![]() |
|||
![]() |
|||
จากที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่า กระบวนการเริ่มต้นที่จะนำข้อมูลทางพันธุกรรมที่เก็บ |
|||
![]() รูปที่ 3.2 เปรียบเทียบความหมายของtranscription และtranslation |
|||
การคัดลอกดีเอ็นเอหรือการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอทั้งในโปรแคริโอตและยูแคริโอต
เป็น กระบวนการที่เกิดขึ้นแบบเลือก หมายความว่า จะมีเพียงบางส่วนของลำดับนิวคลีโอไทด์ บนสายดีเอ็นเอเท่านั้นที่จะถูกคัดลอกเพื่อสังเคราะห์เป็นอาร์เอ็นเอ และสำหรับในยูแคริโอต จะมีเพียงบางส่วนของลำดับนิวคลีโอไทด์บนสายอาร์เอ็นเอ (ที่สังเคราะห์ขึ้นในตอนแรก) เท่านั้นที่จะเข้าสู่กระบวนการแปลรหัสเพื่อสังเคราะห์เป็นโปรตีน ข้อมูลข้างต้นนี้ชี้ให้เห็นว่า สายอาร์เอ็นเอที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นในตอนแรกจะถูกปรับแต่ง (modified) ในบางส่วนก่อนที่จะนำ ไปเป็นแม่แบบในการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในลำดับต่อไป |
|||
อาร์เอ็นเอที่สังเคราะห์ขึ้นและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปมี
3 ชนิด ได้แก่ messenger RNA (mRNA) ribosomal RNA (rRNA) และ transfer RNA (tRNA) อาร์เอ็นเอทั้ง 3 ชนิดนี้มี หน้าที่แตกต่างกันออกไปกล่าวคือ mRNA ทำหน้าที่เป็นแม่แบบสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน rRNA ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของไรโบโซม และ tRNA มีหน้าที่ในการนำกรดอะมิโนอิสระ เข้ามาต่อกันในขั้นตอนของการสังเคราะห์โปรตีน แม้ว่าจะมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน อาร์เอ็นเอทั้ง 3 ชนิดนี้ก็ยังต้องทำงานร่วมกันอย่างเป็นขบวนการ ทั้งนี้เพื่อให้การสังเคราะห์ โปรตีนเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ |
|||
เช่นเดียวกับการลอกแบบเพื่อสังเคราะห์ดีเอ็นเอเส้นใหม่ การคัดลอกดีเอ็นเอเพื่อสร้าง เป็นอาร์เอ็นเอนั้นจำเป็นจะต้องมีการง้างเกลียวของสายดีเอ็นเอเกลียวคู่ให้แยกออกจากกัน และใช้หลักการของการเกิดเบสคู่สม (complementary) ดังนั้นลำดับเบสบนสายอาร์เอ็นเอ จะมีลักษณะเป็นคู่สมกันกับลำดับเบสบนดีเอ็นเอสายแม่แบบ แต่การสังเคราะห์อาร์เอ็นเอ จะใช้ไรโบนิวคลีโอไทด์เป็นสับสเตรท ในขณะที่การสังเคราะห์ดีเอ็นเอสับสเตรทที่ใช้คือ ดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์ นอกจากนี้การเริ่มต้นของการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอยังไม่มี ความจำเป็นที่จะต้องใช้ไพรเมอร์ (primer) ทั้งนี้เนื่องจากเอ็นไซม์ที่สำคัญที่ใช้ในกระบวนการ สังเคราะห์อาร์เอ็นเอที่ชื่อว่า อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรส (RNA polymerase) มีความสามารถ ที่จะเริ่มทำงานได้เอง ซึ่งคุณสมบัตินี้ไม่พบในเอ็นไซม์ดีเอ็นเอโพลีเมอเรส (DNA polymerase) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ |
|||
![]() |
|||
|
|||
![]() |
|||
ในการคัดลอกดีเอ็นเอเพื่อสร้างเป็นอาร์เอ็นเอทั้งในโปรแคริโอต
