พันธะไอออนิก (ionic bonds)
           พันธะไอออนิก คือ พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก(cation) และไอออนลบ(anion) อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน จากโลหะให้แก่อโลหะ  โดยทั่วไปแล้วพันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะและอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากว่าโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน(ionization energy)ต่ำ แต่อโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน(electron affinity)สูง ดังนั้นโลหะจึงมีแนวโน้มที่จะให้อิเล็กตรอน และอโลหะมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอน
เมื่อโลหะเสียอิเล็กตรอนก็จะกลายเป็นไอออนบวก
อโลหะเมื่อรับอิเล็กตรอนก็จะกลายเป็นไอออนลบ
             ประจุบวกและลบที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าซึ่งกันและกันเกิดเป็นพันธะไอออนิก และเพื่อความเข้าใจมากขึ้นขออธิบายการเกิดพันธะไอออนิกระหว่าง อะตอมของโซเดียม และ คลอไรด์
กระบวนการเกิดโมเลกุลของโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) แสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ดังนี้



ทำไม 
อะตอมของโลหะและอโลหะถึงมีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนระหว่างกันและกันเกิดเป็นโมเลกุลไอออนิก ?
คำตอบก็คือ
  (ลากเมาส์เพื่อดูคำตอบครับ) เพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตต (octet rule) ของลิวอิสซึ่งกล่าวว่า“อะตอมต่างๆนอกจากไฮโดรเจนมีแนวโน้มจะสร้างพันธะเพื่อให้มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบแปด” ตัวอย่างเช่นโมเลกุล NaCl สามารถอธิบายได้ดังนี้       
                                  เดิม โซเดียม(Na) และคลอรีน(Cl) มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน(configuration) ดังนี้
จะเห็นว่าอิเล็กตรอนวงนอกสุดของทั้ง Na+ (n=2)และ Cl- (n=3) มีอิเล็กตรอนเท่ากับแปด ดังรูป
สำหรับสารไอออนิกอื่นๆก็เช่นเดียวกัน
          เมื่อสารไอออนิกมารวมกันจะเกิดเป็นสารประกอบโครงสร้างแลตทิซซึ่ง ประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบจำนวนมากมาย โดยไอออนบวกจะถูกล้อมรอบด้วยไอออนลบ และไอออนลบจะถูกล้อมรอบด้วยไอออนบวกสารประกอบชนิดนี้เรียกว่า สารประกอบไอออนิก ซึ่งแสดงได้ดังรูป