ผู้ค้นพบ
เจมส์
แชดวิก(James Chadwick)
ทำอย่างไรจึงค้นพบ
เขาได้พิจารณาจากแบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ด
จะพบว่ามวลรวมของอะตอมน่าจะมีค่าเท่ากับมวลรวมของโปรตอนได้เลย เพราะว่าอิเล็กตรอนมีมวลน้อยมาก
แต่จากการพิจารณามวลอะตอมของธาตุบางธาตุกลับมีมวลเป็นสองเท่าหรือมากกว่าสองเท่า
เช่น ฮีเลียมมี 2 โปรตอนและ 2 อิเล็กตรอน น่าจะมีมวลอะตอม 2 หน่วย
แต่กลับมี 4 หน่วย เขาจึงคิดว่าน่าจะมีอนุภาคอื่นนอกจากโปรตอนและอิเล็กตรอนในอะตอม
ซึ่งอนุภาคนี้ทำให้มวลอะตอมเพิ่มขึ้น
วิธีทำการทดลอง
เขาระดมยิงเบริลเลียม(Be)ด้วยอนุภาคแอลฟา()
ซึ่งได้จากธาตุพอโลเนียม(Po)
จากนั้น
ทดลองซ้ำโดยเปลี่ยนเบริลเลียมเป็นธาตุอื่น เช่น โบรอน(B), ไนโตรเจน(N),
ออกซิเจน(O), อาร์กอน(Ar) ฯลฯ
ผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่า
เมื่อระดมยิงเบริลเลียม(Be)ด้วยอนุภาคแอลฟา()จะตรวจพบ
ดังสมการ
นอกจากนั้น เขายังทำการทดลองกับโบรอน(B)
และ เขายังทำการทดลองกับไนโตรเจน(N),
ออกซิเจน(O), อาร์กอน(Ar) ฯลฯ ทุกครั้งที่เขาทำการทดลอง เขาจะตรวจพบ
ทุกครั้ง
สรุปผลการทดลอง
เขาพบอนุภาคใหม่คือ
เขาให้ชื่ออนุภาคนี้ว่า "นิวตรอน" ซึ่งมีมวลใกล้เคียงโปรตอนและเป็นกลางทางไฟฟ้า
ด้วยคุณสมบัติของนิวตรอนคือเป็นกลางทางไฟฟ้า จึงไม่เบี่ยงเบนในหลอดรังสีแคโทดทำให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบอนุภาคนี้ช้าที่สุด
การค้นพบนิวตรอนทำให้โครงสร้างอะตอมของดาลตัน, ทอมสันและรัทเทอร์ฟอร์ดไม่ถูกต้อง
เพราะไม่มีนิวตรอนในโครงสร้างอะตอม จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดของนักวิทยาศาสตร์ในเรื่องโครงสร้างอะตอม
หลังจากนั้นจึงเกิดโครงสร้างอะตอมของโบร์ขึ้นมาแทนที่โครงสร้างอะตอมแบบเดิม
ๆ
|