![]() พลังงานอิสระกำหนดทิศทางของปฏิกิริยาเคมี |
|
เราได้เห็นแล้วว่าเอนโทรปีเป็นฟังก์ชันที่ใช้กำหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลง ในธรรมชาติได้ โดยค่ารวมของเอนโทรปีจะเพิ่มขึ้นเสมอเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แต่ในทางชีววิทยาเมื่อต้องการทำนายว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะเกิดขึ้นได้หรือไม่และ ยากง่ายเพียงใด การใช้เอนโทรปีเป็นตัววัดจะไม่สะดวก เพราะต้องทำการวัดการเปลี่ยนแปลง ทั้งในระบบและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นฟังก์ชันที่สะดวกกว่า คือ พลังงานอิสระกิบส์ (gibbs free energy) จึงถูกนิยามขึ้นเพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะที่เกิดในระบบเท่านั้น |
|
การใช้พลังงานอิสระซึ่งเรียกย่อๆ
ว่า G ในการทำนายการเกิดปฏิกิริยา เราจะพิจารณา ผลต่างของพลังงานอิสระ หรือ ![]() ของปฏิกิริยา ผลต่างพลังงานอิสระกิบส์เป็นปริมาณพลังงานที่เหลือจากการเปลี่ยนแปลง ในระบบซึ่งเกิดขึ้นที่อุณหภูมิและความดันคงที่ และพลังงานส่วนนี้สามารถนำไปใช้ใน การทำงานต่อได้ |
|
หากการเปลี่ยนแปลงใดมี
![]() ที่เหลือที่ทำงานได้น้อยกว่าตัวเข้าทำปฏิกิริยา และปฏิกิริยานั้นสามารถเกิดขึ้นได้เอง (spontanoeus reaction) |
|
หากการเปลี่ยนแปลงใดมี
![]() ที่เหลือที่ทำงานได้มากกว่าตัวเข้าทำปฏิกิริยา ปฏิกิริยานั้นจึงมีแนวโน้มที่จะไม่เกิดขึ้นเอง (non-spontaneous reaction) จึงต้องมีการดูดพลังงานเข้ามาในระบบเพื่อให้ การเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้เอง |
|
![]() |
|
ภาพที่ 6.1 ปฏิกิริยาคายพลังงานและปฏิกิริยาดูดพลังงาน |
|