ความถี่ของยีนกับวิวัฒนาการ

  วิวัฒนาการจะเกิดขึ้นได้ในระดับประชากรเท่านั้น ซึ่งประชากรก็หมายถึงกลุ่มที่สิ่งมีชีวิต
ที่ี่เป็นชนิดเดียวกันที่สามารถผสมพันธุ์กันได้ตามธรรมชาติทําให้มีการถ่ายทอดหรือ
แลกเปลี่ยนยีนกันได้ อย่างอิสระ ถ้าพิจารณายีนทั้งหมดที่มีอยู่ในประชากรหนึ่งจะเรียกว่า
กลุ่มของยีน (gene pool)

พันธุศาสตร์เชิงประชากร (population genetics)

  
ฮาร์ ดี (G.H.Hardy) นักคณิตศาสตร์ ชาวอังกฤษและไวน์เบอร์ก (W.Weinberg)
นายแพทย์ ชาวอเมริกันซึ่งถือได้ว่าเป็นนักพันธุศาสตร์เชิงประชากรได้ แสดงด้วยหลัก
คณิตศาสตร์ ว่า.. “ถ้าประชากรมีขนาดใหญ่มากและการผสมพันธุ์ในประชากรนั้นเป็นไป
โดยไม่มีการเจาะจงคู่หรือเป็นไปโดยวิธีสุ่ม (โดยไม่มีปัจจัยสําคัญภายนอก ในการเปลี่ยน
แปลงความถี่ของยีน สัดส่วนของ alleles จะเป็นตัวกําหนดสัดส่วนของ genotype และ
สัดส่วน genotype จะคงที่ในรุ่นต่อๆ ทุกรุ่น”

 เงื่อนไขตาม สภาวะสมดุลของฮาร์ดีและไวน์ เบอร์ก (Hardy – Weinberg
Equilibrium หรือ HWE)
  
   
เงื่อนไขตาม HWE มีดังนี้คือ

1. ประชากรต้องมีขนาดใหญ่
2. การผสมพันธุ์ ต้องเป็นแบบสุ่ม
3. ไม่มีการอพยพเข้าและอพยพออก
4. ไม่มีการคัดเลือกตามธรรมชาติ

ประชากรที่มีอัตราส่วนของยีนและจีโนไทป์คงที่นี้เรียกว่า เป็นประชากรที่สมดุล
(equilibrium population)

ตัวอย่างเช่น

 สมมติว่ามียีน 1 คู่ ซึ่งมี 2 alleles คือ A และ a อันมีอัตราส่วน p
และ q ตามลําดับ ดังนั้น ประชากรซึ่งมียีนนี้จะสร้างหน่วยสืบพันธุ์
2 ชนิด คือ A และ a ในอัตราส่วน p และqตามลําดับ (เนื่องจากยีน
มีเพียง 2 alleles คือ A และ a) ดังนั้น p + q = 1 ดังนั้น อัตราส่วน
ของ genotype ในชั่วลูก จะได้ จากการคูณกันระหว่างอัตราส่วนของ
หน่วยสืบพันธุ์ ของพ่อและแม่ คือจะได้ว่า [p(A) + q(a)]2 = p2(AA)
+ 2pq(Aa) + q2(aa)

หมายความว่า
genotype AA จะมีอัตราส่วน = p2
genotype Aa จะมีอัตราส่วน = 2 pq
genotype aa จะมีอัตราส่วน = q2


      

      



      


