เป็นขั้นตอนต่อสายโพลีเป็ปไทด์ให้ยาวขึ้นเมื่อไรโบโซมเคลื่อนที่ผ่าน mRNA โดยมี
แฟกเตอร์และเอ็นไซม์เป็ปติดิลทรานสเฟอเรส (peptidyl transferase) เชื่อมกรดอะมิโน
โดยสร้างพันธะเป็ปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลของสายโพลีเป็ปไทด์ที่่ตำแหน่ง P กับหมู่
อะมิโนของกรดอะมิโนที่ตำแหน่ง A ทำให้เกิดสายโปรตีนยาวขึ้นเรื่อยๆ


       ขั้นต่อสายเกิดขึ้นใน 3 ขั้นตอน

        1. โคดอนของ mRNA ในตำแหน่ง A ของไรโบโซมสร้างพันธะไฮโดรเจนกับ
แอนติโคดอนของโมเลกุล tRNA ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ที่นำกรดอะมิโนมา  แฟกเตอร์ที่ช่วย
ในการต่อสายชี้นำ tRNA ไปยังตำแหน่ง A ขั้นตอนนี้ต้องการพลังงานจากการสลายโมเลกุล
GTP

       2. การสร้างพันธะเป็ปไทด์ โดยโมเลกุล rRNA บนหน่วยย่อยใหญ่ของไรโบโซม
ทำหน้าที่เป็นเอ็นไซม์เร่งการสร้างพันธะเป็ปไทด์เชื่อมสายโพลีเป็ปไทด์ขยายไปจากตำแหน่ง
P ต่อกรดอะมิโนที่เข้ามาถึงใหม่ในตำแหน่ง A ในขั้นตอนนี้สายโพลีเป็ปไทด์แยกออกจาก
tRNA ที่มันจับอยู่ และกรดอะมิโนที่ปลายคาร์บอกซิล (carboxyl end) ของมันสร้างพันธะ
จับกับกรดอะมิโนที่ tRNA นำมาที่ตำแหน่ง A

       3. ไรโบโซมเคลื่อนที่ ทำให้ tRNA ในตำแหน่ง A กับสายโพลีเป็ปไทด์ที่มันจับอยู่ไปที่
ตำแหน่ง P ขณะที่ tRNA เคลื่อนย้ายที่ แอนติโคดอนของมันยังคงมีพันธะไฮโดรเจน
กับโคดอนของ mRNA ที่เคลื่อนย้ายที่ไปกับมัน และนำโคดอนที่จะถูกแปลต่อไปมาที่
ตำแหน่ง A ขณะที่ tRNA อยู่ที่ตำแหน่ง P ถูกเคลื่อนที่ไปที่ตำแหน่ง E และออกจาก
ไรโบโซมที่นั่น ขั้นตอนนี้ต้องการพลังงานจากการสลายโมเลกุล GTP






รูปที่ 3.27 แสดงขั้นต่อสาย


          แฟกเตอร์ที่ช่วยในขั้นต่อสาย Tu (EF-Tu) ซึ่งเป็นโปรตีนที่จับอยู่กับ GTP ช่วยในขั้น
ต่อสายโดยใส่อะมิโนเอซิล tRNA เข้าสู่ตำแหน่ง A


รูปที่  3.28 แสดงการเข้าสู่ตำแหน่ง A ของ aminoacyl-tRNA EF-Tu


         อะมิโนเอซิลทีอาร์เอ็นเออีเอฟทียู (aminoacyl-tRNA EF-Tu) นำนิวคลิโอไทด์กวานีน
ซึ่งกิจกรรมของ EF-Tu นี้ ถูกควบคุมโดยสภาวะของนิวคลิโอไทด์กวานีนEF-Ts เป็นสื่อกลาง
ในการเปลี่ยนรูปที่ใช้แล้วของ EF-Tu.GDP เป็น EF-Tu.GTP อันดับแรก EF-Ts ขับ GDP
จาก EF-Tu สร้าง EF-Tu.EF-Ts จากนั้น EF-Ts ถูกเข้าแทนที่ด้วย GTP สร้างรูป EF-Tu.
GTP ใหม่่่อีกครั้งที่สามารถจับอะมิโนเอซิลทีอาร์เอ็นเอ และ EF-Ts ที่ถูกปล่อยออกมา
สามารถนำมาใช้ใหม่

        มีสองขั้นตอนที่อะมิโนเอซิลทีอาร์เอ็นเอจะถูกใส่เข้าไปในตำแหน่ง A

ขั้นแรก ปลายแอนติโคดอนจับตำแหน่ง A ของไรโบโซมหน่วยย่อยเล็ก จากนั้นการจำระหว่าง
โคดอน-แอนติโคดอนส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของไรโบโซมซึ่งทำให้เกิด
เสถียรภาพของการจับ tRNA และเป็นสาเหตุให้ EF-Tu สลาย GTP ของมัน ปลาย CCA ของ
tRNA ขณะนี้ เคลื่อนไปสู่ตำแหน่ง A ของไรโบโซมหน่วยย่อยใหญ่ EF-Tu.GDP ถูกปล่อย


รูปที่  3.29 แสดงปฏิกิริยาการสร้างพันธะเป็ปไทด์ของ
เอนไซม์เป็ปติดิลทรานสเฟอเรส (peptidyl transferase)


          ปฏิกิริยาของเอนไซม์เป็ปติดิลทรานสเฟอเรสเกิดบนไรโบโซมหน่วยย่อยใหญ่ซึ่งเริ่มขึ้น
เมื่อ EF-Tu ปล่อยปลายอะมิโนของ tRNA จากนั้นปลายอะมิโนนี้หันไปในตำแหน่งติดกับ
ปลายของเป็ปติดิลทีอาร์เอ็นเอ