สารแต่ละชนิดมีสมบัติในการทำปฏิกิริยาเร็ว - ช้าแตกต่างกัน เช่น

  ธาตุไนโตรเจนเฉื่อยต่อปฏิกิริยามากจึงไม่ค่อยทำปฏิกิริยากับสารใด
  โลหะโซเดียมทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับน้ำ เกิดประกายไฟและแก๊สไฮโดรเจน ในขณะที่โลหะแมกนีเซียมเกิดปฏิกิริยากับน้ำอย่างช้า ๆ ดังรูปแสดงการทดลองต่อไปนี้

         ในบีกเกอร์ทั้งสองใบมีน้ำที่หยดสารละลายฟีนอล์ฟทาลีนเอาไว้แล้ว จะสังเกตได้ว่าน้ำยังคงไม่มีสี (เพราะเหตุใด) ทีนี้ลองใส่ก้อนโลหะโซเดียม (ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว) และแผ่นโลหะแมกนีเซียม (ขนาด 0.5 x 1.0 cm2) ลงไปซ

ปฏิกิริยาของโลหะโซเดียม (Na) กับน้ำ
(เมื่อมีฟีนอล์ฟทาลีนอยู่)

ปฏิกิริยาของแผ่นโลหะแมกนีเซียม (Mg) กับน้ำ
(เมื่อมีฟีนอล์ฟทาลีนอยู่)

        สมการการเกิดปฏิกิริยาเป็นดังนี้

        ปฏิกิริยาในสองบีกเกอร์ต่างกันที่ใช้ Na หรือ Mg เท่านั้น แสดงว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสารตั้งต้น

  บอกได้ไหมว่า ทำไมฟีนอล์ฟทาลีนจึงทำให้สารละลายเปลี่ยนเป็นสีชมพูได้