บางครั้งนักเคมีต้องการที่จะสังเคราะห์สารประกอบเพื่อหาปริมาณของผลิตภัณฑ์ซึ่งเกิดมาจากการทำปฏิกิริยาของสารตั้งต้นหลายตัว เพื่อหาว่าจะเกิดผลิตภัณฑ์จำนวนเท่าไร นักเคมีต้องอธิบายก่อนว่าสารตั้งต้นตัวไหนที่จะใช้หมดก่อนเมื่อปฏิกิริยาสมบูรณ์ ส่วนสารตัวอื่นก็จะยังคงอยู่ สารที่ใช้หมดก่อนนี้เรียกว่า สารกำหนดปริมาณ ดังดูได้จากตัวอย่างเปรียบเทียบต่อไปนี้
ตัวอย่าง การผลิตรถยนต์ ซึ่งมีส่วนประกอบของ 1 ตัวถัง จะมี 4 ล้อ ดังสมการ
1 ตัวถัง + 4 ล้อ 1 คัน
ถ้าโรงงานหนึ่งมีตัวถัง 50 ตัวถัง และ 160 ล้อ จะผลิตรถยนต์ได้กี่คัน ถ้าคิดจำนวนตัวถังเป็นฐานในการตอบ จะต้องคิดว่าผลิตได้ 50 คัน อย่างไรก็ตามถ้าพิจารณาที่ล้อเป็นฐานในการตอบ จะพบว่าจะสามารถผลิตได้ 40 คัน เพราะว่า รถ 1 คัน มี 4 ล้อ จะเท่ากับ 160 /4 = 40 ดังนั้น บริษัทจะมีตัวถังที่เกิน 10 อัน ซึ่งไม่สามารถมีล้อมาเติมให้ครบได้ ดังนั้นจะสามารถผลิตได้มากที่สุด 40 คัน เพราะฉะนั้นสารกำหนดปริมาณ คือ ล้อรถ และสารตั้งต้นที่ยังคงเหลือ คือ ตัวถัง คำนวณทีละขั้นตอนได้ดังนี้ ขั้นที่ 1 เขียนสมการ
1 ตัวถัง + 4 ล้อ 1 คัน 50 ตัวถัง 160 ล้อ กี่คัน
ขั้นที่ 2 จะต้องรู้ความสัมพันธ์ของตัวถังกับล้อ
A . ต้องหาว่าจะใช้ตัวถังเท่าไรเมื่อมีล้ออยู่ 160 ล้อ กี่ตัวถังที่ต้องใช้ = (160 ล้อ) (1 ตัวถัง/4 ล้อ) = 40 ตัวถัง B . ต้องหาว่าจะใช้ล้อเท่าไรจะได้ 50 ตัวถัง กี่ล้อที่ต้องใช้ = (50 ตัวถัง) (4 ล้อ / 1 ตัวถัง) = 200 ล้อ แต่โรงงานมีล้อไม่ถึง 200 ล้อ แต่มีแค่ 160 ล้อ
ดังนั้น ล้อจะเป็นตัวกำหนดจำนวนรถที่สามารถผลิตได้ ขั้นที่ 3 เราจะใช้จำนวนของล้อมาคำนวณหาจำนวนรถยนต์ที่จะสามารถผลิตได้
จำนวนคัน = ( 160 ล้อ) ( 1 คัน/4 ล้อ) = 40 คัน
ในแนวความคิดเดียวกัน นักเรียนต้องการที่จะเตรียมแจกันพร้อมดอกไม้ โดยแต่ละแจกันมีดอกไม้ 3 ดอก แต่ว่าตอนนี้มีดอกไม้อยู่ 17 ดอก มีแจกัน 5 ใบ ดังนั้น นักเรียนคิดว่าแจกันหรือดอกไม้ควรที่จะเป็นตัวกำหนดปริมาณ
ตัวอย่างที่ 1 จากรูปแสดงการเกิดปฏิกิริยาระหว่าง A2 (โมเลกุลสีน้ำเงิน) กับ B2 (โมเลกุลสีเงิน)
ก. จงเขียนสมการการเกิดปฏิกิริยา และสารใดเป็นสารกำหนดปริมาณ ข. จงหาจำนวนโมลของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจาก 1.0 โมลของ A2 ทำปฏิกิริยากับ 1.0 โมลของ B2
แนวคิด
ก .จากโมเลกุลในรูปภาพจะได้สมการ ดังนี้
จากรูปจะเห็นว่ามี A2 เหลืออยู่ ดังนั้นสาร B2 จึงเป็นสารกำหนดปริมาณ
ข. จากสมการจะเห็นว่า 1.0 โมลของ A2 จะทำปฏิกิริยากับ 3.0 โมลของ B2 และได้ผลิตภัณฑ์ 2 โมล ของ AB3 แต่ถ้าใช้ 1.0 โมลของ B2 ก็จะได้ 2/3 โมล ของผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างที่ 2 แมกนีเซียมไนไตด์เตรียมได้จากปฏิกิริยาของโลหะแมกนีเซียมกับแก๊สไนโตรเจน ถ้าใช้โลหะแมกนีเซียม 35.00 g และแก๊สไนโตรเจน15.00 g จะสามารถผลิตแมกนีเซียมไนไตด์ได้กี่กรัม
จากสมการจะใช้ 3 โมลของ Mg ทำปฏิกิริยากับ 1 โมลของ N2 และได้ 1 โมลของ Mg3N2 ดังนั้น ต้องพิจารณาว่าสารใดเป็นสารกำหนดปริมาณ และสารใดเหลือ
จากสมการจะใช้ Mg 3 mol ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับ N2 1 mol
ดังนั้น Mg 1.44 mol จะทำปฏิกิริยากับ N2 1.44/3 = 0.48 mol แต่เรามีไนโตรเจน 0.53 mol มีอยู่มากเกินพอ
จะได้ว่า แมกนีเซียมต้องเป็นสารกำหนดปริมาณ
จากสมการจะใช้ Mg 3 mol ซึ่งจะทำปฏิกิริยาได ้Mg3N2 1 mol
ดังนั้น Mg 1.44 mol จะทำปฏิกิริยาได้ Mg3N2 1.44/3 = 0.48 mol x 100.93 g/mol = 48.45 g
ตัวอย่างที่ 3 เรามาสังเกตดูว่าสารใดเป็นสารกำหนดปริมาณจากรูปภาพด้านล่าง โดยที่ด้านซ้ายของสมการเป็นสารตั้งต้นและด้านขวาของสมการเป็นผลิตภัณฑ์