และยูแคริโอต สิ่งจำเป็นเบื้องต้นที่จะต้องมีได้แก่ สายดีเอ็นเอ เอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรส โปรตีนที่ช่วย ในการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอ และไรโบนิวคลีโอไทด์ซึ่งทำหน้าที่เป็นสับสเตรท ในส่วนของ สายดีเอ็นเอนั้นเบื้องต้นอยู่ในสภาพสายคู่ที่พันกันเป็นเกลียว เมื่อถูกง้างเกลียวออกในช่วงที่มี การสังเคราะห์อาร์เอ็นเอจะใช้สายใดสายหนึ่งเป็นแม่แบบซึ่งสายที่ถูกใช้เรียกว่า เทมเพลท (template) ส่วนอีกสายหนึ่งที่ไม่ได้ใช้เป็นแม่แบบเรียกว่า coding ซึ่งอาร์เอ็นเอที่ สังเคราะห์ได้จะมีลำดับเบสคล้ายกับลำดับเบสบนสาย coding เพียงแต่เปลี่ยนจากเบส T เป็นเบส U เท่านั้น |
|||
![]() |
|||
รูปที่ 3.3 การสร้าง RNA จาก DNA สายแม่แบบ ![]() |
|||
|
|||
![]() |
|||
นอกจากประเด็นของการเป็นแม่แบบแล้ว
สิ่งหนึ่งบนสายดีเอ็นเอที่มีความสำคัญต่อ การคัดลอกดีเอ็นเอเพื่อสร้างเป็นอาร์เอ็นเอได้แก่ โปรโมเตอร์ (promoter) ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่จะให้เอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสมาจับเพื่อที่จะเริ่มต้นสังเคราะห์อาร์เอ็นเอต่อไป ในแบคทีเรียชนิด Escherichia coli ซึ่งจัดเป็นโปรแคริโอตชนิดหนึ่ง จะมีโปรโมเตอร์ประกอบ ไปด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ 2 ชุดๆ ละ 6 นิวคลีโอไทด์ ดังภาพ |
|||
|
|||
จากภาพถ้ากำหนดให้ตำแหน่งที่จะเริ่มการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอ
(transcription start site) มีสัญลักษณ์เป็น +1 นิวคลีโอไทด์ชุดแรกของโปรโมเตอร์จะอยู่ห่างจาก ตำแหน่งนี้ออกไปทางด้าน 3' (ด้านที่อยู่ก่อนที่จะถึงตำแหน่งที่จะเริ่มการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอ) ของสายแม่แบบ 10 คู่เบส ให้สัญลักษณ์ของตำแหน่งนี้เป็น -10 (- เป็นสัญลักษณ์ว่าอยู่ด้านที่ อยู่ก่อนที่จะถึงตำแหน่งที่จะเริ่มการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอ ส่วน 10 เป็นสัญลักษณ์ของระยะห่าง จากตำแหน่งที่จะเริ่มการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอ) นิวคลีโอไทด์ชุดที่สองของโปรโมเตอร์จะอยู่ที่ ตำแหน่ง -35 ลำดับเบสในนิวคลีโอไทด์ทั้งสองชุดของโปรโมเตอร์ของยีนที่ต่างกันจะคล้ายกัน มาก (อาจมีการสลับตำแหน่งกันบ้างเท่านั้น) แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีลำดับดังแสดงไว้ใน รูปที่ 3.3 |
|||
สำหรับโปรโมเตอร์ของยีนในพวกยูแคริโอต
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตาม การทำงานของเอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสทั้ง 3 ชนิด โดยโปรโมเตอร์ที่สำคัญของยีนที่ถูก คัดลอกโดยเอ็นไซม์ RNA polymerase II มีชื่อเรียกว่า TATA box (เพราะมีลำดับเบสเป็น TATAA) มีตำแหน่งอยู่ที่ -25 ถึง -30 ของตำแหน่งที่จะเริ่มการสังเคราะห์ mRNA โดย TATA box หากเปรียบไปแล้วก็คงมีศักดิ์เทียบเท่ากับตำแหน่งโปรโมเตอร์ที่ -10 ของ E. coli นั่นเอง สำหรับโปรโมเตอร์ของยีนที่ถูกคัดลอกโดยเอ็นไซม์ RNA polymerase I จะครอบคลุมพื้นที่ ตั้งแต่ตำแหน่งที่จะเริ่มการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอไปจนถึงตำแหน่ง -150 ส่วนโปรโมเตอร์ของยีน ที่ถูกคัดลอกโดยเอ็นไซม์ RNA polymerase III ส่วนใหญ่จะมีลำดับนิวคลีโอไทด์อยู่ใน ส่วนต้นของยีนที่จะถูกคัดลอกนั่นเอง |
|||
![]() |
|||
|
|||