ปัจจัยที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีน

   1. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ

   2. การผ่าเหล่า (mutation) และการแปรผันทางพันธุกรรม

   3. การอพยพและการเคลื่อนย้ายประชากร

   4. ขนาดของประชากร

   5. รูปแบบของการผสมพันธุ์

การคัดเลือกโดยธรรมชาต

 ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ความสามารถในการสืบพันธุ์จะเพิ่มจํานวนได้สูงมาก หากไม่มีปัจจัย
ที่จํากัดการเพิ่มจํานวนแล้ว สิ่งมีชีวิตทั้งหลายคงจะล้นโลก แต่ตามที่เป็นจริง จํานวนของ
สิ่งมีชีวิตค่อนข้างจะคงที่ เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection)
ซึ่งอาศัยหลักเกณฑ์พื้นฐานว่า จะไม่มีลักษณะทางกรรมพันธุ์ชุดเดียวที่ี่เหมาะสมต่อสภาพ
ความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่อาศัย ฉะนั้นการคัดเลือกโดยธรรมชาติจึงต้อง
มีปัจจัยสําคัญ คือ ความสามารถในการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการถ่ายทอดลักษณะแตกต่าง
ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตนั้นต้องอยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมผลของการคัดเลือก
โดยธรรมชาติจะได้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะสปีชีส์เดียวกันที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดทาง
กรรมพันธุ์ ซึ่งเรียกว่าโพลีมอร์ฟิซึม (polymorphism)

ตัวอย่างเช่น

 สีและลวดลายบนเปลือกหอย :หอยชนิด Cepaea nemoralis เปลือกมีสีเหลือง นํ้าตาล
ชมพู ส้มแดง และยังมีชนิดที่มีลวดลายเป็นเส้นพาดไปตามเปลือก จากการศึกษาพบว่า
ในแหล่งที่อยูู่่ที่มีลักษณะเรียบๆ เช่น บริเวณโคลนตมหรือทรายจะพบหอยที่มีลักษณะ
เปลือกเป็นสีเรียบๆ มากกว่าลักษณะอื่นๆ ส่วนในป่าหญ้าจะพบว่ามีหอยที่เปลือกลายมาก
กว่าลักษณะอื่น แต่ในที่บางแห่งก็พบหอยทั้งเปลือกมีลายและหอยเปลือกสีเรียบอยู่ในที่เดียว
กันซึ่งพบว่าหอยเปลือกสีเรียบมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ดีกว่าหอยเปลือก
ลาย ดังนั้นนอกจากความสัมพันธ์ของเหยื่อและผู้ล่าแล้ว ยังน่าจะเกี่ยวข้องกับการปรับตัวทาง
สรีระอีกด้วย

 

 

 

 


                             รูปที่ 6.26 หอย Cepaea nemoralis ที่มีลายเปลือกต่างกัน
               (ที่มา : http://www.sbp.univ-rennes1.fr และ http://www.tiscali.co.uk)

 

                                         

    
                             รูปที่ 6.27
ลายเปลือกของหอยที่ไม่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
                                              อาจจะไม่จะพ้นอันตรายจากผู้ล่า


 

  สีของผีเสื้อกลางคืน ผีเสื้อกลางคืนชนิด Bristom betularia ซึ่งมีอยู่มากในประเทศอัง
กฤษอาศัยอยู่ตามต้นไม้ที่มีไลเคนส์เกาะอยู่เต็ม สีตัวของมันจึงเป็นสีอ่อนจางซึ่งช่วยให้มัน
อําพรางตัวได้ดีจนกระทั่งประมาณปี 1845 ซึ่งเป็นช่วงปีที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเขต
เมือง จะมีเขม่าควันจากปล่องควันของโรงงานอุตสาหกรรมฟุ้งกระจายไปทั่วในอากาศ
เริ่มมีผู้พบผีเสื้อกลางคืนสปีชีส์เดียวกันนี้แต่มีสีดําเข้มขึ้นกว่าเดิมปรากฏขึ้นในเขตเมือง
แมนเชสเตอร์ ซึ่งเป็นเขตที่มีการอุตสาหกรรมใหญ่และมีกลุ่มควันจากโรงงานอุตสาหกรรม
ทําลายพวกไลเคนส์ตามเปลือกไม้ และทําให้ต้นไม้มีสีดําเต็มไปหมด ต่อมาในช่วงเวลา
ไม่ถึงร้อยปีพบผีเสื้อกลางคืนที่มีสีดําเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกือบทั้งหมดเป็นผีเสื้อสีดํา

                                      

                   รูปที่ 6.28 การปรับตัวของผีเสื้อกลางคืนชนิดเดียวกันแต่
                                  อยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกัน
                              (ที่มา :http:// biosci.cosam.calpoly.edu)


  

