รูปที่
6.7 โอเปริน
ต่อมาปี ค.ศ. 1936 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย
ชื่อ เอ. ไอ. โอเปริน (A.I.Oparin)
ได้เขียนบทความเป็นภาษารัสเซียเรื่อง "The Origin ofLife" อีกห้าปีต่อมานักวิท-
ยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ เจ. บี. เอส. ฮัลเดน (J.B.S.Haldane) ได้พิมพ์บทความ
แสดงความคิดของเขาในวารสาร The Rational Annual ทั้งโอปารินและฮัลเดน
ได้เสนอแนวความคิดคล้ายคลึงกันกล่าวว่า หลังจากเกิดโลกแล้วบรรยากาศมีธาตุ
ออกซิเจนน้อยหรือไม่มีเลยส่วนมากเป็นไอน้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และ
ไนโตรเจนมีแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ มีเทน และแอมโมเนียบ้างเล็กน้อย ในมหาสมุทร
อาจมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย มีเทน และไฮโดรเจนไซยาไนด์ซึ่งต่างก็
มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิซึ่งน้ำเป็นของเหลวละลายอยู่ นอกจากนี้ในมหาสมุทรยัง
มีสารประกอบอื่นๆ ของพวกโลหะคลอไรด์สารประกอบฟอสฟอรัส เกลือและแร่ธาตุ
ต่างๆ สะสมอยู่แม้แต่เดิมจะไม่มีก็ตาม แต่เนื่องจากแม่น้ำกัดเซาะด้านข้างของภูเขา
ออกไป รวมทั้งมีคลื่นกระทบฝั่งด้วยกำลังแรง ทำให้ปริมาณเกลือและแร่ธาตุต่างๆ
ในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ลาวาใต้ทะเลที่ระเบิดออกมายังอาจช่วยเพิ่ม
ปริมาณของเกลือแร่ของน้ำในมหาสมุทรได้ ความเค็มของเกลือจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ตามลำดับ
การเกิดของน้ำที่เป็นส่วนของบรรยากาศแรกเริ่มและเกลือแร่หลายชนิดในรูปของสาร
ละลายเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การกำเนิดของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นที่
ี่สุดของสิ่งมีชีวิตทั้งในอดีตและปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีที่สุด
มีสมบัติเป็นตัวกลางของปฏิกิริยาเคมีได้อย่างวิเศษ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งสำคัญของ
ไฮโดรเจนและออกซิเจนอีกด้วย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวน้ำในมหาสมุทรจึงน่าจะก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตได้
ถึงแม้ว่าชั้นของเมฆ
ที่หนาจะป้องกันไม่ให้แสงอาทิตย์ส่องถึงโลกครั้งแรก เป็นผลให้โลกมืดมากเป็นเวลานาน
แต่รังสีอุลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ และอื่นๆที่มีพลังงานสูงของดวงอาทิตย์ยังสามารถผ่าน
เมฆได้และทำให้เกิดพลังงานที่จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาระหว่างมีเทน แอมโมเนีย
ไฮโดรเจนไซยาไนด์และน้ำ
แหล่งพลังงานที่สอง ได้แก่ ประจุไฟฟ้าที่เกิดต่อเนื่องกันในบรรยากาศของเมฆและพายุฝน
แสงทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้เช่นเดียวกับรังสีจากดวงอาทิตย์ พลังงานจากแหล่งทั้งสองจะ
ทำให้โมเลกุลของแก๊สเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยตรงเช่นที่ยังเกิดอยู่ในปัจจุบัน
ผลผลิตที่เกิดจาก
ปฏิกิริยาเคมีในอากาศจะถูกฝนชะล้างลงในทะเล ปฏิกิริยาเหล่านี้อาจเกิดในน้ำที่มีมีเทน
และสารอื่นๆ ละลายอยู่