โครงการจีโนมมนุษย์ (human genome project, HGP)

  จากการประชุมของกระทรวงพลังงาน (Department of Energy, DOE) ประเทศสหรัฐ
อเมริกา ในปี ค.ศ. 1985 ซึ่งแสดงถึงผลของกัมมันตรังสีระดับความเข้มข้นน้อยมากมีผล
ต่อพันธุกรรมของมนุษย์ในระยะยาว โดยยกโรคมะเร็งซึ่งเป็นผลกระทบจากกัมมันตรังสี
ในระยะยาว ในเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(ในปี ค.ศ. 1945) เป็นกรณีตัวอย่าง และได้รับแรงสนับสนุนอย่างชัดเจนของ รีเนโต
ดูลเบกโค (Renato Dulbecco) นักไวรัสวิทยารางวัลโนเบลว่า กุญแจสำคัญที่ทำให้
เข้าใจจุดกำเนิดของการเกิดโรคมะเร็งนั้น คือ ต้องทราบลำดับนิวคลีโอไทด์ทั้งหมดใน
จีโนมของมนุษย์ก่อน ภายหลังการประชุมของนักวิทยาศาสตร์อเมริกันที่นิวเมซิโก
(New Mexico) และการประชุมของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำด้านพันธุศาสตร์และชีวโมเลกุล
ที่นิวยอร์ก (New York) จึงทำให้้เกิดความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่ในการทำแผนการหาลำดับ
นิวคลีโอไทด์ทั้งหมดในจีโนมมนุษย์ขึ้น

   ในปี ค.ศ. 1989 รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาอนุมัติเงินทุนผ่านกระทรวงพลังงาน (DOE)
และสถาบันสาธารณสุข (National Institute of Health,NIH) เพื่อจัดตั้งศูนย์แห่งชาติ
สำหรับการวิจัยจีโนมมนุษย์ (the National Center for Human Genome Research,
NCHGR) ทำหน้าที่ศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของจีโนมมนุษย์ในกำหนดเวลา 15 ปี ตั้งแต่
ปี ค.ศ.1990-2005 โดยมีเจมส์ วัตสัน (James Watson) ผู้ค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอร่วม
กับฟรานซิส คริก (Francis Crick) เป็นผู้อำนวยการคนแรก

                 

  

  ต่อมาในปี ค.ศ. 1992 วัตสันลาออกจากผู้อำนวยการ และเครก เวนเตอร์ (Graig Venter)
มีปัญหาเรื่องการจดสิทธิบัตรบางส่วนของยีนทำให้เวนเตอร์ลาออกจากสถาบันสาธารณสุข
ของสหรัฐอเมริกามาตั้งสถาบันใหม่ ชื่อ สถาบันวิจัยจีโนม (The Institute of Genomic
Research, TIGR) ในมลรัฐแมรี่ี่แลนด์ (Maryland) TIGR สามารถถอดรหัสเชื้อแบคทีเรีย
ก่อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Haemophilus influenzae ขนาดจีโนม 1.8 ล้านเบสได้สำเร็จ
โดยใช้้เทคนิคการหาลำดับเบสแบบสุ่มทั่วจีโนม (whole-genome random shotgun
sequencing) ซึ่งค้นพบโดยเวนเตอร์ในปี ค.ศ. 1991 และพบว่า จีโนมของเชื้อ H.
influenzae
ประกอบด้วยยีน 1,740 ยีน

 

               

 

  ในปี ค.ศ. 1993 ฟรานซิส คอลลินส์ (Franscis Collins) เข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการ
NCHCR แทนวัตสัน และในปี ค.ศ. 1996 ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และจีน
ได้ลงนามเข้าร่วมโครงการจีโนมมนุษย์ในข้อตกลงเบอร์มิวดา (Burmuda principles) โดยต้องแสดงลำดับเบสของจีโนมมนุษย์ในส่วนที่ประเทศสมาชิกรับผิดชอบเข้าสู่ฐานข้อมูล
สาธารณะ(public database) ภายใน 24 ชั่วโมง โดยไม่มีการปิดบังข้อมูล

  ในปี ค.ศ. 1998 เวนเตอร์ ได้ลาออกจาก TIGR มาตั้งบริษัท ซีเลรา จีโนมิกส์์ (Celera
Genomics) และประกาศว่า จะหาลำดับเบสของจีโนมมนุษย์ให้เสร็จสิ้นในเวลา 3 ปี ด้วย
เงินทุน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยใช้เทคนิคแบบสุ่มทั่วจีโนมที่เขาคิดค้นขึ้น เทคนิคนี้ทำ
ได้โดยตัดดีเอ็นเอในจีโนมแบบสุ่มทั่วให้เป็นสายสั้นขนาดต่าง ๆ กัน หาลำดับเบสและนำชิ้น
ดีเอ็นเอแต่ละเส้นมาประกอบกันโดยอาศัยความรู้ทางชีวสารสนเทศศาสตร์และคอมพิวเตอร์
ที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างไรก็ตาม เวนเตอร์ได้ละเมิดข้อตกลงเบอร์มิวดาและขายรหัส
พันธุกรรมให้้กับบริษัทยาและบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพทั่วโลก

  การหาลำดับเบสในจีโนมมนุษย์เสร็จสมบูรณ์ เมื่อนักวิจัยชาวอังกฤษ ญี่ปุ่น และสหรัฐ
อเมริกาหาลำดับเบสบนโครโมโซมคู่ที่ 22 เสร็จสิ้นในปีเดือนธันวาคมค.ศ.1999 และ
นักวิจัยชาวเยอรมันและญี่ปุ่นหาลำดับเบสบนโครโมโซมคู่ที่ 21 เสร็จสมบูรณ์ในเดือน
พฤษภาคม ค.ศ. 2000

  หลังจากหาลำดับเบสเสร็จสิ้นแล้ว ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2000 ได้มีแถลงการณ์ร่วม
ระหว่างองค์กรของรัฐโดยฟรานซิส คอลลินส์ และบริษัทเอกชนโดยไคร์ก วินเตอร์ โดยมี
บิล คลินตัน (Bill Clinton)เป็นประธานแจ้งให้ทั่วโลกทราบความสำเร็จของโครงการจีโนม
มนุษย์ และผลงานโครงการจีโนมมนุษย์ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 14
กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 และในวารสาร Science ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001

หมายเหตุ ข้อมูลส่วนใหญ่ได้มาจาก “A History of Human Genome Project”
ในวารสาร Science เล่มที่ 291 ฉบับที่ 5507 หน้า 1195 (ฉบับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2001)