กระบวนการหายใจระดับเซลล์ |
|
พลังงานที่สะสมในสารอินทรีย์ทั้งหลายเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดเรียงตัวของ อะตอมในโมเลกุลและการเกิดพันธะระหว่างอะตอมเหล่านั้นในโมเลกุล เซลล์สามารถ สลายสารอินทรีย์เชิงซ้อนที่มีพลังงานสูงให้กลายเป็นสารที่มีโครงสร้างอย่างง่ายและ นำพลังงานที่ได้จากการสลายโมเลกุลนั้นไปใช้ในการทำงานต่างๆ ของเซลล์โดย กระบวนการควบคู่ทางปฏิกิริยาและพลังงาน กระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอินทรีย์เชิงซ้อน เพื่อให้ได้พลังงานสำหรับกระบวนการต่างๆ ของชีวิต เราเรียกว่า กระบวนการสลาย (catabolism) กระบวนการสลายที่เกิดขึ้นโดยมีการใช้ออกซิเจนในเซลล์ เรียกว่า การหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) หากกระบวนการสลายเกิดขึ้นโดยไม่มี การใช้ออกซิเจนในเซลล์ เราเรียกว่า กระบวนการหมัก (fermentation) กระบวนการหายใจ ระดับเซลล์เปรียบได้กับการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ การเผาไหม้เกิดขึ้นเมื่อ ออกซิเจนทำปฏิกิริยากับเชื้อเพลิงซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอน อาหารบริโภคของคนเราซึ่ง ได้แก่คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ล้วนเป็นเชื้อเพลิงของ กระบวนการหายใจทั้งสิ้น สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการหายใจ ระดับเซลล์ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ |
|
รูปที่ 7.1 กระบวนการหายใจระดับเซลล์เปรียบได้กับ การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ |
|
กระบวนการสลายให้พลังงานออกมา |
|
การเผาผลาญกลูโคสในอากาศให้พลังงาน
686 กิโลแคลอริ ต่อกลูโคสหนึ่งโมล (ประมาณ 180 กรัม) อุณหภูมิของร่างกายไม่สูงพอที่จะทำให้เกิดการเผาผลาญได้รวดเร็ว และปล่อยพลังงานออกมาอย่างมหาศาลในรูปของความร้อน แต่ในการออกซิไดส์กลูโคส ในกระบวนการหายใจ ปฏิกิริยาไม่ได้เกิดขึ้นในขั้นตอนเดียวนั่นคือ ไฮโดรเจนพร้อม อิเล็กตรอน จะไม่ถูกส่งต่อให้กับออกซิเจนไปพร้อมกันทั้งหมดในคราวเดียวแต่เกิดขึ้นเป็นขั้น เป็นตอนโดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ที่จะไปช่วยลดพลังงานกระตุ้นทำให้น้ำตาล กลูโคสถูกออกซิไดส์อย่างช้าๆ ที่อุณหภูมิร่างกายในกระบวนการหายใจ มีการขนย้าย อิเล็กตรอนเกิดขึ้นระหว่างการเกิดปฏิกิริยาเคมี การเปลี่ยนตำแหน่งของอิเล็กตรอน ปลดปล่อยพลังงานที่สะสมอยู่ในโมเลกุลของอาหารออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี่เองผลักดัน ให้เกิดการสร้าง ATP ขึ้น การขนย้ายอิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นระหว่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีเราเรียกว่า ปฏิกิริยารีดอกซ์ (redox reaction) ในปฏิกิริยารีดอกซ์ การสูญเสียอิเล็กตรอนของ โมเลกุลหรืออะตอมเรียกว่า การเกิดออกซิเดชัน (oxidation) ของโมเลกุลหรืออะตอม นั้น และการเติมอิเล็กตรอนให้กับโมเลกุลหรืออะตอมใดๆ ก็ตามเราเรียก การเกิดรีดักชัน (reduction) ของโมเลกุลหรืออะตอมนั้น |
|