ขั้นหยุด เป็นขั้นตอนหยุดการสร้างสายโพลีเป็ปไทด์โดยอาศัยโคดอนหยุด
(stop codon) และตัวปลดปล่อย หรือ รีลีสซิงแฟกเตอร์ (releasing factor, RF) เมื่อตำแหน่ง
A ของไรโบโซมเคลื่อนที่มาถึงโคดอนหยุด (UAA, UAG, UGA) จะไม่มีtRNA ตัวใดนำ
กรดอะมิโนเข้ามาต่อสายโพลีเป็ปไทด์ และโดยอาศัยการช่วยเหลือของรีลีสซิงแฟกเตอร์
ที่มาจับกับโคดอนหยุดโดยตรงที่ตำแหน่ง A รีลีสซิงแฟกเตอร์ ทำให้เกิดการเติมโมเลกุล
ของน้ำต่อสายโพลีเป็ปไทด์แทนกรดอะมิโน จึงเกิดการปลดสายโพลีเป็ปไทด์ออกพร้อมทั้ง
ปลดปล่อย mRNA และไรโบโซมออกจากกัน


       ข้อควรจำ


       1 โคดอนหยุดถูกจำโดยโปรตีนรีลีสซิงแฟกเตอร์ ไม่ใช่โดยอะมิโนเอซิลทีอาร์เอ็นเอ
       2 โครงสร้างของรีลีสซิงแฟกเตอร์กลุ่มที่ 1 คล้าย aminoacyl-tRNA.EF-Tu และ EF-G



        รีลีสซิงแฟกเตอร์กลุ่มที่ 1ของยูแคริโอต คือ eRF1 เป็นโปรตีนตัวเดียวที่จำโคดอนหยุด
ทั้งสามตัว






รูปที่  3.30 แสดงรีลีสซิงแฟกเตอร์ (eRF1) ซึ่งคล้ายโครงสร้างของ tRNA


         โคดอนหยุดถูกจำโดยรีลีสซิงแฟกเตอร์กลุ่มที่ 1 ใน E. coli RF1 จำโคดอน UAA และ
UAG ส่วน RF2 จำ UGA และ UAA แฟคเตอร์เหล่านี้ทำหน้าที่ที่ตำแหน่ง A ในขณะที่มี
ทีอาร์เอ็นเอที่มีสายโพลีเป็ปไทด์ติดอยู่อยู่ในตำแหน่ง P


รูปที่  3.31 แสดงขั้นหยุด

         รีลีสซิงแฟกเตอร์กลุ่มที่ 2 เป็นโปรตีนที่มี GTP จับอย่างไม่จำเพาะเจาะจงกับโคดอน
ใน E. coli บทบาทของ รีลีสซิงแฟกเตอร์กลุ่มที่ 2 คือเพื่อปล่อย รีลีสซิงแฟกเตอร์กลุ่มที่ 1
จากไรโบโซม

        รีลีสซิงแฟกเตอร์กลุ่มที่ 1 RF1 และ RF2 จำโคดอนหยุดและกระตุ้นไรโบโซมให้สลาย
เป็ปติดิลทีอาร์เอ็นเอ การตัดโพลีเป็ปไทด์จาก tRNA เกิดขึ้นโดยปฏิกิริยาเหมือนกับการขนย้าย
เป็ปไทด์ยกเว้นตัวรับคือน้ำแทนที่จะเป็นอะมิโนเอซิลทีอาร์เอ็นเอ



รูปที่ 3.32 แสดงการเปรียบเทียบการถ่ายทอดอิเล็กตรอนระหว่างขั้นต่อสายและขั้นหยุด


         จากรูป ในขั้นต่อสาย อิเล็กตรอนจากไนโตรเจน (N) วิ่งมาที่พันธะระหว่างคาร์บอน (C)
กับออกซิเจน (O) ทำให้พันธะระหว่าง C กับ O แตกออก แล้วการสร้างพันธะเป็ปไทด์ระหว่าง
C กับ N จึงเกิดขึ้นส่วนในขั้นหยุด QGG คือ หมู่กลูตามิกที่ทำให้สายโพลีเป็ปไทด์หลุดที่
ตำแหน่ง P