จอห์น ดอลตัน (John Dalton) ค.ศ. 1776- 1844 อากาศที่หนาแน่นน้อยทำให้เราหายใจลำบากจริงหรือไม่
เราทราบมาแล้วว่า
แก๊สทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นแก๊สออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ หรือแก๊สไฮโดรเจน
แก๊สเหล่านี้ต่างก็ต้องการปริมาตรและมีความดันอยู่ค่าหนึ่งตามปริมาณของแก๊สและอุณหภูมินั้นๆ
แต่ถ้าเรานำแก๊สสองชนิดหรือมากกว่าสองชนิดขึ้นไปมาผสมกันโดยแก๊สเหล่านั้นต้องไม่ทำปฏิกิริยากัน
พฤติกรรมของแก๊สที่ผสมกันนั้น โดยเฉพาะในเรื่องของความดันจะเป็นไปอย่างไร
พิจารณารูปด้านล่างเมื่อแก๊ส A และ B มีปริมาตรอย่างละ 5 ลิตร เมื่อนำแก๊ส A และ B มาบรรจุรวมกันในภาชนะใหม่ขนาด 5 ลิตรเท่าเดิม ความดันใหม่ของแก๊สผสมจะเท่ากับ ผลรวมความดันของ แก๊ส A และ B ตามสมการ
PA
และ PB คือความดันของแก๊ส
A และ B ตามลำดับ
ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามี แก๊สไฮโดรเจน 0.5 โมล ปริมาตร 5 ลิตร ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ความดันเท่ากับ 2.4 บรรยากาศ ดังรูป ก และ ในรูป ข มีแก๊สฮีเลียม 1.25 โมล ปริมาตร 5 ลิตร ที่อุณหภูมิ เดียวกัน ความดันของแก๊สฮีเลียม 6 บรรยากาศ
เมื่อนำแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สฮีเลียมจากรูป ก และรูป ข มารวมกันในถังปริมาตร 5 ลิตร และอุณหภูมิเท่าเดิม 20 องศาเซลเซียส จะได้แก๊สผสมในรูป ค. ด้านล่าง ซึ่งความดันรวมจะเท่ากับความดันของแก๊สทั้งสองรวมกัน นั่นคือ 8.4 atm
แก๊สผสมนี้จะมีจำนวนโมลและความดันเพิ่มขึ้น ความดันใหม่ที่เกิดขึ้นก็เป็นผลรวมของแก๊สทั้งสองนั่นเอง ดังนั้นถ้าพูดถึงความดันของแก๊สผสมจะมีคำศัพท์ สองคำที่ควรรู้ คือ ความดันรวม และ ความดันย่อย ความดันรวม คือความดันทั้งหมดที่เราทำการวัดได้หลังจากที่แก๊สสองชนิดหรือมากกว่าผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันเรียบร้อย ส่วนความดันย่อยก็หมายถึงความดันของแก๊สแต่ละชนิดที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในแก๊สผสมนั้นๆ ในความเป็นจริง เราจะสามารถวัดความดันของแก๊สได้นั้น ก็เป็นความดันรวมของแก๊สทั้งหมดที่อยู่ในระบบ แต่ถ้าเราอยากจะรู้ความดันย่อยเราสามารถคำนวณได้จากกฏของดอลตัน มาพิจารณาดูความสัมพันธ์ของกฏความดันย่อยต่อไปอีก
ในรูป ง. แสดงภาชนะที่บรรจุแก๊สฮีเลียม ชนิดเดียว ปริมาณ 1.74 mol ในรูป จ. แสดงภาชนะที่บรรจุ แก๊สไฮโดรเจน 0.75 mol แก๊สฮีเลียม 0.25 mol และแก๊สนีออน 0.25 mol จำนวนโมลรวมเท่ากับ 1.75 mol ความดันของแก๊สในภาชนะเกิดจากความดันย่อยของแก๊สทั้ง 3 ชนิด รวมกัน ซึ่งเท่ากับ 8.4 atm ที่อุณหภูมิ 20 oC และปริมาตรภาชนะเท่ากับ 5 L ส่วนในรูป ฉ. แสดงภาชนะที่บรรจุแก๊สไนโตรเจน ออกซิเจน และอาร์กอน อย่างละ 1 ,0.5 และ 0.25 โมลตามลำดับ ที่สภาวะเดียวกันกับ รูป ง และ จ เราจะได้ความดันของแก๊สทั้ง 3 ชนิดเท่ากับ 8.4 atm เมื่อพิจารณาจาก รูป ง จ และ ฉ แล้วจะพบว่า เมื่อแก๊สทั้งหมดมีปริมาณเท่ากัน(จำนวนโมลเท่ากัน) ในปริมาตรที่เท่ากัน ความดันของแก๊สจะเท่ากันเสมอแม้ว่าองค์ประกอบของแก๊สจะแตกต่างกันไปก็ตาม นอกจากนี้ ดาลตันยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า ที่ว่างระหว่างโมเลกุลของแก๊สในภาชนะปิดใดๆมีมาก (หมายถึง ระยะทางที่ใกล้ที่สุดที่จะพบแก๊สสองโมเลกุลอยู่ติดกันนั้นมีระยะทางมากกว่ารัศมีของโมเลกุลแก๊สมาก ๆ)ดังนั้นแก๊สแต่ละโมเลกุลในภาชนะจึงไม่ไปรบกวนการเคลื่อนที่ของโมเลกุลอื่น แต่ถ้ามีการเพิ่มอุณหภูมิหรือเพิ่มความดันในภาชนะมากขึ้นก็จะส่งผลทำให้แก๊สแต่ละโมเลกุลเกิดแรงกระทำต่อกันได้เพิ่มขึ้น
ทำไม บอลลูนที่บรรจุแก๊สนีออน (Ne) จึงลอยขึ้นไปบนอากาศ ขณะที่ บอลลูนที่บรรจุแก๊สฟลูออรีน จึงไม่สามารถลอยขึ้นไปบนอากาศได้
วิธีที่ 1 ใช้สมการแก๊สในอุดมคติ วิธีที่ 2 ใช้ความสัมพันธ์สัดส่วนโมลของแก๊สผสมนั้น
วิธีที่ 1 ใช้สมการแก๊สในอุดมคติ เงื่อนไขที่สามารถคำนวณ เมื่อเราทราบปริมาณแก๊สเป็นโมลหรือเป็นกรัม ทราบปริมาตร และอุณหภูมิของแก๊สผสมนั้นๆ เราสามารถคำนวณหาความดันย่อยของแก๊สแต่ละชนิดได้
3. คำนวณหาความดันของแก๊สออกซิเจน 4. คำนวณหาความดันของแก๊สฮีเลียม 5. คำนวณหาความดันรวมของแก๊ส
วิธีที่ 2 ใช้ความสัมพันธ์สัดส่วนโมลของแก๊สผสม ถ้าเราทราบจำนวนโมลหรือปริมาณแก๊สเป็นกรัมและความดันรวม
เราสามารถคำนวณความดันย่อยของแก๊สแต่ละชนิดตามสมการด้านล่าง
วิธีทำ =
6 โมล = 3 โมล H2 / 6 โมล =
0.5 = สัดส่วนโมลของ H2 = จำนวนโมลแก๊สไฮโดรเจน x ( ความดันทั้งหมด) =
0.5 ( 750 torr) = 375 torr
= 1 / 6 = 0.167 = 0.167 ( 750 torr)
= 125 torr = 2 / 6
= 0.333 = 0 .333(750 torr) = 250 torr |