![]() |
|||
ในส่วนของเอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรส
ซึ่งมีหน้าที่ในการคัดลอกดีเอ็นเอเพื่อ สังเคราะห์เป็นสายอาร์เอ็นเอโดยการนำนิวคลีโอไทด์ตัวใหม่เข้าไปต่อที่ปลายด้าน 3' ของสายอาร์เอ็นเอ (ทำให้โมเลกุลของอาร์เอ็นเอยืดยาวออกไปในทิศ 5' ไป 3') นั้นมี ความแตกต่างกันทั้งในด้านองค์ประกอบของโครงสร้าง และคุณสมบัติระหว่างของ โปรแคริโอต และยูแคริโอต จึงแยกอธิบายดังนี้ เอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสใน โปรแคริโอตมีอยู่เพียงชนิดเดียว ประกอบขึ้นด้วยโพลีเพปไทด์หลายสาย และมีหน่วยย่อย (subunit) ที่ต่างกัน 5 หน่วย ได้แก่ ![]() ด้วยสีเขียวและสีเขียวอ่อน), ![]() ![]() ![]() ![]() |
|||
![]() รูปที่ 3.4 เอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสในโปรแคริโอต |
|||
โดยหน่วยย่อย
![]() หน่วยย่อยอื่นได้ภายหลังจากที่มีสังเคราะห์อาร์เอ็นเอไปได้ประมาณ 8-10 นิวคลีโอไทด์ เมื่อหน่วยย่อยนี้หลุดออกไป เอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสยังคงทำหน้าที่ต่อไปได้อย่างปกติ จึงเป็นการชี้ให้เห็นว่า หน่วยย่อย ![]() เอ็นไซม์ชนิดนี้ อย่างไรก็ตามพบว่า เอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสจะไม่สามารถจับกับ สายดีเอ็นเอตรงตำแหน่งที่จำเพาะที่เรียกว่า โปรโมเตอร์ได้หากปราศจากความช่วยเหลือ ของหน่วยย่อย ![]() ![]() ของลำดับเบสที่ถูกต้อง เพื่อนำพาเอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสมาจับกับสายดีเอ็นเอ เพื่อเริ่มต้นการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอต่อไป |
|||
ในส่วนของเอ็นไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสในยูแคริโอต
นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด แต่ละ ชนิดทำหน้าที่ในการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอต่างชนิดกัน กล่าวคือ RNA polymerase I ทำหน้าที่ ในการสังเคราะห์ rRNA (5.8S, 18S, 28S) RNA polymerase II ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ mRNA และ RNA polymerase III ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ tRNA และ rRNA (5S) (ค่า S ของ rRNA แปรผันตรงกับขนาดของ rRNA หมายความว่าค่า S ยิ่งมากrRNA ยิ่งมี ขนาดใหญ่นั่นเอง) เอ็นไซม์ทั้ง 3 ชนิดนี้ประกอบขึ้นด้วยหน่วยย่อย 12-17 หน่วย เอ็นไซม์ อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสในยูแคริโอต จะไม่สามารถไปจับกับสายดีเอ็นเอได้โดยตรงเหมือนเช่น ในโปรแคริโอต แต่จำเป็นจะต้องอาศัยความช่วยเหลือของโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็น ทรานสคริปชันแฟคเตอร์ (transcription factor) อีกหลายตัว ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียด ในลำดับต่อไป |
|||
ในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
(mammalian cell) โดยปกติจะมีเอ็นไซม์ อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสแต่ละชนิดอยู่ประมาณ 20,000 ถึง 40,000 โมเลกุล โดยปริมาณของ เอ็นไซม์นี้จะถูกควบคุมให้มีความสัมพันธ์กับอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ |
|||
![]() |
|||
|
|||
![]() |
|||