กระบวนการหมักสร้าง ATP โดยไม่อาศัยออกซิเจน

           เซลล์บางชนิดสามารถสร้าง ATP ได้ทั้งแบบที่ต้องใช้ออกซิเจนและแบบที่ไม่ต้องใช้
ออกซิเจน ในกรณีที่มีออกซิเจนในเซลล์เพียงพอไพรูเวตจะเปลี่ยนไปเป็น แอซีติลโคเอ แล้วเข้าสู่
วัฏจักรเครปส์และกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน ตามขั้นตอนของกระบวนการหายใจ เพื่อให้ได้
ATP ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นโดยวิธีออกซิเดทีฟฟอสโฟริเลชัน หากในเซลล์ไม่มีออกซิเจน ATP
ที่ได้จะมาจากกระบวนการซับสเตรตฟอสโฟริเลชันขณะที่กลูโคสเปลี่ยนไปเป็นไพรูเวต จากนั้น
ผลผลิตสุดท้ายของไกลโคไลซิสคือ ไพรูเวตจะถูกนำไปใช้ต่อในกระบวนการหมัก แต่เนื่องจากว่า
เซลล์ต้องการ NAD+ กลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ในกระบวนการไกลโคลิซีส ในกระบวนการหมักจะมี
การโยกย้ายอิเล็กตรอนจาก NADH ไปยังไพรูเวต หรืออนุพันธ์ของไพรูเวตที่ชื่อแอซีตาลดีไฮด์
ทำหน้าที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอน เพื่อจะออกซิไดส์ NADH กลับไปเป็น NAD+ ซึ่งสามารถนำกลับไป
ใช้ใหม่ ผลผลิตสุดท้ายซึ่งถือว่าเป็นของเสียจากกระบวนการหมักอาจเป็น แอลกอฮอล์ หรือ
แลกเตต






รูปที่ 7.8 กระบวนการหมักแอลกอฮอล์และการหมักแลกเตต