6. สมบัติคอลลิเกตีฟ (colligative properties) 6.1 การลดต่ำลงของความดันไอ จากข้อความที่กล่าวข้างต้น สมบัติของตัวทำละลายบริสุทธิ์ ณ ที่สภาวะหนึ่งๆ จะมีความดันไอที่แน่นอน แต่เมื่อมีตัวถูกละลายที่ไม่ระเหยผสมอยู่ในสารละลาย จะทำให้ความดันไอของสารละลายลดต่ำลงกว่าความดันไอของตัวทำละลายบริสุทธิ์ เนื่องจากจำนวนโมเลกุลของตัวทำละลายที่บริเวณผิวหน้า ของสารละลายลดน้อยกว่าเดิมจากที่เคยเป็นตัวทำละลายบริสุทธิ์ เพราะมีโมเลกุลของตัวถูกละลายปนอยู่ เมื่อจำนวนโมเลกุลของตัวทำละลายที่บริเวณผิวหน้าลดลง การที่โมเลกุลหนึ่งๆ ของตัวทำละลายจะสามารถเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากของเหลวกลายเป็นไอได้ จะต้องเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างตัวทำละลายอื่นๆ และแรงดึงดูดระหว่างตัวถูกละลายที่ล้อมรอบอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ โมเลกุลของตัวทำละลายระเหยได้น้อยลง ส่งผลให้ความดันไอของสารละลาย มีค่าน้อยกว่าความดันไอของตัวทำละลาย (solvent) บริสุทธิ์
ถ้ามีตัวถูกละลายเพียงชนิดเดียวละลายอยู่ในตัวทำละลาย แต่ X1 + X2 = 1 P1 = (1- X2 )P01 = P01 - X2 P01 P01 - P1 = X2 P01 เพราะฉะนั้น
ตัวอย่าง
เมื่อเติมน้ำตาลกลูโคส (C12H12O11) จำนวน
68 กรัม ในน้ำ 1 กิโลกรัม ที่อุณหภูมิ 280C ถ้าความดันไอของน้ำที่
280C มีค่าเท่ากับ 28.35 torr จงคำนวณหา ( กำหนดให้ C = 12.0, H = 1.0, O = 16.0 ) วิธีทำ 1.
ความดันไอที่ต่ำลง จำนวนโมลของน้ำตาล
= 68/180 = 0.38 ความดันไอที่ลดต่ำลง = X2 P01 = 0.38 / (0.38+55.56) x 28.35 torr =
0.19 torr 2. ความดันไอเหนือสารละลาย ความดันไอที่ลดต่ำลง = P01 - P 1 0.19 torr = 28.35 torr - P1 P1 = 28.35 torr - 0.19 torr ดังนั้น ความดันไอเหนือสารละลาย เท่ากับ 28.16 torr |