กฏการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดลใช้หลักการพื้นฐานของกฏ
ความน่าจะเป็น
         ช่วงความน่าจะเป็น คือ 0-1 เมื่อ 0 คือ เหตุการณ์ที่ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย และ 1 คือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่ๆ และผลจากการเกิดเหตุการณ์ครั้งแรกไม่ส่งผลต่อการเกิดเหตุการณ์
ครั้งต่อมา

         

ลองทำดู

 


         ในการโยนเหรียญบาท 100 เหรียญ พร้อมกัน 1 ครั้ง แล้วจัดเข้าตารางที่มี 50 ช่อง
อย่างสุ่ม โดยให้แต่ละช่องมี 2 เหรียญ จะพบว่ามีอัตราส่วน หัวหัว : หัวก้อย : ก้อยก้อย
ประมาณ 1: 2 : 1 และในช่องที่อยู่ติดกันจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่มีแบบแผนตายตัว คือเป็นอิสระต่อกันนั่นเอง (ดูวีดีโอ) ซึ่งในวีดีโอจะได้ หัวหัว : หัวก้อย : ก้อยก้อย 13 : 22 : 15





กฏการคูณ
(rule of multiplication)


         ถ้ามีเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ ซึ่งต่างก็เป็นเหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกัน ความน่าจะเป็น
ที่จะเกิดเหตุการณ์ทั้งสองนั้นพร้อมๆกัน จะมีค่าเท่ากับผลคูณของความน่าจะเป็นของแต่ละ
เหตุการณ์ เช่น การโยนเหรียญแต่ละครั้งมีโอกาสออกหัว 1/2 และมีโอกาสออกก้อย 1/2
ดังนั้นความน่าจะเป็นที่เหรียญ 2 เหรียญที่โยนพร้อมกันจะขึ้นหัว เท่ากับ 1/2 * 1/2 = 1/4



กฏการบวก
(rule of addition)


         ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งในครั้งหนึ่งนั้นจะมีค่าเท่ากับ
ผลบวกของความน่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์นั้น เช่น ในการโยนเหรียญ 2
เหรียญ 1ครั้ง พร้อมกัน (ดังรูป) ความน่าจะเป็นที่เหรียญหนึ่งขึ้นหัวและอีกเหรียญขึ้นก้อย
1/4 + 1/4 = 1/2
 
        เมื่อความน่าจะเป็นไม่มีการบันทึกความจำไว้ ในการให้กำเนิดลูกครั้งหนึ่งๆ
เป็นอิสระต่อการให้กำเนิดในครั้งต่อๆไปถ้า XX คือเพศหญิง และ XY คือเพศชาย
และเป็นไปตามกฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดล ลูกได้รับ X จากแม่
และ X หรือ Y จากพ่อ หากคู่สมรสคู่หนึ่งวางแผนจะมีลูก 4 คน ทั้งคู่จะมีโอกาสมีลูกสาว
และลูกชายอย่างละกี่คน?

 
     ถ้าเป็นการผสมพันธุ์ถั่วลันเตาตามแบบเมนเดลโดยพิจารณา 3 ลักษณะ (trihybrid cross) คือ PpYyRr กับ PpYyRr เราสามารถคิดทำนายความน่าจะเป็นที่จะได้ลูกที่มีพันธุกรรม
PpyyRr ได้เร็วกว่าการเติม punnett square ลองคิดซิ ว่าทำนายอย่างไร และความน่าจะเป็น
มีค่าเท่าไร?