  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ เอช.บี.ดี.เคทเทิลเวลล์ (H.B.D. kettlewell) สันนิษฐาน
ว่า การที่ีพวกผีเสื้อกลางคืนเปลี่ยนจากสีเทาอ่อนไปเป็นสีดํานี้ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง
ของยีน และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์คือช่วยป้องกันผีเสื้อสีดําจากนกที่มาจับผีเสื้อ
กินในพื้นที่ซึ่งมีเขม่าควันดําเกาะตามเปลือกไม้ เคทเทิลเวลล์ได้ทดลองปล่อยผีเสื้อกลางคืน
สีเทาอ่อนและสีดําไปในแถบเมืองที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรม ผลปรากฏว่าหลังจากที่เขากลับมา
จับผีเสื้อกลางคืนนับใหม่ พบว่าได้ผีเสื้อสีดํา 40% และสีเทาอ่อน 19% ในทางตรงข้าม เมื่อ
ปล่อยผีเสื้อสีเทาอ่อนและสีดําไปในแถบชนบท ปรากฏว่าได้ผีเสื้อสีดํากลับคืนมาเพียง 6%
ในขณะที่ผีเสื้อสีเทาอ่อน 12.5% แสดงว่า เกิดการคัดเลือกทางธรรมชาติในสภาพแวดล้อม
ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วโดยการกระทําของมนุษย์ นักชีววิทยาเรียกความแปรผันทาง
พันธุกรรมซึ่งเป็นผลให้สิ่งแวดล้อมอยูู่่รอดเพื่อสืบทอดลูกหลานได้ดีว่า การปรับพันธุกรรม
(genetic adaption) ดังนั้นลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้จึงเป็นผลจากการ
ปรับพันธุกรรมโดยกระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติ

การผ่าเหล่าและความแปรผันทางพันธุกรรม

 การผ่าเหล่า (mutation) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตการผ่าเหล่า
หรือมิวเทชันมีทั้งที่เกิดกับเซลล์ร่างกายซึ่งเรียกว่าโซมาติคมิวเทชัน (somatic mutation)
และที่เกิดกับเซลล์สืบพันธุ์เรียกว่าแกมีติคมิวเทชัน (gametic mutation) มิวเทชันที่มีผล
ต่อขบวนการวิวัฒนาการมาก คือ มิวเทชันที่เกิดกับเซลล์สืบพันธุ์ เนื่องจากสามารถถ่ายทอด
ไปสู่รุ่นต่อๆไปได้ มิวเทชันทําให้เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม นอกจากนั้นในกระบวนการ
สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จะมีการแบ่งเซลล์ด้วยวิธีไมโอซิสเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ในกระบวนการ
ไมโอซิสจะมีครอสซิงโอเวอร์ (crossing over) โดยมีการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของโฮโมโลกัส
โครโมโซมซึ่งมีผลทําให้อัลลีลของยีนเกิดการเปลี่ยนตําแหน่งได้รวมทั้งการรวมกลุ่มกันอย่าง
อิสระของโครโมโซม ที่แยกตัวจากคู่ของมันแล้วเป็นผลให้ยีนต่างๆ ได้ รวมกลุ่มกันใหม่
ในแต่ละรุ่น ดังนั้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจึงช่วยให้ยีนต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ได้มีโอกาส
รวมกลุ่มกัน (gene recombination) ในรูปแบบต่างๆ ทั้งขบวนการมิวเทชันและขบวนการ
สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็นสาเหตุที่ทําให้สิ่งมีชีวิตเกิดความแปรผันทางพันธุุกรรมอย่างมากมาย

