ระยะอินเตอร์เฟสของไมโอซีส
I มีขั้นตอนการเกิดคล้ายกับอินเตอร์เฟสของการแบ่ง แบบไมโทซีสแต่ใช้เวลาน้อยกว่ามาก เป็นระยะของการสร้างและสะสมวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับ การสังเคราะห์สารต่างๆ และออร์แกเนลล์ รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆ ของเซลล์ เพื่อเตรียมพร้อม สำหรับการแบ่งเซลล์ มีการการลอกแบบดีเอ็นเอเพื่อเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมในระยะ S (รายละเอียดเกี่ยวกับการลอกแบบดีเอ็นเอสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากเรื่องการแบ่งแบบ ไมโทซีส) ในระยะนี้สามารถสังเกตเห็นขอบเขตของนิวเคลียสได้ชัดเจนเนื่องจากเยื่อหุ้ม นิวเคลียส ยังไม่สลายนิวคลีโอลัสยังคงปรากฏให้เห็น ในไซโทพลาซึมมีการจำลองตัวของ เซนโทรโซมจากหนึ่งอันเป็นสองอัน ระยะนี้แม้จะไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของ นิวเคลียสได้อย่างชัดเจน แต่ก็เป็นระยะที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นระยะที่มีการเพิ่มปริมาณ สารพันธุกรรมขึ้นเป็นสองเท่า และมีกระบวนการเมแทบอลิซึมเกิดขึ้นมากที่สุด เมื่อสิ้นสุด ระยะอินเตอร์เฟสเซลล์จะมีปริมาณสารพันธุกรรมเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากเซลล์เริ่มต้นและจะมี ปริมาณเป็นสองเท่าไปจนถึงก่อนการแบ่งไซโทพลาซึมของไมโอซีส I |
|||
รูปที่ 1.28 ระยะอินเตอร์เฟสของการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส I |
|||
|
|||
ระยะนี้จะใช้เวลานานมาก
และเกิดซับซ้อนกว่าระยะโพรเฟสของไมโทซีส ในนิวเคลียส เส้นใยโครมาทินขดตัวมากขึ้นเป็นโครโมโซม แต่ยังไม่เห็นชัดเจนเหมือนในระยะเมทาเฟส I โครโมโซมแต่ละแท่งประกอบด้วยโครมาทิด 2 เส้น ติดกันอยู่ที่เซนโทรเมียร์ จากนั้นจะมีการ เข้าคู่กันของฮอมอโลกัสโครโมโซม เรียกกระบวนการเข้าคู่กันนี้ว่า ซิแนปซีส (synapsis) |
|||
รูปที่ 1.29 ระยะโพรเฟสของการแบ่งแบบไมโอซีส I |
|||
การที่ฮอมอโลกัสโครโมโซมมาเข้าคู่กันและยังคงแนบชิดกันอยู่ได้นั้นเป็นผลจาก การทำงานของโปรตีนที่มีชื่อว่า synaptonemal complex ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นกาว ผสานตลอดความยาวของนอน-ซีสเตอร์โครมาทิดของฮอมอโลกัสโครโมโซม การเข้าคู่กัน ทำให้ฮอมอโลกัสโครโมโซมแต่ละคู่อยู่ในสภาพเป็นกลุ่มที่มีโครมาทิด 4 เส้น เรียกสภาพนี้ว่า tetrad (tetra แปลว่า สี่) และการเข้ามาชิดกันนี้ทำให้โครมาทิดเกิดการพาดเกี่ยว (crossing) กันในบางจุด เรียกจุดที่เกิดการพาดเกี่ยวกันว่า chiasma ถ้ามีตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปจะเรียกว่า chiasmata โครโมโซมจะอยู่ในสภาพ tetrad ไปจนถึงก่อนระยะแอนาเฟส I การพาดเกี่ยวกัน ระหว่างนอน-ซีสเตอร์โครมาทิดนี้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมระหว่างกัน ในช่วงท้ายของระยะนี้โปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นตัวผสานฮอมอโลกัสโครโมโซมที่มาเข้าคู่กัน จะเริ่มสลายไป แต่ยังสามารถสังเกตเห็น crossing-over ได้ ในระหว่างนี้องค์ประกอบอื่นๆ ภายในเซลล์ก็จะมีการเตรียมพร้อมสำหรับการแบ่งนิวเคลียส เมื่อใกล้สิ้นสุดระยะนี้เยื่อหุ้ม นิวเคลียสเริ่มสลาย ทำให้ไมโครทูบูลบางส่วนยืดเข้ามาในบริเวณนิวเคลียส และจับกับ โครโมโซมตรงไคนีโทคอร์ของโครมาทิดแต่ละแท่ง ไคนีโทคอร์ของซีสเตอร์โครมาทิดจะถูก ยึดด้วยไมโครทูบูลที่ยืดยาวมาจากเซนโทรโซมที่มาจากขั้วเดียวกันของเซลล์ ส่วนไคนีโทคอร์ ของนอน-ซีสเตอร์โครมาทิดจะถูกยึดด้วย ไมโครทูบูลที่ยืดยาวมาจากเซนโทรโซมที่มาจากคน ละขั้วของเซลล์ ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ในระยะแอนาเฟส I เป็นการแยกกันของฮอมอโลกัส โครโมโซมเท่านั้น |
|||
รูปที่ 1.30 ขั้นตอนต่างๆของระยะโพรเฟส I |
|||
|
|||
มีลักษณะการเกิดเหมือนกับระยะเมทาเฟสของการแบ่งแบบไมโทซีส
แต่ต่างกันที่ โครโมโซมที่จัดวางตัวอยู่บริเวณเมทาเฟสเพลท กล่าวคือระยะเมทาเฟสของการแบ่งแบบ ไมโทซีส โครโมโซมที่อยู่ตรงกลางเป็นโครโมโซมแท่งเดียวแต่มี 2 โครมาทิด ในขณะที่ เมทาเฟส I ของไมโอซีสโครโมโซมที่อยู่ตรงกลางเป็นฮอมอโลกัสโครโมโซมที่อยู่ในสภาพ tetrad (มี 4 โครมาทิด) |
|||
รูปที่ 1.31 ระยะเมทาเฟส I ของการแบ่งแบบไมโอซีส I |
|||
|
|||
เป็นระยะที่ฮอมอโลกัสโครโมโซมแต่ละคู่ถูกดึงให้แยกออกจากกัน
ไปยังคนละขั้วของ เซลล์ โดยการทำงานร่วมกันระหว่างไมโครทูบูลชนิดต่างละมอเตอร์โปรตีน ระยะแอนาเฟส I ของไมโอซีสจะเกิดในลักษณะที่ต่างไปจากระยะแอนาเฟสของไมโทซีส กล่าวคือในไมโทซีส แอนาเฟสจะเป็นการดึงซีสเตอร์โครมาทิดของโครโมโซมแต่ละแท่งให้แยกออกจากกัน แต่ใน ไมโอซีส I เป็นการแยกฮอมอโลกัสโครโมโซมออกจากกัน ดังนั้นโครโมโซมที่ถูกดึงให้แยก ออกจากกันจึงยังอยู่ในสภาพ 1 โครโมโซมที่มี 2 โครมาทิด |
|||
รูปที่ 1.32 ระยะแอนาเฟส ของการแบ่งแบบไมโอซีส |
|||
|
|||
ฮอมอโลกัสโครโมโซมที่ถูกดึงให้แยกออกจากกันในระยะแอนาเฟส
I จะเคลื่อนไปอยู่ คนละขั้วของเซลล์ ดังนั้นที่แต่ละขั้วของเซลล์ในระยะเทโลเฟส I จะมีจำนวนชุด ของโครโมโซมเหลือเพียง 1 ชุด (n) และโครโมโซมแต่ละแท่งจะยังมีซีสเตอร์โครมาทิด 2 อัน ชุดโครโมโซมที่อยู่คนละขั้วของเซลล์จะถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มนิวเคลียสที่สร้างขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดเป็นนิวเคลียสใหม่ 2 อัน ในนิวเคลียสแต่ละอันจะปรากฏให้เห็นโครงสร้างของ นิวคลีโอลัสชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เซลล์ 1 เซลล์มีนิวเคลียสเพียงอันเดียว ดังนั้นกระบวนการ ที่เกิดต่อจากระยะเทโลเฟส I คือกระบวนการแบ่งไซโทพลาซึมเมื่อไมโอซีส I เกิดขึ้นอย่าง สมบูรณ์จะทำให้ได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์แต่ละเซลล์มีจำนวนชุดโครโมโซมเหลือเพียง 1 ชุด แต่ในหนึ่งชุดนี้ยังคงมีสารพันธุกรรมเป็น 2 เท่า |
|||
รูปที่ 1.33 ระยะเทโลเฟส I ของการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส I |
|||
เป็นระยะสั้นๆ
ที่คั่นระหว่างไมโอซีส I และไมโอซีส II มีการสังเคราะห์สารที่จำเป็น สำหรับการแบ่งเซลล์ แต่ไม่มีการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมอีก |
|||
|
|||