มีผู้เสนอความคิดในลักษณะของแผนภูมิที่แสดงสายของวิวัฒนาการในลักษณะของ
แผนภูมิต้นไม้( phylogenetic tree) ไว้หลายลักษณะโดยใช้แต่ละกิ่ง หรือแต่ละสาขา
ของแผนภูมิแสดงสายย่อยของวิวัฒนาการ โดยแนวตั้งจะแทนระยะเวลาที่ผ่านไปของ
การวิวัฒนาการ โดยจุดที่อยู่ด้านล่างของแผนภูมิจะแทนช่วงเวลาในอดีต และยิ่งเป็นช่วงบน
ถัดขึ้นมาของกิ่งเท่าไร ก็ยิ่งเป็นช่วงเวลาที่ใกล้ปัจจุบันมากเท่านั้น
ตัวอย่างของแผนภูมิ
ิที่น่าสนใจแผนภูมิหนึ่งคือ แผนภูมิที่เสนอโดย Stephen Jay Gouldในปี
ค.ศ. 1995
ดังรูปที่ 6.30
รูปที่ 6.30 แผนภูมิแสดงสายวิวัฒนาการของ Gould
แผนภูมินี้แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตที่แต่ดั้งเดิมมาจากบรรพบุรุษร่วมกันนั้น
เมื่อเวลาผ่าน
ไปอาจจะต้องแยกกันด้วยสาเหตุต่างๆ และเมื่อแยกกันนานๆ และมีการมีการเปลี่ยน
แปลงเนื่องจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของตน จนไม่อาจกลับมาเป็นสายพันธุ์
เดิมได้อีก เรียกว่าเกิด adaptive radiation เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด
แต่อย่างไร
ก็ตาม แผนภูมินี้ยังแสดงให้เห็นว่า แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงจนเกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นหลายชนิดก็
็ตาม แต่มิใช่ว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะประสบความสำเร็จในการปรับตัวและอยู่รอดทั้งหมด
เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งมีชีวิตบางชนิดจะสูญพันธุ์ มีเพียงสิ่งมีชีวิตบางส่วนเท่านั้นที่ประสบ
ความสำเร็จและดำรงอยู่มาได้จนถึงปัจจุบัน สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในปลายสาขาย่อยของแผนภูมิ
จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสายพันธุ์ใกล้ชิดกัน ยิ่งใกล้ชิดกันเพียงใดก็จะยิ่งมีรูปร่าง
พฤติกรรม
ตลอดจนสารพันธุกรรมคล้ายคลึงกันมากเพียงนั้น จนถึงระดับหนึ่งสิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดกันมากๆ
จะสามารถถ่ายทอดสารพันธุกรรมให้แก่กันได้ และยังถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมเหล่านี้ไป
ยังรุ่นต่อๆ ไปได้ด้วย สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเช่นนี้ คือ สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดกันจนเรียกว่าเป็น
สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน
สปีชีส์ หมายถึง กลุ่มหรือประชากรของสิ่งมีชีวิตที่มียีนพูลร่วมกัน
โดยที่ี่สมาชิกของ
ประชากรนั้นสามารถถ่ายทอดยีน หรือทําให้เกิดการไหลของยีน (gene flow) ระหว่างกัน
และกันได้ (สามารถผสมพันธุ์กันได้ และมีลูกไม่่เป็นหมัน) จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า
มีสาเหตุหลายสาเหตุที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นสปีชีส์เดียวกันต้องแยกจากกันไปอยู่ในที่ต่างๆ
ทำให้ขาดการติดต่อและไม่มีการไหลของยีนระหว่างกัน และเนื่องจากการปรับตัวเพื่อให้
้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ตนอาศัยอยู่ ทำให้เกิดลักษณะที่แตกต่างทั้งทาง สรีระ
รูปร่าง และ
พฤติิกรรมจนไม่อาจผสมพันธุ์กันได้อีกเนื่องจากเกิดกลไกการแบ่งแยกทางการสืบพันธุ์
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. กลไกการแบ่งแยกก่อนระยะไซโกต เป็นกลไกที่ป้องกันไม่ให้เซลล์สืบพันธุ์จากทั้ง
2
สปีชีส์ได้มาสัมผัสกันเนื่องจาก
- ความพร้อมในการผสมพันธุ์ ต่างเวลากัน (temporal isolation)
- สภาพนิเวศวิทยาที่ต่างกัน (ecological isolation) เช่นกบที่อาศัยในสระนํ้าลึกๆ
กับ
พวกที่อาศัยและเพาะพันธุ์ในหนองบึงใหญ่ๆ
- พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีที่ต่างกัน (behavioral isolation) ได้แก่ มีสัญญาณในการ
สืบพันธุ์ เช่น การอวดสีสัน การกรีดกราย การป้อปีก การส่งเสียง หรือ
สารฟีโรโมน
(pheromone) ที่ต่างกัน
- โครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์แตกต่างกัน (mechanical isolation) ทําให้ผสมพันธุ์กันไม่ได้
ระหว่าง 2 สปีชีส์
- สรีรวิทยาของเซลล์สืบพันธุ์ที่แตกต่างกัน (gametic isolation) เช่นละอองเรณูของ
มะม่วงไปตกบนยอดเกสรตัวเมียของมะนาวจะไม่สามารถผสมกันได้
2.กลไกการแบ่งแยกระยะหลังไซโกต เมื่อกลไกการแบ่งแยกในระดับแรกไม่อาจป้องกัน
การผสมพันธุ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต 2 สปีชีส์ (hybridization)ไว้ได้ เกิดการผสมข้ามสปีชีส์และ
เกิดลูกผสม (hybrid) ที่เป็นตัวเต็มวัย แต่ยีนโฟลว์ระหว่างสปีชีส์ทั้ง
2 จะไม่เกิดเพราะไซโกต
หรือลูกผสมมีองค์ประกอบของยีน (genome = จีโนม) ไม่สอดคล้องกัน เกิดความผิดปกติ
ิขึ้นกับลูกผสมคือ
- ลูกผสมตาย (hybrid inviability) ก่อนที่จะถึงวัยเจริญพันธุ์
- ลูกผสมเป็นหมัน (hybrid sterility) ส่วนมากมักเกิดกับเพศผู้
- ลูกผสมล้มเหลว (hybrid breakdown) ลูกผสม F1มีความอ่อนแอ ให้กําเนิดลูกผสมรุ่น
F2 ได้ แต่มักตายในระยะแรกของการเจริญหรือเป็นหมัน แต่ในบางครั้งการเพิ่มจำนวนชุด
ของโครโมโซมในพืชก็เป็นผลดีต่อการเกษตร เช่นกัน เช่นการผสมระหว่างผักกาดแดง
กับผักกะหล่ำ จะได้ลูกผสมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น โพลีพลอยดี
(polyploidy)
หมายถึง การเพิ่มจํานวนชุดของโครโมโซม (chromosome)จาก 2n 3n 4n ฯลฯ
ซึ่งนับว่าีมีผลในการวิวัฒนาการ คือทําให้เกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ๆ และถือว่ามีผลดีในการเพิ่ม
ผลผลิตทางการเกษตร
วิวัฒนาการในโลกที่กําลังพัฒนา
วิวัฒนาการกับมลภาวะ: ปัจจุบันปัญหามลภาวะทําให้สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้อยู่รอด
มิฉะนั้น
จะถูกคัดเลือกหรือกําจัดออกไป เช่น แบคทีเรียบางชนิดสามารถอาศัยอยู่ในบ่อนํ้าร้อนบางชนิด
อยู่ในนํ้าเสีย แหล่งทิ้งเศษเหล็ก หรือสังกะสี นักวิทยาศาสตร์ในโลกยุคใหม่สามารถใช้จุลินทรีย์
ที่เจริญเติบโตในแหล่งดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการทําลายโลหะในแหล่งนํ้าหรือกําจัดอินทรีย์
สารในนํ้าได้
การคัดเลือกตามธรรมชาติในคน: การวิวัฒนาการโดยการคัดเลือกตามธรรมชาติเกิดขึ้นกับ
สิ่งมีชีวิตทุกๆ ชนิดรวมทั้งคน เช่น การระบาดของโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์