การอพยพของสมาชิกในประชากร

 สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีการอพยพเข้าหรือออกของสมาชิก ส่งผลให้ มีการหมุนเวียนพันธุกรรม
หรือที่เรียกว่าการไหลของยีน (gene flow) เกิดขึ้นระหว่างประชากรย่อยๆ ซึ่งการอพยพจะทํา
ให้สัดส่วนของอัลลีลเปลี่ยนแปลงไป ในประชากรที่มีขนาดใหญ่มากๆ การอพยพเข้าหรือ
อพยพออกของสมาชิกอาจจะเกือบไม่มีผลต่อสัดส่วนของยีนในกลุ่มประชากรเลย แต่ถ้า
ประชากรมีขนาดเล็ก เมื่อมีสมาชิกอพยพออกไปทําให้กลุ่มประชากรสูญเสียยีนบางส่วน
ทําให้มีโอกาสในการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนยีนกับกลุ่มยีนนั้นน้อยลงไป หรือไม่มีโอกาส
เลยในทางกลับกัน การอพยพเข้าของประชากรในกลุ่มประชากรขนาดเล็ก จะทําให้เกิด
การเพิ่มพูนบางส่วน หรือบางยีนใหม่เข้ามาในประชากร มีผลทําให้เกิดความแปรผันทาง
พันธุกรรมของประชากร

ขนาดของประชากร

 การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร มีบทบาทสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีน
และโครงสร้างของยีนพูล (gene pool) ซึ่งเกิดจากโอกาส หรือความบังเอิญ หรือจาก
ภัยธรรมชาติ ประะชากรที่มีขนาดใหญ่และมีการผสมพันธุ์แบบสุ่มจะไม่พบว่ามีการ
เปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนมากมายอย่างมีนัยสําคัญ แต่ถ้าเป็นประชากรขนาดเล็ก
จะมีผลอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงผกผันทางพันธุกรรมอย่างฉับพลันอย่างไม่มีทิศทาง
แน่นอน หรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนอย่างฉับพลันโดยเหตุบังเอิญตามธรรมชาติ
ที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ไม่สามารถคาดการณ์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนได้แน่
นอนเช่นนี้ เรียกว่า เจเนติก ดริฟต์ (genetic drift) เป็นกลไกที่สําคัญอย่างหนึ่งที่ทําให้
้ความถี่ของยีนมีการเบี่ยงเบนจนเกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีน ตัวอย่างของ
ปรากฏการณ์นี้ได้แก่ วิวัฒนาการของสัตว์ชนิดใหม่ที่เกิดขึ้น่ตามหมู่เกาะต่างๆ ใน
มหาสมุทรแปซิฟิก ดังตัวอย่างของแมลงหวี่ชนิดต่างๆ ที่เกิดบนหมู่เกาะฮาวาย

หมายเหตุ : gene pool หมายถึง ยีนโดยรวมซึ่งแลกเปลี่ยนกันระหว่างสิ่งมีชีวิต โดย
เฉพาะในเผ่าพันธุ์เดียวกัน เปรียบเหมือนมีบ่อของยีน ซึ่งสิ่งมีชีวิตนำมาฝากและนำไปใช้



            

                      รูปที่ 6.29 ภาพแสดงปรากฏการณ์ เจเนติกดริฟต์ ของแมลงหวี่
                                       (ที่มา : http://evolution/Berkeley/edu )


รูปแบบของการผสมพันธุ์

     สิ่งมีชีวิตส่วนมากจะมีรูปแบบการสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศอย่างเด่นชัด โดยแบ่งเป็น
2 กรณี คือ

1. การผสมพันธุ์ แบบสุ่ม เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นส่วนมากในประชากร การผสมพันธุ์
แบบสุ่มนี้จะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีนในแต่ละชั่วอายุมากนัก

2. การผสมพันธุ์ที่ไม่เป็นแบบสุ่ม เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นบางครั้ง โดยมีการเลือกคูู่
ผสมภายในกลุ่ม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทําให้เกิดการผสมพันธุ์ภายในสายพันธุ์เดียวกัน
หรือที่เรียกว่าอินบรีดดิง (inbreeding) อันจะยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่
ของยีนในประชากรนั้นได้ เพราะถ้าเป็นการผสมภายในสายพันธุ์เดียวกัน และประชากร
มีขนาดเล็กย่อมจะมีีโอกาสที่ยีนบางยีนเพิ่มความถี่สูงขึ้นในรุ่นต่อมา และในที่สุดจะ
ไม่มีการแปรผันของยีนเกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่ อาจเป็นสภาพโฮโมไซกัส และเป็นสาเหตุ
ให้ยีนบางยีนมีความคงที่ (fix) และบางยีนสูญหายไป