์ ![]() |
|
สิ่งมีชีวิตดำรงชีพโดยอาศัยปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์
ถ้าจะให้ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ในเซลล์เกิดขึ้นได้ในหลอดทดลองมักจะต้องใช้อุณหภูมิสูงหรือในสภาพที่เป็นกรดหรือเป็น ด่างเข้มข้น แต่ในร่างกายปฏิกิริยาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นที่อุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียส และที่ค่า pH เป็นกลาง ที่เป็นเช่นนี้เพราะเซลล์มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งในทุกๆ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในเซลล์ |
|
ตัวเร่ง (catalyst) หมายถึง สารที่เร่งให้ปฏิกิริยาดำเนินไปได้เร็วขึ้นโดยที่ตัวมันเอง ไม่ถูกเปลี่ยนแปลง การที่ปฏิกิริยาเคมีทั้งหลายจะเกิดขึ้นได้นั้น โมเลกุลของสารที่จะเข้าทำ ปฏิกิริยาจะต้องได้รับพลังงานเพิ่มเติมจากสิ่งแวดล้อม เช่น ความร้อนทำให้เกิดการวิ่งชนกัน ของโมเลกุลเพื่อกระตุ้นให้เข้าสู่สภาพเปลี่ยน (transition state) พลังงานเพิ่มเติมนี้เรียกว่า พลังงานอิสระของการกระตุ้น (free energy of activation) ตัวเร่งทุกชนิดรวมทั้งเอนไซม์ ทำงานโดยลดพลังงานอิสระของสภาพเปลี่ยน ทำให้พลังงานอิสระของการกระตุ้นที่ต้องใช้ ้ลดน้อยลงไปด้วย เมื่อพลังงานของการกระตุ้นลดน้อยลง ร้อยละของโมเลกุลของสารที่จะ เข้าทำปฏิกิริยาที่มีพลังงานเพียงพอที่จะเข้าสู่สภาพเปลี่ยนก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราเร่ง ของปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นไปด้วย |
|
![]() |
|
![]() |
|
ภาพที่ 6.4 พลังงานกระตุ้นในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้เอนไซม์และปฏิกิริยาที่ใช้เอนไซม์ |
|