![]() |
|
ขั้นเริ่มต้นของการแปลรหัส
เป็นการรวม mRNA RNAที่นำกรดอะมิโนตัวแรกของสาย โพลีเป็ปไทด์ และหน่วยย่อยทั้งสองของไรโบโซม แฟกเตอร์ต่างๆที่ช่วยเริ่มกระบวนการ แปลรหัส และ ต้องการพลังงานจากการสลายโมเลกุล GTP |
|
ขั้นเริ่มการสังเคราะห์โปรตีนในไซโทพลาสซึมของยูแคริโอตคล้ายกับกระบวนการที่เกิด |
|
ในโปรแคริโอต
ไรโบโซมหน่วยย่อยเล็กจับตำแหน่งเริ่มต้นบน mRNA โดยตรง |
|
ในยูแคริโอต
ไรโบโซมหน่วยย่อยเล็กจำปลาย 5' ที่มีการเติมหมู่เมธิลของ mRNA ก่อน แล้วจึงเคลื่อนที่ไปสู่ตำแหน่งเริ่มต้น |
|
ขั้นเริ่มต้นเริ่มขึ้นเมื่อไรโบโซมหน่วยย่อยเล็กจับกับ
mRNA แล้วมี tRNA ตัวแรกที่นำ กรดอะมิโนเมไธโอนีนเข้ามาโดยเอาแอนติโคดอนประกบกับโคดอนเริ่มต้น AUG บน mRNA แล้วไรโบโซมหน่วยย่อยใหญ่เข้ามาประกบ โคดอนเริ่มต้น AUG ส่งสัญญาณเริ่มต้นการแปล รหัส เมื่อเสร็จสิ้นขั้นเริ่มต้น tRNA ตัวเริ่มต้นจะอยู่ที่ตำแหน่ง P ของไรโบโซม และตำแหน่ง A ที่ว่างอยู่ก็พร้อมสำหรับอะมิโนเอซิล tRNA ตัวถัดไป การสร้างสายโพลีเป็ปไทด์เริ่มขึ้นที่ปลาย อะมิโน (amino end) และสายโพลีเป็ปไทด์ถูกสร้างจากปลายอะมิโนไปสู่ปลายคาร์บอกซิล |
|
รูปที่ 3.25 แสดงการส่องกราดของไรโบโซมหน่วยย่ิอยเล็ก (scanning model) |
|
scaning
model อธิบายการเข้าจับสาย mRNA ของไรโบโซมหน่วยย่อยเล็ก (40 S) ที่ปลาย 5' ก่อน แล้วจึงเคลื่อนย้ายไปตามสาย mRNA จนกว่าจะพบโคดอนเริ่มต้น AUG (ปกติแล้ว AUG แรกที่พบจะเป็นโคดอนเริ่มต้น) จึงจะหยุดรอให้ tRNA และไรโบโซม หน่วยย่ิอยใหญ่เข้ามาประกอบเพิ่ม |
|
รูปที่ 3.26 สรุปขั้นเริ่มต้น และ แสดงแฟกเตอร์ต่างๆ์ที่ช่วยเริ่มกระบวนการแปลรหัส |
|
ในยูแคริโอต
ขั้นเริ่มต้นแฟกเตอร์ elF2 และ elF3 จับไรโบโซมหน่วยย่อยเล็ก (40 S) ขณะที่ elF4A, elF4B, elF4F จับ mRNA ก่อนที่ไรโบโซมจะจับตำแหน่งเริ่มต้นของ mRNA ส่วน elF1 และ elF1A จับไรโบโซมที่จับกันกับ mRNA เรียบร้อยแล้ว |
|