ตอนที่ 2 เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด



1. เป้าหมายหลักของโครงการจีโนมมนุษย์คืออะไร

ก. สร้างแผนที่ยีนของมนุษย์และตรวจสอบลำดับนิวคลีโอไทด์ของ
จีโนมมนุษย์ทั้งหมด

ข. สร้างแผนที่ยีนและลำดับเบสของจีโนมของสิ่งมีชีวิตที่มีความ
สำคัญต่องานวิจัย เช่น แมลงหวี่

ค. เปรียบเทียบจีโนมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ
ที่อาศัยอยู่บนโลก

ง. หาวิธีรักษาโรคทางพันธุกรรมของมนุษย์และพัฒนาเทคนิค
ใหม่ ๆ ในการศึกษาดีเอ็นเอ

แนวคำตอบ

2. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของสนิป (SNP) ในยุคหลังจีโนมมนุษย์

ก. เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของแพทย์ในการใช้ยารักษาผู้ป่วย

ข. เป็นตัวบ่งชี้ (marker) ในการแสดงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคทาง
พันธุกรรม

ค. เป็นตัวบ่งชี้ความแตกต่างระหว่างชนิด (species) ของสิ่งมีชีวิตใน
ปัจจุบัน

ง. เป็นหลักฐานในการช่วยพิสูจน์คดีต่าง ๆ เช่น ร่องรอยของฆาตกร
เชื้อชาติของผู้เสียชีวิต

แนวคำตอบ

3. ข้อดีของการทดสอบปฏิกิริยาการจับกันระหว่างยากับโปรตีนเป้าหมาย
คืออะไร

ก. ได้ยาที่จำเพาะเจาะจงแต่ละบุคคลโดยไม่เกิดอาการข้างเคียงของ
ยานั้น

ข. ทำให้จำนวนยาที่ใช้ในการคัดเลือกลดลงและได้ยาจับกับโปรตีน
เป้าหมายได้ดี

ค. ได้ยาที่จำเพาะต่อโรคทางพันธุกรรมของมนุษย์โดยไม่เกิด
อาการข้างเคียงของยานั้น

ง. ทำให้ได้ยาที่สามารถออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดกับโรคเป้าหมาย

แนวคำตอบ


4. การศึกษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างสิ่งมีชีวิตทำได้โดยเปรียบเทียบ
สิ่งใดของสิ่งมีชีวิต

ก. ลำดับเบสทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด

ข. ลำดับโปรตีนที่เกิดจากยีนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต

ค. บริเวณที่มีลำดับเบสสอดคล้องกันของสิ่งมีชีวิต

ง. ลำดับเบสบนสายเอ็มอาร์เอ็นเอของสิ่งมีชีวิต

แนวคำตอบ

 
5. คำจำกัดความของ “จีโนมิกส์” ไม่ได้หมายรวมถึงเรื่องใด

ก. การนำลำดับเบสมาสร้างแผนที่ยีน

ข. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในร่างกาย

ค. การหาลักษณะเฉพาะของยีนต่าง ๆ

ง. การศึกษาความสัมพันธ์ของยีนกับสิ่งแวดล้อม

แนวคำตอบ

 

 

ตอนที่ 3 ตอบคำถามให้เข้าใจมากที่สุด

 

1.องค์ประกอบของชีวสารสนเทศศาสตร์ที่ต้องอาศัยนัก
วิทยาศาสตร์์สาขาอื่น ๆ มาช่วยมากที่สุดคือองค์ประกอบ
ใด เพราะเหตุใด
2. เหตุใดคอมพิวเตอร์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในงาน
ชีวสารสนเทศศาสตร์
3. นักวิทยาศาสตร์ศึกษายีนต่าง ๆ ในจีโนมของกุ้งได้อย่างไร
4. ชีวสารสนเทศศาสตร์มีบทบาทในการออกแบบยา
ชนิดใหม่ ๆ ให้เสร็จ อย่างรวดเร็วได้อย่างไร
5. หากต้องการศึกษาว่า ยีนใดเป็นยีนทนแล้งของพืช
นักวิจัยจะใช้ชีวสารสนเทศศาสตร์ช่วยในการหายีนทนแล้ง
นี้ได้อย่างไร