เป็นระยะที่เริ่มขึ้นเมื่อเซนโทรเมียร์ที่ยึดโครมาทิดสองเส้นให้ติดกันเริ่มแยกออกจากกัน
อันการแยกจากกันนี้เป็นผลจากการทำงานของไมโครทูบูล การแยกกันของเซนโทรเมียร์ทำให้
ซีสเตอร์โครมาทิดแยกออกจากกันเพื่อเคลื่อนไปยังคนละขั้วของเซลล์





รูปที่ 1.20 การแบ่งเซลล์ระยะแอนาเฟส






          กลไกการแยกของซีสเตอร์โครมาทิด แบ่งออกเป็น 2 แบบ แต่ก็ล้วนเกิดจากการทำงาน
ของไมโครทูบูล 3 ชนิดที่ยืดยาวออกมาจากบริเวณเซนโทรโซม


       แบบที่หนึ่ง เกิดจากการการสั้นลงทางด้านปลายที่ยึดติดกับโครโมโซมของไคนีโทคอร์
ไมโครทูบูล
กับการเคลื่อนที่ของมอเตอร์โปรตีนที่มีชื่อว่า dynein บนไคนีโทคอร์ไมโครทูบูล
จากปลายด้านที่ยึดติดกับโครโมโซมไปยังปลายด้านที่อยู่ติดกับเซนโทรโซม



รูปที่ 1.21 การแบ่งเซลล์ระยะแอนาเฟส แบบที่หนึ่ง







       แบบที่สอง เกิดจากการเคลื่อนที่ของมอเตอร์โปรตีนที่มีชื่อว่า kinesin จากปลายด้าน
ที่เหลื่อมกันของโพลาร์ไมโครทูบูลไปยังปลายด้านที่อยู่ติดกับเซนโทรโซมทำให้ไมโครทูบูล
ที่ซ้อนเหลื่อมกันมากในตอนแรกเลื่อนออกจาก และซ้อนเหลื่อมกันน้อยลง พร้อมทั้งดันให้
เซนโทรโซมเคลื่อนห่างจากกันมากขึ้นจึงดึงให้ซีสเตอร์โครมาทิดแยกออกจากกัน
การเคลื่อนห่างออกจากกันของเซนโทรโซมยังเป็นผลมาจากการสั้นลงของ astral
microtubule และการเคลื่อนที่ของมอเตอร์โปรตีนจากปลายของ astral microtubule
ด้านเซนโทรโซมไปยังปลายด้านที่อยู่ติดกับเยื่อหุ้มเซลล์




รูปที่ 1.22 การแบ่งเซลล์ระยะแอนาเฟสแบบที่สอง







: ในกรณีของแอนาเฟสแบบที่หนึ่ง ถ้าไคนีโทคอร์ไมโครทูบูลไม่เกิดการสลาย
  ทางด้านปลายที่จับอยู่กับโครโมโซม คุณคิดว่าจะมีการเคลื่อนที่ออกจากกัน
  ของซีสเตอร์โครมาทิดหรือไม่