![]() |
|
จากที่กล่าวไปแล้วว่าเมื่อเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียเกิดการปฎิสนธิ จะได้เป็นไซโกต ซึ่งจะแบ่งตัวแบบไมโทซีสอย่างรวดเร็วจนได้เซลล์ที่มีสารพันธุกรรมเหมือน กันเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อไซโกตนั้นเจริญเป็นตัวอ่อน และตัวเต็มวัยกลับพบว่าในร่างกาย มีเซลล์ที่แตกต่างกันหลายชนิด แต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติและหน้าที่แตกต่างกันไป จึงมี ผู้สันนิษฐานว่าการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดจากการที่สารพันธุกรรมบางส่วนหายไป จึงมีเฉพาะ การแสดงออกของยีนที่เหลืออยู่ แต่ข้อสันนิษฐานนี้ก็ได้ถูกลบล้างไปเมื่อมีผู้ทดลองให้เห็นว่า สารพันธุกรรมในเซลล์ของตัวอ่อนและตัวเต็มวัยยังคงมีโครงสร้าง และองค์ประกอบเหมือนกับ ในเซลล์ของไซโกต ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า การที่เรามีเซลล์หลายชนิดในร่างกายไม่ได้เกิด จากการที่สารพันธุกรรมหายไป หากแต่เป็นเพราะเซลล์เหล่านั้นมีการควบคุมการแสดงออก ของยีนให้เกิดความแตกต่างกันนั่นเอง ในส่วนของสัตว์เซลล์เดียวแม้จะไม่มีความหลากหลาย ของเซลล์ในร่างกาย แต่ก็พบว่ามีการควบคุมการแสดงออกของยีนในการตอบสนองต่อ สิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน |
|
|
|
แม้จะมีการทดลองยืนยันให้เห็นแล้วว่า
การที่เรามีเซลล์หลายชนิดในร่างกายเกิดจาก การที่เซลล์ต่างๆ มีการควบคุมการแสดงออกของยีนให้เกิดความแตกต่างกัน ก็ยังมีคำถาม เกิดขึ้นต่อไปว่าแล้วการควบคุมการแสดงออกของยีนนี้เกิดขึ้นในช่วงใดบ้าง และมีกลไก ในการเกิดอย่างไรหากจะตอบประเด็นคำถามนี้สิ่งแรกที่เราต้องทำคือ พิจารณาว่า การแสดงออกของยีนนั้นคืออะไร และมีขั้นตอนสำคัญอะไรบ้าง ซึ่งเรื่องนี้ได้กล่าว ในรายละเอียดไว้แล้วในเรื่อง การแสดงออกของยีน ว่าการแสดงออกของยีนประกอบไปด้วย ขั้นตอนที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ การคัดลอกดีเอ็นเอเพื่อสังเคราะห์เป็นอาร์เอ็นเอ และ การแปลรหัสบน mRNAเพื่อสังเคราะห์เป็นโปรตีน ดังนั้นในเรื่องการควบคุมการแสดงออก ของยีนนี้จะเป็นการกล่าวถึงตัวอย่างการควบคุมการแสดงออกของยีนในขอบเขตระหว่าง การคัดลอกดีเอ็นเอไปจนถึงการแปลรหัสบน mRNA เพื่อสังเคราะห์เป็นโปรตีน |
|
![]() รูปที่ 4.2 การควบคุมการแสดงออกของยีน |
|