ประกอบด้วยระยะต่างๆ
เช่นเดียวกับไมโอซีส I และมีขั้นตอนคล้ายกับการแบ่งแบบ ไมโทซีสระยะต่างๆ ในไมโอซีส II ประกอบด้วย โพรเฟส II เกิดในลักษณะเดียวกับโพรเฟสของไมโทซีส คือมีการยืดยาวของไมโครทูบูล ชนิดต่างๆ ออกมาจากบริเวณของเซนโทรโซม ในขณะเดียวกันเยื่อหุ้มนิวเคลียส และนิวคลี โอลัสเริ่มสลาย โครโมโซมแต่ละแท่งถูกยึดด้วยไคนีโทคอร์ไมโครทูบูลที่ยืดยาวมาจากคนละ ขั้วเซลล์ พร้อมกับมีการดึงให้โครโมโซมมาเรียงอยู่ในแนวกลางเซลล์หรือเมทาเฟสเพลท ระยะที่โครโมโซมวางตัวอยู่ในเมทาเฟสเพลทนี้เรียกว่า เมทาเฟส II เมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะ แอนาเฟส II ซีสเตอร์โครมาทิดของโครโมโซมแต่ละแท่งจะถูกดึงให้แยกออกจากกันเพื่อไป อยู่คนละขั้วเซลล์ ซีสเตอร์โครมาทิดที่ถูกดึงให้แยกออกจากกันแล้วจะเรียกชื่อใหม่ว่า โครโมโซมลูก (daughter chromosome) ในระยะ เทโลเฟส II จะสังเกตเห็นโครโมโซม ลูกเคลื่อนที่มาถึงขั้วเซลล์แต่ละข้าง ในระยะนี้ไมโครทูบูลจะเริ่มสลายในขณะที่เยื่อหุ้ม นิวเคลียส และนิวคลีโอลัสเริ่มปรากฏให้เห็นอีกครั้ง สำหรับการแบ่งไซโทพลาซึมจะเกิดใน ลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเทโลเฟส I ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ |
|||||||||||
รูปที่ 1.34 ขั้นตอนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส II |
|||||||||||
เมื่อการแบ่งแบบไมโอซีสเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
จะได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ จากเซลล์ เริ่มต้น 1 เซลล์ โดยแต่ละเซลล์จะมีจำนวนชุดโครโมโซมเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์เริ่มต้น เซลล์ที่ได้จากการแบ่งทั้ง 4 เซลล์มีความแตกต่างกันทั้งในด้านองค์ประกอบของ สารพันธุกรรม และองค์ประกอบของไซโทพลาซึม ความแปรผันทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้น นอกจากจะมีสาเหตุมาจากการเกิด crossing-over ในระยะโพรเฟส I แล้วยังเป็นผลมาจาก การวางตัวในแบบต่างๆ ของฮอมอโลกัสโครโมโซมในระยะเมทาเฟส I ด้วย |
|||||||||||
รูปที่ 1.35 เซลล์ใหม่ 4 เซลล์จากการแบ่งตัวแบบไมโอซีส |
|||||||||||
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่า
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซีสเป็นการแบ่งเพื่อสร้าง เซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เซลล์สืบพันธุ์ผู้ และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ทั้ง 2 แบบนี้มีความคล้ายคลึงกันในแง่ของขั้นตอน การแบ่ง แต่ก็ยังมีหลายประเด็นที่มีความแตกต่างกันดังตาราง |
|||||||||||
|
|||||||||||