซึ่งเซลล์มีลักษณะยาวและ
ยืดหยุ่นมากกว่าสเคลอรีด ทั้งสองชนิดมีหน้าที่ให้ความแข็งแรงแก่ส่วนต่างๆ ของพืช พบมาก
ตามส่วนแข็งในพืช เช่น เปลือก เมล็ด และกะลามะพร้าว เป็นต้น










รูปที่ 5.9 เซลล์สเคอรีดแบบต่างๆ

ที่มา

                    http://faculty.dbcc.cc.fl.us/



                    http://www.botany.hawaii.edu/








รูปที่ 5.10 ภาคตัดขวางของเซลล์ไฟเบอร์

ที่มา

                    http://www.humboldt.edu/~dll2/bot105/deadcell.htm



    เมื่อพืชสังเคราะห์อาหารและสารต่างๆขึ้น สารเหล่านี้
ถูกนำไปเลี้ยงเซลล์ส่วนต่างๆ ของพืชได้ อย่างไร



       3. เนื้อเยื่อลำเลียง (vascular tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ขนส่งน้ำ เกลือแร่ อาหาร
ที่สังเคราะห์ขึ้น ไปยังส่วนต่างๆ ของพืชประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะเป็นท่อยาว เรียงตัวต่อกันไป
ได้แก่ เนื้อเยื่อ 2 ชนิด คือ ไซเลม (xylem) และโฟลเอม (phloem)






รูปที่ 5.11 เนื้อเยื่อลำเลียงลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (ลูกศร)

            3.1 ไซเลม ทำหน้าลำเลียงน้ำและเกลือแร่จากรากไปยังส่วนต่างๆของพืช ไซเลม
ประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์ 4 ประเภทคือ
                  (1) เทรคีด (tracheid) เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะยาว ปลายแหลมเสี้ยม ผนังเซลล์
หนา ขรุขระ ซึ่งเกิดจากการพอกของสารลิกนินไม่สม่ำเสมอ เมื่อเซลล์โตเต็มที่ ไซโทพลาสซึม
และนิวเคลียสจะสลายไปทำให้ภายเซลล์กลวง เหมาะต่อการลำเลียงน้ำ ผนังเซลล์พบช่องว่าง (pit)
กระจายอยู่ ช่องว่างนี้ทำให้เซลล์สามารถลำเลียงน้ำทางด้านข้างไปยังเซลล์ข้างเคียงได้ หน้าที่
อย่างหนึ่งของเทรคีด คือ ช่วยค้ำจุนต้นพืช เนื่องจากเซลล์มีลักษณะที่แข็งแรงมาก
                  (2) เวสเซล (vessel) เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะสั้นและกว้างกว่าเทรคีด ปลายเซลล์
มีรูพรุน เซลล์เรียงต่อเนื่องกัน สามารถลำเลียงน้ำได้สะดวกกว่าเทรคีด ผนังเซลล์ขรุขระเนื่องจาก
การพอกของสารลินนินเช่นเดียวกับเทรคีด และมีรูเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป ทำให้สามารถส่งสาร
ทางด้านข้างของเซลล์ได้
                  (3) ไซเลมพาเรงคิมา (xylem parenchyma) เป็นกลุ่มเซลล์ที่สนับสนุนการเคลื่อนที่
ี่ของสารไปทางด้านข้างของไซเลม พบกระจายอยู่ระหว่างเทรคีดและเวสเซลและตามแนวรัศมี
                  (4) ไซเลมไฟเบอร์ (xylem fiber) เป็นกลุ่มเซลล์ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับ
ไซเลมและทำหน้าที่สะสมอาหาร เช่น แป้ง และสารอื่นๆ อีกด้วย




รูปที่ 5.12 เซลล์เทรคีด และเวสเซล


ที่มา

                 http://www.mhhe.com/biosci/pae/botany/histology/html/vasctis.htm





รูปที่ 5.13 ไซเลมไฟเบอร์

ที่มา

                    http://www.lima.ohio-state.edu/academics/biology/images/tiliafiber.jpg



        3.2 โฟลเอม  สารมหโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันที่พืชสังเคราะห์
ขึ้น จะถูกขนส่งโดยอาศัยกลุ่มเนื้อเยื่อโฟลเอม ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์ 4 ประเภท คือ
                      (1) ซีพทิวบ์เมมเบอร์ (sieve tube member) ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว
เป็นท่อต่อกัน นิวเคลียสสลายไปเมื่อเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่แต่ยังคงมีไซโทพลาสซึมอยู่และ
ทำหน้าที่ลำเลียงสารได้ สันนิษฐานว่าเซลล์ถูกควบคุมโดยนิวเคลียสของคอมพาเนียนเซลล์
(companion cell) ที่อยู่ข้างคียง นอกจากนี้คอมพาเนียนเซลล์ยังทำหน้าที่ให้อาหารแก่ซีพทิวบ์
โดยส่งผ่านทางพลาสโมเดสมาตาอีกด้วย ปลายเซลล์ซีพทิวบ์มีลักษณะคล้ายตะแกรง เรียกว่า
ซีพเพลท (sieve plate)
                      (2) คอมพาเนียนเซลล์ เป็นเซลล์พาเรงไคมาชนิดหนึ่งที่อยู่ติดกับซีพทิวบ์
เป็นเซลล์ที่มีชีวิตตลอด คอมพาเนียนเซลล์ติดต่อกับซีพทิวบ์ตรงบริเวณช่องที่ผนังเซลล์
                      (3) โฟลเอมพาเรงคิมา (phloem parenchyma) ทำหน้าที่สะสมสารอินทรีย์ เช่น
แป้ง รวมทั้งแทนนิน และเรซิน เซลล์พาเรงไคมาพบกระจายในโฟลเอมทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
ของรากและลำต้น
                      (4) โฟลเอมไฟเบอร์ (phloem fiber) มีลักษณะยาวมาก ทำหน้าที่เพิ่ม
ความแข็งแรงให้กับโฟลเอม โดยเฉพาะโฟลเอมที่มีบริเวณกว้าง







รูปที่ 5.14 เซลล์ซีพทิวบ์และคอมพาเนียนเซลล์

ที่มา

                 http://www.mhhe.com/biosci/pae/botany/histology/html/vasctis2.htm