อนุภาคซึ่งเคลื่อนที่จากขั้วบวกไปยังขั้วลบจะมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกหรือลบ

โปรตอน(proton)

     ผู้ค้นพบ

ออยเกน โกลด์ชไตน์(Eugen Goldstein)

     ทำอย่างไรจึงค้นพบ
          เขาได้ศึกษาเรื่องการนำไฟฟ้าของแก๊ส
     วิธีทำการทดลอง
           เขาดัดแปลงหลอดรังสีแคโทด โดยเพิ่มฉากเรืองแสงที่ด้านหลังขั้วแคโทด และเจาะรู้ด้านขั้วแคโทด

          เขาได้ดัดแปลงหลอดรังสีแคโทด โดยขั้วแคโทดและขั้วแอโนดอยู่ตรงกลางหลอด เพิ่มฉากเรืองแสงที่ปลายหลอดรังสีแคโทดทั้งสองด้าน

     ผลการทดลอง

          เมื่อบรรจุแก๊สไฮโดรเจนในหลอดรังสีแคโทด แล้วให้กระแสไฟฟ้าแก่ขั้วไฟฟ้าทั้งสอง พบว่าขั้วแคโทดจะปล่อยอิเล็กตรอนออกมา เมื่ออิเล็กตรอนชนกับอะตอมของแก๊สไฮโดรเจนจะให้โปรตอน โปรตอนซึ่งมีประจุบวกถูกดึงดูดโดยขั้วแคโทดซึ่งมีประจุลบไปตกกระทบยังฉากเรืองแสง ปริมาณอิเล็กตรอนในหลอดรังสีแคโทดมีมากมาย ทำให้มีโปรตอนไปตกกระทบที่ฉากเรืองแสงมากมาย จนเราสังเกตเห็นเป็นลำแสงพุ่งตรงไปยังฉากหลังขั้วแคโทด

     สรุปผลการทดลอง
           อนุภาคที่ถูกดึงดูดโดยขั้วไฟฟ้าที่เป็นลบ ต้องเป็นอนุภาคที่มีประจุบวก ต่อมานักวิทยาศาสตร์เรียกว่า"โปรตอน " เนื่องจากถูกดึงดูดโดยขั้วแคโทดซึ่งเป็นขั้วลบ และโดนแรงผลักจากขั้วแอโนดซึ่งเป็นขั้วบวก