์ ![]() |
|
เอนไซม์ส่วนใหญ่เป็นโปรตีน
และเป็นโปรตีนชนิดก้อนกลม ดังนั้นการม้วนและ ทบของสายเปปไทด์จะทำให้มี บริเวณเร่ง (active site) ซึ่งมีลักษณะเป็นร่องบนผิวของ โมเลกุล ซึ่งสามารถจับกับตัวเข้าทำปฏิกิริยาหรือซับสเตรตเกิดเป็น โมเลกุลเชิงซ้อนซึ่ง มีเอนไซม์จับกับตัวเข้าทำปฏิกิริยา (enzyme-substrate complex) ตัวเข้าทำปฏิกิริยา นั้นจะถูกยึดไว้โดยแขนงข้างของกรดอะมิโน (amino acid side chain) ที่อยู่ในร่อง และถูกชักนำให้เข้าสู่สภาพเปลี่ยนได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นพลังงานอิสระของการ กระตุ้นจึงถูกลดลง จากนั้นตัวเข้าทำปฏิกิริยาที่อยู่ในสภาพเปลี่ยนจะมีการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างกลายเป็น โมเลกุลเชิงซ้อนซึ่งมีเอนไซม์จับกับผลิตผลของปฏิกิริยา (enzyme-product complex) ซึ่งจะแตกตัวให้ผลิตผลของปฏิกิริยาหลุดออกไป จากเอนไซม์ |
|
เอนไซม์เป็นสารชีวโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อตัวเข้าทำปฏิกิริยา
ความจำเพาะ นั้นเกิดขึ้นจากการที่ตัวเข้าทำปฏิกิริยาสามารถเข้าจับบริเวณเร่งของเอนไซม์ได้อย่างพอดี และการจับกันระหว่างตัวเข้าทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ไม่ได้อาศัยการเข้ากันทางรูปร่างอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการเข้ากันทางด้านคุณสมบัติทางเคมีด้วย เพื่อให้มีแรงดึงดูดชนิดอ่อน เช่น พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond) แรงไฮโดรโฟบิค (hydrophobic interaction) และ แรงแวนเดอร์ วาลส์ (vander waals interaction) เกิดขึ้นระหว่างกรดอะมิโนในบริเวณเร่งของ เอนไซม์กับตัวเข้าทำปฏิกิริยาในจำนวนมากเพียงพอที่จะสามารถยึดตัวเข้าทำปฏิกิริยาไว้ได้ แน่น นอกจากนี้การจับกันอย่างพอเหมาะระหว่างเอนไซม์และตัวเข้าทำปฏิกิริยาอาจต้องอาศัย การเปลี่ยนแปลงโครงรูปของบริเวณเร่งของเอนไซม์หรือของตัวเข้าทำปฏิกิริยาเล็กน้อยด้วย |
|
![]() |
|
ภาพที่ 6.5 การทำงานของเอนไซม์ |
|