(sickle cell
anemia) ถูกควบคุมโดยยีนด้อยในออโตโซม
- คนที่มีจีโนไทป์ (/=
โฮโมไซโกต) ซึ่งเป็นยีนด้อยจะแสดงอาการโลหิตจางรุนแรงถึง
ตายตั้งแต่วัยเยาว์
- คนที่มีจีโนไทป์ (/=
โฮโมไซโกต) สําหรับยีนเด่น มีเลือดปกติ (แต่คนปกติมักเสีย
ชีวิตด้วยไข้มาเลเรียหากได้รับเชื้อชนิดรุนแรง)
- คนที่มีจีโนไทป์ (/=
เฮเตอโรไซโกต) จะมีเลือดปกติและทนทานต่อเชื้อมาเลเรียได้
ดีกว่าพวก /
ดังนั้นประชากรที่อยู่ในถิ่นที่มีไข้มาเลเรียชุกชุมมักจะมียีนฮีโมโกลบิน
Hbs ในสัดส่วนที่สูงตามไปด้วย เพราะมีเชื้อมาเลเรียเป็นปัจจัยสําคัญ
ของการคัดเลือกที่สําคัญ
- โรคทาลัสซีเมียทั้งแบบ
และแบบ จะพบในอัตราสูงในประชากรคนไทยบางท้องที่เชื่อ
ว่ามีความสัมพันธ์กับการระบาดของเชื้อไข้มาเลเรียโดยกลไกการคัดเลือกตามธรรมชาติ
ิเช่นเดียวกัน
วิวัฒนาการร่วมกัน (coevolution) หมายถึง การวิวัฒนาการร่วมกันของสิ่งมีชีวิต
2 ชนิด
จนสามารถอยู่ร่วมกันได้ในสภาวะสมดุล เช่น การคัดเลือกตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับพันธุ์
กระต่ายที่ต้านทานเชื้อไวรัส และที่เกิดขึ้นกับพันธุ์ไวรัสชนิดที่ไม่รุนแรงที่จะทําให้กระต่าย
ตาย ส่งผลให้ทั้งกระต่ายและไวรัสสามารถปรับตัวร่วมกันและวิวัฒนาการร่วมกันมาได้จนถึง
สภาวะสมดุล
หมายเหตุ: การวิวัฒนาการร่วมกันมักพบบ่อยู เสมอๆ ระหว่าง
พืช กับ เชื้อแบคทีเรีย หรือ
พืช กับ เชื้อไวรัสหรือ สัตว์ กับ จุลินทรีย์ต่างๆ แม้กระทั่งไวรัสโรคเอดส์
(HIV) ก็อยู่ระหว่าง
กระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติและการปรับตัว ในปัจจุบัน มีรายงานว่าได้พบสตรีชาว
แอฟริกันซึ่งติดเชื้อ HIV แต่ยังไม่ปรากฏอาการของโรคเอดส์และยังดำรงชีวิตได้อย่างปกติ
ซึ่งอาจเป็นตัวอย่างของการปรับตัวของมนุษย์ในเชิงการพัฒนาภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับเชื้อ
ไวรัสเอดส์
เชื้อโรคดื้อยา: ยารักษาโรค และยาปฏิชีวนะที่นํามาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่าง
ได้ผลในอดีต ปัจจุบันพบว่าแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะดังกล่าว จึงรักษาโรคไม่หาย
(เพราะเกิด
การคัดเลือกตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย) ยกเว้น เพ็นนิซิลิน
เป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ยังมีประสิทธิภาพดีอยู่จนถึงปัจจุบัน
การดื้อต่อสารฆ่าแมลง: เช่น การใช้ ดีดีที มาฆ่าแมลงศัตรูพืช ครั้งแรกได้ผลเกือบ
100
เปอร์เซ็นต์ ต่อมามีแมลงที่สามารถต้านทานยาเพิ่มขึ้น เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้น
บทเรียนดังกล่าวช่วยสอนให้มนุษย์ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการนําสารเคมีชนิด
ใหม่ๆ มาใช้ฆ่าแมลงศัตรูพืชและแมลงพาหะโรคในปัจจุบัน สิ่งที่ดีที่สุดสําหรับธรรมชาติ
ิและสิ่งแวดล้อมคือ การนําสารเคมี หรือ ยาธรรมชาติที่สกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้้ในทาง
การเกษตรและทางการแพทย์ตามแบบของเทคโนโลยีที่ได้จากภูมิิปัญญาท้องถิ่น
เช่นชาว
ไทย และชาวเอเชียทั้งหลาย