เราคิดว่าอะตอมที่มีวงโคจรเดียวหรือหลายวงโคจรจะมีขนาดใหญ่กว่ากัน

ขนาดอะตอม(atomic size)

     ความหมาย
          ขนาดของอะตอม  วัดจากระยะห่างระหว่างนิวเคลียสของอะตอมที่อยู่ติดกัน สำหรับธาตุที่อยู่ในลักษณะโมเลกุลอะตอมคู่ รัศมีอะตอมจะถือว่าเป็นครึ่งหนึ่งของระยะระหว่างนิวเคลียสของ 2 อะตอมในโมเลกุล

          จากรูป ระยะห่างระหว่างอะตอมของคลอรีนเท่ากับ 99 พิโคเมตร ส่วนคาร์บอนเท่ากับ 77 พิโคเมตร

     แนวโน้มขนาดอะตอมของธาตุต่าง ๆ ในตารางธาตุ

  

     ปัจจัยที่มีผลต่อขนาดอะตอม
          1. เลขควอนตัมหลัก(n)ของเวเลนซ์อิเล็กตรอน
          2. ประจุนิวเคลียสสุทธิ(effective nuclear charge;Zeff)

         
     - ธาตุในหมู่เดียวกัน ขนาดของอะตอมใหญ่ขึ้นจากบนลงล่าง เพราะธาตุที่อยู่ด้านล่างมีเลขควอนตัมหลักของเวเลนซ์อิเล็กตรอนมาก หรืออาจกล่าวว่า ขนาดของอะตอมมีขนาดใหญ่ขึ้นตามเลขควอนตัมหลักที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ธาตุในหมู่ IA ขนาดอะตอม Li < Na < K < Rb < Cs
         
     - ธาตุในคาบเดียวกัน ขนาดของอะตอมเล็กลงจากซ้ายไปขวา เพราะประจุนิวเคลียสสุทธิเพิ่มขึ้น จึงดึงดูดเวเลนซ์อิเล็กตรอนมากขึ้น ขนาดอะตอมจึงเล็กลง ในขณะที่เลขควอนตัมหลักของเวเลนซ์อิเล็กตรอนคงที่ ยกตัวอย่างเช่น ธาตุในคาบที่ 2 ขนาดอะตอม Li > Be > B > C > N > O > F

          ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ "ประจุนิวเคลียสสุทธิ"