ในยูแคริโอต ไรโบโซมถูกสร้างโดยยีน rRNA บนโครโมโซมถูกลอกรหัสผ่านกระบวนการ
ตกแต่ง RNA และรวมกับโปรตีนจนได้หน่วยย่อยของไรโบโซม เซลล์ทุกเซลล์มีไรโบโซมซึ่งมี
สองหน่วยย่อยเรียกว่าหน่วยย่อยใหญ่และหน่วยย่อยเล็ก และมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะสังเกต
เห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ทั้งในโปรแคริโอตและยูแคริโอตไรโบโซมหน่วยย่อย
ใหญ่และหน่วยย่อยเล็กรวมกันเพื่อเป็นไรโบโซมที่ทำงานได้เมื่อมาจับกับโมเลกุลของ mRNA
เพราะเซลล์ทุกเซลล์มีเป็นพันไรโบโซมดังนั้น rRNA จึงเป็น RNA ชนิดที่มีจำนวนมากที่สุด



       โครงสร้างของไรโบโซม



รูปที่ 3.19  การเปรียบเทียบส่วนประกอบของไรโบโซมของแบคทีเรีย
และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

            จากรูปจะเห็นว่าทั้งไรโบโซมของแบคทีเรียและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอนุภาค
ไรโบนิวคลีิโอโปรตีนซึ่งมี RNA เป็นส่วนประกอบอยู่มากกว่าโปรตีน

รูปที่ 3.20 โครงร่างของไรโบโซมหน่วยย่อยเล็ก (30 S)


รูปที่  3.21 โครงร่างของไรโบโซมหน่วยย่อยใหญ่ (50 S)


รูปที่ 3.22 บริเวณสัมผัสของไรโบโซมหน่วยย่อยเล็ก
ที่ฟิตพอดีกับร่องของหน่วยย่อยใหญ่

           ไรโบโซมหน่วยย่อยเล็กมีการกระจายที่ไม่เท่ากันของ RNA และโปรตีน บริเวณที่
ไรโบโซมหน่วยย่อยเล็กสัมผัสกับหน่วยย่อยใหญ่ประกอบด้วย RNA เกือบทั้งหมด มีโปรตีน
เพียง 2 ชนิด (S7 และ S12) เรียงตัวอยู่ที่ผิวหน้า การติดกันของหน่วยย่อยของไรโบโซม
เกิดขึ้นจาก 16 S และ 23 S rRNA






รูปที่ 3.23 บริเวณที่สัมผัสกันของหน่วยย่อยของไรโบโซม


          โครงสร้างระดับ 4 ของไรโบโซมมีส่วนที่จับกับ mRNA และ tRNA ได้ ตำแหน่ง P
(peptidyl-tRNA site, P site) ให้ tRNA ที่มีกรดอะมิโนที่มีพันธะเป็ปไทด์หรือมีกรดอะมิโน
หลายตัวที่เกาะกันด้วยพันธะเป็ปไทด์เข้ามาจับ ตำแหน่ง A (aminoacyl-tRNA site, A site)
ให้ tRNA ที่นำกรดอะมิโนตัวถัดมาเพียงหนึ่งตัวที่จะถูกเติมเข้าสายโซ่ต่อไปเข้ามาจับ และ
ตำแหน่ง E (exit site, E site) เป็นตำแหน่งที่ tRNA ที่ไม่มีกรดอะมิโนติดอยู่ออกจาก
ไรโบโซม






รูปที่ 3.24 ไรโบโซม (70 S) กับตำแหน่งของ tRNA ในสามตำแหน่งจับ



หน้าที่ของไรโบโซม

          ไรโบโซมทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเข้าคู่ของแอนติโคดอนของ tRNA กับ
โคดอนของ mRNA ในระหว่างการสังเคราะห์โปรตีน จำโคดอนเริ่มต้นและโคดอนหยุด
บนสาย mRNA และเร่งปฏิกิริยาการสร้างพันธะเป็ปไทด์โดยความช่วยเหลือของเอ็นไซม์คล้าย
เครื่องจักรเย็บผ้าที่เชื่อมกรดอะมิโนเข้าเป็นสายโพลีิเป็ปไทด์

          ไรโบโซมหน่วยย่อยเล็ก (40 S) ของยูแคริโอตทำหน้าที่หาตำแหน่งเริ่มต้น คือโคดอน
AUG บน mRNA ในการที่จะเริ่มต้นการสังเคราะห์สายโพลีเป็ปไทด์โดยจับทางปลาย 5' ของ
mRNA ส่วนหน่วยย่อยใหญ่มีกลไกที่ทำหน้าที่สร้างพันธะเป็ปไทด์เชื่อมกรดอะมิโนเป็น
สายโพลีเป็ปไทด์์

          แม้ว่าไรโบโซมของโปรแคริโอตและยูแคริโอตจะคล้ายกันมากทั้งโครงสร้างและหน้าที่ ไรโบโซมของยูแคริโอตใหญ่กว่าไรโบโซมของแบคทีเรียนิดหน่อยและต่างกันบ้างในส่วน
ประกอบทางโมเลกุล ความแตกต่างมีความสำคัญทางการแพทย์ กล่าวคือ ยาต้านแบคทีเรีย
เช่น เตตร้าไซคลิน และ สเตร็ปโตมัยซิน ที่ถูกใช้เพื่อยับยั้งการติดเชื้อแบคทีเรียสามารถยับยั้ง
ความสามารถของไรโบโซมของโปรแคริโอตในการที่จะสร้างโปรตีน