คุณเคยสังเกตเห็นการถ่ายทอดลักษณะปรากฏที่ให้ลักษณะกึ่งกลางระหว่างพ่อกับแม่
หรือไม่ ดังนั้น กฎของเมนเดลยังมีความถูกต้องหรือไม่?

       กฏทั้งสองข้อถูกยังมีความต้องเสมอในเรื่องการแยกเพียงแค่ไม่ให้สัดส่วนลักษณะ
ปรากฏของลูกที่สอดคล้องกับการทดลองของเมนเดลปัจจุบันเรารู้ว่าการแยกเกิดจาก
การแยกของยีนบนโครโมโซม

        การทดลองของเมนเดลให้ลูกที่มีลักษณะปรากฏเหมือนพ่อหรือเหมือนแม่ไปเลย
เพราะการข่มเป็นแบบสมบูรณ์ แต่บางลักษณะการข่มเป็นแบบไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้ลูก
มีลักษณะกึ่งกลางระหว่างพ่อกับแม่ เช่น การถ่ายทอดลักษณะสีดอกของดอกลิ้นมังกร


การข่มไม่สมบูรณ
์ (incomplete dominant)



รูปที่ 2.9 แสดงการผสมดอกลิ้นมังกร


การถ่ายทอดลักษณะสีดอกของดอกลิ้นมังกร

          ดอกสีชมพู (heterozygous) มีรงควัตถุสีแดงน้อยกว่าดอกสีแดง (homozygous)
เนื่องจากทั้งยีนที่ควบคุมการสร้างรงควัตถุสีแดงและยีนที่ควบคุมการสร้างรงควัตถุสีขาว
ต่างก็แสดงออกเท่าๆกันทำให้สีแดงถูกเจือจาง ต่างจากการถ่ายทอดลักษณะดอกสีม่วงของ
ถั่วลันเตาที่เมนเดลศึกษา




รูปที่ 2.10 แสดงการผสมถั่วลันเตาดอกสีม่วง



ลักษณะดอกสีม่วงที่มีพันธุกรรมแบบ Pp
(heterozygous)

         สร้างรงควัตถุสีม่วงเพียงพอที่จะทำให้แยกไม่ออกระหว่างดอกสีม่วงที่มีพันธุกรรมแบบ
PP และ Pp แต่การข่มแบบไม่สมบูรณ์ก็ไม่ได้เป็นไปตามสมมติฐานการผสมเพราะถ้าเป็น
เช่นนั้นผลจากการผสมจะให้สีชมพูจางลงเรื่อยในลูกรุ่นต่อๆมา แต่ความเป็นจริงคือ
ลักษณะดอกสีแดงและสีขาวกลับมาปรากฏอีกครั้ง รวมทั้งสีชมพูที่ไม่ได้จางลงเป็นครึ่งหนึ่ง
ของ ลูกรุ่นที่ 1(F1) ในลูกรุ่นที่ 2 (F2)